Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17521
Title: | การออกแบบแผนการสุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่องประเภทที่ 1 ในการทดสอบคุณภาพทางไฟฟ้าสำหรับหัวอ่าน HSA เพื่อให้ได้ต้นทุนคุณภาพต่ำสุด |
Other Titles: | Design of continuous sampling plan 1 for HSA quasi static testing with the minimum cost of quality |
Authors: | เสริมสุข แซ่ตั้ง |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | napassavong.o@chula.ac.th natcha.t@chula.ac.th |
Subjects: | การสุ่มตัวอย่าง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแผนการสุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่องประเภทที่ 1 หรือแผนการสุ่มตัวอย่าง CSP-1 เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพทางไฟฟ้าของหัวอ่านเอชเอสเอ แทนการตรวจสอบแบบ 100% ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มผลผลิตและเตรียมความพร้อมที่จะรองรับปริมาณความต้องการของลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยในการเลือกแผนการสุ่มตัวอย่างจะพิจารณาจากแผนการสุ่มตัวอย่างที่ให้ต้นทุนคุณภาพต่อหน่วยต่ำที่สุด งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสุ่มตัวอย่างแผนการสุ่มตัวอย่าง CSP-1 และวิธีการคำนวณต้นทุนคุณภาพ ซึ่งพบว่าแผนการสุ่มตัวอย่าง CSP-1 ในอดีตมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและยังพบว่าค่าใช้จ่ายที่มักถูกนำมาพิจารณามีเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติมีค่าใช้จ่ายอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสุ่มตัวอย่างแต่ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาด้วย งานวิจัยนี้ได้ออกแบบแผนการสุ่มตัวอย่าง CSP-1 โดยพัฒนาสมการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้สามารถเลือกพารามิเตอร์ของแผนการสุ่มตัวอย่างได้เหมาะสมขึ้น ค่าใช้จ่ายที่นำมาพิจารณาในสมการค่าใช้จ่ายของงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายในการป้องกันความบกพร่อง ได้แก่ ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวางแผนคุณภาพ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องตรวจสอบ 2. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบชิ้นส่วนที่ใช้ในสายการผลิต ค่าใช้จ่ายในการสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความบกพร่องด้านคุณภาพ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขผลิตภัณฑ์บกพร่อง ค่าใช้จ่ายในการหาสาเหตุของความบกพร่อง ค่าใช้จ่ายในการทำลายผลิตภัณฑ์บกพร่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการยอมรับผลิตภัณฑ์บกพร่องซึ่งหลุดรอดจากการตรวจสอบในช่วงของการสุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้แสดงสมการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนอีกด้วย ในกรณีศึกษาที่กำหนด AOQL = 0.01 จะได้พารามิเตอร์ของแผนการสุ่มตัวอย่างที่ให้ต้นทุนคุณภาพต่อหน่วยต่ำที่สุด คือ i = 130 และ ƒ=0.07 ซึ่งมีต้นทุนคุณภาพต่อหน่วยเป็น 11.16 บาท ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนคุณภาพของการตรวจสอบแบบ 100% อยู่ 4.05 บาทหรือคิดเป็น 26.6% |
Other Abstract: | The objective of this research is to design continuous sampling plan 1 or CSP-1 for Quasi Static Testing of HSA (Head Stack Assembly) to replace 100% inspection in order to minimize cost of quality and prepare readiness to support demand increase in the future. This research began with literature review of theoretical background of CSP-1 sampling plan and cost of quality calculation. Previous research of CSP-1 sampling plans rarely considered economic value and if there were, only some elements of quality costs were considered. However, there were other costs incurred as a result of conducting the sampling plan but these costs were not included in the previous cost models. In this research, a modification of the previous cost models by additional concerned costs was deployed to find the most optimal parameters ( ). The quality costs involved in the modified cost model are categorized into three types. 1. Prevention costs: training cost, quality planning cost, and inspection equipment maintenance cost. 2. Appraisal costs: materials inspection cost and product quality audit cost. 3. Failure costs: rework cost, troubleshooting cost, scrap cost, and defective acceptance cost. Moreover, the equations of each of the cost elements were presented. As a result, with specific AOQL = 0.01, the optimal combination of parameters for this case study is i=130, ƒ=0.07. This designed sampling plan results in the cost of quality per unit of 11.16 baht, which is lower than that of 100% inspection for 4.05 baht or 26.6% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17521 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1276 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1276 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sermsuk_Sa.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.