Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17428
Title: | ความสำคัญของเมืองนครราชสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453) |
Other Titles: | The importance of Nakhon Rachasima during the righn of King Chulalongkorn (1868-1910 A.D.) |
Authors: | พวงไข่มุกข์ คุณารัตนพฤกษ์ |
Advisors: | วิลาสวงศ์ พงศะบุตร วไล ณ ป้อมเพชร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | นครราชสีมา -- ประวัติ |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาบทบาทความสำคัญของเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่เมื่อแรกเข้ามาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชี้ให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของเมืองนครราชสีมาที่มีต่อหัวเมืองอื่นๆ บนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นครราชสีมามีฐานะเป็นหัวเมืองโทที่มีลักษณะเด่นกว่าหัวเมืองโทอื่นๆ เพราะมีสถานที่ตั้งเป็นหัวเมืองชายแดนที่สำคัญทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์ภายหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เมื่อ พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น นครราชสีมาได้รับการยกฐานะเป็นหัวเมืองเอกที่มีอำนาจปกครองดูแลหัวเมืองบนที่ราบสูงโคราช และหัวเมืองประเทศราชลาว ในระยะที่มหาอำนาจยุโรปกำลังดำเนินนโยบายแผ่อิทธิพลและขยายอำนาจทางการเมือง เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยก็ไม่อาจรอดพ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจได้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความบีบคั้นทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากภายนอกประเทศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของมหาอำนาจฝรั่งเศสเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้รัฐบาลเริ่มหวั่นวิตกอย่างมากว่า อาจจะต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองเหนือดินแดนทางภาคนี้ไป ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการปกครองดินแดนทางภาคนี้ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทรงเริ่มต้นจากการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2433 และต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคทั่วพระราชอาณาจักร แม้ว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาจะถูกตัดทอนอำนาจทางการเมืองลงบ้างตั้งแต่ พ.ศ. 2433 แล้วก็ตาม แต่กรุงเทพฯ ก็ยังคงเห็นความสำคัญของเมืองนครราชสีมา และใช้เมืองนี้เป็นฐานกำลังในการรักษาอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลาง เหนือหัวเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เห็นความสำคัญของหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากยิ่งขึ้น และต้องการเข้ามาดูแลปกครองอย่างใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังให้ความสำคัญแก่เมืองนครราชสีมาในฐานะเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นแหล่งกำลังทหาร เป็นที่มั่นในการสู้รบในกรณีที่อาจจะเกิดสงครามกับฝรั่งเศสขึ้นได้ กำลังทหารของเมืองนครราชสีมามีส่วนสนับสนุนให้กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจการปกครองเหนือหัวเมืองอีสานทั้งหมดได้เป็นผลสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้น นครราชสีมายังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางและการผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวกรุงเทพฯ และชาวอีสานอีกด้วย |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the importance and the role of Nakhon Rachasima starting from the Ayudhya period. The growing political power and influence of Nakhon Rachasima upon other northeastern provinces are pointed out. During Ayudhya period, Nakhon Rachasima was a province of the second class with outstanding significance because of its geographical location on the eastern border of the kingdom. During the reign of King Rama III, in the Ratanakosin period, after the rebellion of Vientiane in 1826, Nakhon Rachasima became a first class province with power to govern the Laos dependency and other provinces on the Korat plateau. In the second half of the nineteenth century, the Kingdom of Thailand's territorial integrity and independence were threatened by the great imperial Powers of France and Great Britain. In the reign of King Chulalongkorn, external pressure on Thailand's territorial integrity was increasing in severity especially that of the French in the Northeast. Fear of losing control of the land King Chulalongkorn improved the governing system in that part in 1890 and followed by reformation of provincial administration all over the kingdom in 1892. As a result, the political power of the governor of Nakhon Rachasima was cut down. However, the central government still realized the importance of Nakhon Rachasima and kept this province as a military base to maintain the controlling power of the central government over the Northeast. The fact that a railroad was built from Bangkok to Nakhon Rachasima indicated that Bangkok realized more and more the importance of the northeastern provinces and wanted to have easier access to and more immediate control over them. Furthermore, Bangkok looked upon this city as a strategic and military centre, and a stronghold in the case that war with France might break out. Nakhon Rachasima's military strength underlay Bangkok's success in maintaining her power over the northeastern provinces. Moreover, Nakhon Rachasima was a good example to other provinces in accepting the power of the central government, and in initiating a social and cultural blending between people in Bangkok and the Northeast. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17428 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Puangkhaimuk_Ku_front.pdf | 297.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch1.pdf | 284.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch2.pdf | 489.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch3.pdf | 590.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch4.pdf | 496.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch5.pdf | 751.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_ch6.pdf | 267.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Puangkhaimuk_Ku_back.pdf | 826.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.