Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17549
Title: ความพร้อมในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในชุมชนเขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Residents' competence for Housing Rehabilitation in Khao Yee San Community, Samut Songkram Province
Authors: พงษ์พิทักษ์ ปัตตานี
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Subjects: ชุมชนเขายี่สาร (สมุทรสงคราม) -- การฟื้นฟู
ชุมชน -- การฟื้นฟู
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนเขายี่สาร เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตการอยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ ในจำนวนที่อยู่อาศัยในชุมชน 140 หลัง พบว่าที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์อยู่จำนวน 81 หลัง ส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรม เนื่องจากอายุ ความเก่าแก่ มีปัญหาในการอยู่อาศัย เป็นที่มาของการศึกษาถึงความพร้อมของผู้อยู่อาศัยในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในชุมชนและทัศนคติที่มีต่อการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยเชิงอนุรักษ์ โดยศึกษาจากลักษณะทางกายภาพของที่อยู่อาศัย ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ความพร้อมในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยภายในชุมชนเขายี่สาร จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในของชุมชนเองที่ส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ได้แก่ 1) ด้านกายภาพมีที่อยู่อาศัยในชุมชนร้อยละ 29 เป็นที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์ 2) การอยู่อาศัยที่มีความผูกพันแบบเครือญาติส่งผลให้เกิดความร่วมมือได้ง่ายขึ้นหากมีการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการฟื้นฟูที่อยู่อาศัย 3) ผู้อยู่อาศัยในชุมชนร้อยละ 71 พร้อมที่จะให้ความร่วมมือหากเกิดการฟื้นฟูที่อยู่อาศัย 4) กิจกรรมทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และความศรัทธาในศาสนาเป็นศูนย์รวมทางจิตใจทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคี 5) ชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบสอดเทคนิคและวิธีการก่อสร้างเพื่อการปรับปรุง ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการฟื้นฟูได้แก่ 1)มีหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางวิชาการที่พร้อมให้การสนับสนุน 2)ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของหน่วยงานที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความพร้อมในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในชุมชนได้แก่ 1) ปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือนมีทุนไม่เพียงพอสำหรับการที่ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ด้วยตนเองได้ 2) ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่นิยมเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่อยู่อาศัยเป็นบ้านสมัยใหม่ ตามค่านิยมหรือเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยตามความต้องการปัจจุบัน 3) อุปสรรคด้านต้นทุนในการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านไม้มีราคาสูง 4) ขาดการสืบทอดความรู้ด้านเทคนิคการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมบ้านไม้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยขาดความรู้และขาดแคลนช่างฝีมือ ความพร้อมในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในชุมชนเขายี่สาร มีโอกาสและความเป็นไปได้ “ปานกลาง” ดังนั้น การที่จะทำให้กระบวนการฟื้นฟูประสบผลสำเร็จต้อง 1)สร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ของตนให้ดีขึ้น 2)หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีทุนสำหรับการ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย 3) สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเงินออมเพื่อการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยในชุมชน 4)ในระยะแรกต้องอาศัยหน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยงานท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ที่มีความเข้าใจในเป้าหมายอย่างถ่องแท้เป็นผู้จุดประกายให้กับชาวชุมชน 5) การพัฒนาต้องเป็นไปในรูปแบบของการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Abstract: The Kao Yee San community has historical, traditional, and cultural significance as well as a unique way of life. Of all the 140 houses in the community, 81 are unique in their characteristics; however, most of these are dilapidated and old. Thus, this study investigates the residents’ competence level for housing rehabilitation and their attitudes toward housing conservation and rehabilitation. The data include the houses’ physical characteristics and the residents’ economic standing, social traits, and attitudes. The analysis was conducted to determine the residents’ competency for rehabilitating their housing. Findings suggest five internal factors that promote a higher competence level for housing rehabilitation. 1) 29% of all houses are of unique physical characteristics. 2) Strong family ties facilitate cooperation for rehabilitation project development. 3) 71% of all residents are willing to cooperate on the project. 4) Cultural activities and religious beliefs can be the center of the community’s mindset and unity. 5) Indigenous knowledge of construction improvement techniques and methods has been shared. Results also reveal that the external factors that influence the readiness to rehabilitate houses are support, strategies and development plans from the governmental sector and academic institutes. However, the factors hindering the competence level for housing rehabilitation are: 1) household financial problems allowing insufficient funds needed to rehabilitate houses; 2) most residents are likely to remodel the houses according to popularity of designs and need for usage areas; 3) cost barriers to housing rehabilitation, especially high costs for log houses and 4) residents’ lack of shared knowledge about log house construction and renovation techniques. The feasibility of housing rehabilitation in Kao Yee San community is at the moderate level. For successful housing rehabilitation, several procedures need to be implemented. 1) People should express great concern for their residence’s renovation. 2) Solutions to the economic problems should be sought so that the residents have sufficient funds for renovation. 3) A community saving plan for housing rehabilitation should be established. 4) At the initial stage, support should be provided from other experienced local and educational institutes as an inspiration for the people in the community. 5) Sustainable development and cooperation should be encouraged in the community
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.785
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpitak_pa.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.