Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17425
Title: อิทธิพลของอากาศร้อนและเย็นต่อสมรรถภาพทางการงานของผู้หญิง ที่ศึกษาโดยวิธี เออร์โกรมิตรีย์
Other Titles: The influence of hot and cold temperatures on the work capacity of women as determined by ergometry
Authors: พริ้มเพรา ผลเจริญสุข
Advisors: อวย เกตุสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้หญิง
สมรรถภาพในการทำงาน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาอัตราการเต้นของชีพจร ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพสูงสุดในการจับออกซิเจนของผู้หญิงในขณะออกกำลัง ในปริมาณงานและความชื้นสัมพัทธ์เท่ากัน (70 ถึง 80 %) ในอากาศร้อน (40°ซ) อากาศปกติ (28°ซ) และอากาศเย็น (19°ซ) โดยให้นิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา ที่มีสุขภาพสมบูรณ์จำนวน 20 คน ออกกำลังด้วยการถีบจักรยานวัดงานในอากาศแวดล้อมแต่ละแบบ เป็นเวลา 6 นาที ขณะถีบจักรยานวัดอัตราเต้นชีพจรทุก 1 นาที จนครบ 6 นาที อัตราเต้นของชีพจรในภาวะคงตัว (Steady state) นำไปแปลผลเป็นสมรรถภาพสูงสุด ในการจับออกซิเจนของร่างกาย โดยใช้ตารางของ ออสตรานด์ (Astrand) ในอากาศแวดล้อมทั้งสาม ผลปรากฏว่า อัตราชีพจรขณะออกกำลังในอากาศเย็น อากาศปกติ และอากาศร้อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสมรรถภาพสูงสุดในการจับออกซิเจนของร่างกายในขณะออกกำลังในอากาศร้อน อากาศปกติ และอากาศเย็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า ในการออกกำลังหรือการทำงานในอากาศเย็นจะทำงานได้นานกว่า และมีความเหน็ดเหนื่อยน้อยกว่าในอากาศร้อนและอากาศปกติ
Other Abstract: The purpose of this study was to find the influence of hot and cold temperatures on the work capacity and maximum oxygen uptake of women as determined by ergometry. Twenty healthy subjects were randomly from first year women students of Srinakharinwirot Palasuksa University, and subjected to bicycle ergometry in different temperatures viz. 40 °c, 28 °c, and 19 °c under constant workloads and relative humidity (70 to 80 %) each test lasting 6 minutes. The pulse rate at the steady state was utilized to calculate the oxygen uptake capacity according to Astrand. It was found that the pulse rate while exercising in the “cold”, “normal”, and “hot” temperatures were significantly different at .01 level of confidence, being highest in the “cold” and lowest in the “hot”. The oxygen uptake capacity also varied in the same way (.01 level of confidence). It is concluded that the “cold” temperature is more favour able to physical exertion than the “hot” and “normal” temperatures, giving greater endurance and less fatigue.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17425
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Primprou_Po_front.pdf267.19 kBAdobe PDFView/Open
Primprou_Po_ch1.pdf474.15 kBAdobe PDFView/Open
Primprou_Po_ch2.pdf248.99 kBAdobe PDFView/Open
Primprou_Po_ch3.pdf259.68 kBAdobe PDFView/Open
Primprou_Po_ch4.pdf291.37 kBAdobe PDFView/Open
Primprou_Po_back.pdf381.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.