Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17581
Title: ผลของการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น (ท 081) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Effect of teaching the introduction to library study (Taa 081X on the achievement of upper secondary students in social studies
Authors: นฤมล เอกพจน์เมธี
Advisors: จ้อย นันทิวัชรินทร์, ม.ล.
ไพพรรณ พิทยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น (ท 081) -- การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ห้องสมุด -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาระหว่างนักเรียนที่เลือกเรียนและไม่ได้เลือกเรียน “วิชาการศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น (ท 081)” และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการเรียนวิชาการศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น (ท 081) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยได้กำหนดสมมุติฐานว่า 1) ผู้ที่เคยเรียนวิชา ท 081 จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ตามการประเมินของครู สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท 081 มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน การดำเนินการวิจัย ใช้วิธีทดลอง โดยกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) แผนการเรียนที่ 1 (คณิต-วิทย์) โรงเรียนตราษตระการคุณ พ.ศ. 2527 ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้น ม.5 ในแผนการเรียนเดียวกัน การเลือกกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้เกณฑ์ว่าด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาในชั้น ม.4 ของนักเรียน ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากการทดสอบค่า t (t-test) ผู้วิจัยได้สอนวิชา ท 081ให้กลุ่มทดลองสัปดาห์ละ 2 คาบ ตลอดภาคที่ 1 ปีการศึกษา 2527 โดยทำการประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จบแล้วจึงทำการทดสอบปลายภาค ในขณะเดียวกัน ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก็ได้เรียนวิชาสังคมศึกษาวิชาเดียวกันจากผู้สอนที่เป็นคนเดียวกันซึ่งทำการประเมินผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มไปด้วยกัน จากนั้นผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทั้งที่เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตอบแบบสอบถามความคิดเห็นและปัญหาในการใช้ห้องสมุดเพื่อประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนทั้งสองกลุ่มกระทำโดยการทดสอบค่า t (t-test) และหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชา ท 081 กับวิชาสังคมศึกษา โดยการคำนวณแบบ Pearson Product-Moment Correlation Coefficient แล้วจึงทดสอบนัยสำคัญของสหสัมพันธ์ ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า โดยทั่วไปแล้วกลุ่มทดลองมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรห้องสมุดประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองพบปัญหาในการใช้ห้องสมุดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่พบปัญหาในการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำไปอภิปรายหรือทำรายงานวิชาสังคมศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท 081 มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ตรงตามสมมติฐานข้อที่ 2 แต่ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 เพราะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของกลุ่มทดลองตามการประเมินของครูต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากข้อจำกัดเรื่องเวลาที่ใช้สอนวิชา ท 081 ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาต่อไปเพื่อพิสูจน์สมมติฐานข้อที่ 1 ให้แน่ชัด โดย (1) ติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาในระยะยาวของนักเรียนทั้งสองกลุ่มต่อไปอีก 3 ภาคเรียน (2) ทดลองเพิ่มเพื่อทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ซ้ำ โดยดำเนินการวิจัยตามแนวทางเดิม แต่ทำการทดลองกับนักเรียนกลุ่มใหม่ คือ นักเรียนรุ่น 2/2527 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ท 081 ในลักษณะที่เป็นวิชาเลือกเสรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2527 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างรุ่นนี้มีทั้งนักเรียนในแผนการเรียนที่ 1 (คณิต-วิทย์) และแผนการเรียนที่ 2 (คณิต-อังกฤษ) นอกจากนั้นแล้วเพื่อเป็นการตรวจสอบแนวความคิดของผู้วิจัยให้แน่ชัดยิ่งขึ้น จึงทดลองซ้ำอีกในภาคที่ 1 ปีการศึกษาถัดไป (2528) กับนักเรียนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นนักเรียนชั้น ม.5 ในแผนการเรียนที่ 2 (คณิต-อังกฤษ) และแผนการเรียนที่ 3 (อังกฤษ-สังคม) ที่เลือกลงทะเบียนเรียนวิชา ท 081 ในภาคที่ 1 ปีการศึกษา 2528 เรียกชื่อว่ารุ่น 1/2528 จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ติดตามผลของนักเรียนทั้งสองรุ่นนี้ไปจนสิ้นปีการศึกษา 2528 ผลจากการวิจัยติดตามผล ปรากฏว่า (1) การสอนวิชา ท 081 มีผลต่อความสามารถทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนในระยะยาว และ (2) สำหรับรุ่น 2/2527 นั้น ถึงแม้ว่ากลุ่มทดลองจะยังคงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแต่ความสามารถทางการเรียนของกลุ่มทดลองดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรียนวิชาสังคมศึกษารายวิชาอื่น และสำหรับรุ่น 1/2528 นั้นถึงแม้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และในภาคเรียนหลังจากนั้น เมื่อนักเรียนทั้งสองกลุ่ม (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง) ได้เรียนวิชาสังคมศึกษารายวิชาอื่น ก็ปรากฏว่านักเรียนที่เรียนวิชา ท 081 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากรายละเอียดดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าการสอนวิชา ท 081 ส่งเสริมความสามารถทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนในทุกแผนการเรียน ผลจากการวิจัยครั้งนี้ให้เห็นว่า วิชา ท 081 เป็นวิชาที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถทางการเรียนสูงขึ้นและทำให้นักเรียนมีความสามารถทางการเรียนวิชาอื่นๆ ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงสมควรเปิดสอนวิชา ท 081 ให้เป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยทั่วกันทุกโรงเรียน สำหรับการวิจัยครั้งต่อไปนั้น ควรทำการวิจัยในหัวข้อต่อไปนี้ คือ 1. ศึกษาระดับชั้นที่เหมาะสมที่สุดในการสอนวิชา ท 081 2. ศึกษาผลจากการสอนวิชา ท 081 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนโดยเปรียบเทียบกันระหว่างแผนการเรียนที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this study was twofold : to compare the learning achievement on social studies courses between the two groups of students constituting of those who chose and did not choose the course, “Introduction to library Study (THA 081),” as their elective; and to study the coefficiency of correlation in taking THA 081 and the achievement in social studies. Hypotheses planned for were : 1) students who took THA 081, through teacher’s evaluation, would acquire higher achievement than those who did not ; and 2) the achievement in THA 081 would positively correlated to that in social studies. Research procedures : Experimental method was used. Experimental group consisted of Mathayom Suksa 5 (grade 11) in the first program (Mathematics-Science) at Trattrakarnkun School, 1984, and the control group consisted of the Mathayom Suksa 5 in the same program. Sampling selection based on social studies achievement in Mathayom Suksa 4 and found no significant difference as proved by t-test. The researcher taught THA 081 to the experiment group 2 hours weekly through the first semester in 1984 (B.E. 2527), kept constant periodic evaluation throughout, and administered final examination when the semester ended. All the while, both control and experiment groups took the same social studies course and were evaluated by the same teacher responsible for the course. Then the two groups were required to answer the questionnaire about their opinions and their problems in using library to serve their learning purpose in social studies. T-test was applied to analyze the collected data of evaluation results from both groups in order to compare the students’ learning achievement in social studies. Pearson Producat-Moment Correlation Coefficient was used to find coefficient relation on students taking THA 081 and their achievement in social studies and then tested the significance of the finding. The data from questionnaire responses were analyzed by percentage, arithmetic mean, and standard deviation. Research Results : The experiment group indicated more positive attitude towards the use of library and resources to help in social studies learning than the control group. They also had less problem in the use of the library with exception of the problem in data preparation for discussion and social studies term papers. The learning achievement in THA 081 was positively correlated to that in social studies. Thus, the second hypothesis was supported. As for the first hypothesis, it was rejected by the finding because the experiment group achievement came lower than that of the control group. The failure might be resulted from unanticipated problem of irregular teaching hours scheduled to fit the students’ available time. The researcher felt a need to do further research to try to prove the first hypothesis by (1) following the long term achievement of both groups for three consecutive semesters as they took more social studies courses; and (2) retesting the first hypothesis through the same research procedures with the new group of students, which is named group 2/2527, who registered in THA 081 as their free elective in the second semester. This time there was a mise of students in Program 1 (Mathematics-Science) and Program 2 (Mathematics-English). Furthermore, in order to double check the researcher’s idea, another repetition was done in the first semester of the next year (1985) to new Mathayom Suksa 5 students in Program 2 and Program 3 (English-Social studies). They were named group 1/2528. The follow-up was done for both groups until the end of 1985. The follow-up research resulted that ; (1) The teaching of THA 081 reinforced the capacity in social studies learning of the students in the long term; and (2) for group 2/2527, the experiment group still acquired lower achievement than the control group but the learning capacity improved when they took other social studies courses. Group 1/2528, there was no statistical significant through the means indicated a higher achievement. In the semester after that, when both groups (control and experiment) took another social studies course, it was found that those who took THA 081 had higher achievement with statistical significance. In conclusion, the trend evidently shown that the teaching of THA 081 created positive impact to learning achievement in social studies for students in every program. Recommendation : From research results presented, there was a positive indication that THA 081 can be of advantage in support to higher achievement and better learning capacity in other courses. Consequently, it is recommended that THA 081 should be a required elective at secondary education level in all schools. Further research should be dove on : 1. appropriate level to initiate THA 081 to students 2. impact of the teaching THA 081 to learning achievement in social studies of students through cross-programs comparison
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17581
ISBN: 9745675164
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narimol_Eg_front.pdf343.17 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_ch1.pdf353.76 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_ch2.pdf766.11 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_ch3.pdf375.24 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_ch4.pdf672.86 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_ch5.pdf424.68 kBAdobe PDFView/Open
Narimol_Eg_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.