Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17583
Title: ระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
Other Titles: Matrimonial regime
Authors: นรินทร์ จอมบดินทร์
Advisors: อมร จันทรสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ครอบครัว
ทรัพย์
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในกฎหมาย ครอบครัว เพราะเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาในเรื่องทรัพย์สิน ซึ่งมีผลไม่แต่เฉพาะคู่สมรสและบุคคลในครอบครัว แต่มีผลไปถึงบุคคลภายนอก คือ เจ้าหนี้ และทายาทผู้รับมรดกเมื่อพิจารณาในเชิงกฎหมาย แต่หากพิจารณาในเชิงเศรษฐกิจและสังคมแล้ว การกำหนดหลักเกณฑ์ในระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยามีความสำคัญมาก เพราะครอบครัวเป็นสถาบันแรกและสถาบันพื้นฐานของสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิทยานิพนธ์นี้ได้ชี้ให้เห็นแนวโน้มของกฎหมายนานาประเทศในการใช้หลักความเสมอภาคในเรื่องระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา แต่ทุกประเทศก็ยังคำนึงถึงเอกภาพของครอบครัว จึงได้กำหนดมาตรการจำกัดอำนาจของคู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินในส่วนที่อาจมีผลกระทบต่อการเลี้ยงดู และเอกภาพของครอบครัว ระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามกฎหมายไทยปัจจุบันคล้ายคลึงกับระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่เป็นระบบตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสหลังการแก้ไขปี คศ.1965 แต่กฎหมายไทยได้ก้าวหน้ากว่าในการให้สิทธิแก่สตรี โดยให้ภรรยาจัดการสินสมรสร่วมกับสามี แต่เป็นที่น่าวิตกว่า การเพิ่มความเสมอภาคย่อมลดเอกภาพในครอบครัว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้จัดระบบทะเบียนทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาเป็นทะเบียนกลาง เพื่อความสะดวกในการบริหารความยุติธรรม และเสนอให้จัดตั้งศาลครอบครัวและมีวิธีพิจารณาพิเศษสำหรับศาลครอบครัว เพื่อลดขั้นตอนของกระบวนพิจารณาให้ยุ่งยากน้อยลง และใช้หลักประนีประนอมเพื่อลดความแตกร้าวในครอบครัว
Other Abstract: The matrimonial regime is a matter of great importance in the family law because it is the system of rules that regulates the relation between the spouse in regarding to property. In legal aspects, it effects not only the spouse and other members of the family but also outsiders that is creditors and heirs. But in the social and economic aspects the choice of the rules to govern the matrimonial regime is far more important because the family is both the first and the basic social institute which has an eminent influence on the social and economic developments. This comparative study points out that the trend of the law of matrimonial regime in various countries has turned towards the principle of equality but the principle of unity of the family is not totally discarded. Consequently the matrimonial regimes of those countries provide limitations of the power of either one of the spouse who is entitled to manage the property in those areas where the well being and the unity of the family may be affected. The present Thai legal matrimonial regime is that of the community of acquisitions following the path of the French legal matrimonial regime, a system brought into France after 1965 reform, but the Thai law has advanced in granting rights to women by letting them manage the property, jointly with the husband. But the augment of the equality will certainly lessen the family's unity. Having solemnly observed this the author recommends that a central matrimonial property registration system should be set up to enhance the judicial administration and that there should be a system of family courts equipped with a special procedure may be avoided and also that the system of mediation may be utilized to the breach of the family.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17583
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narin_Ch_front.pdf350.84 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_intro.pdf251.59 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_ch1.pdf557.65 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_ch2.pdf938.63 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_ch4.pdf697.6 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_ch5.pdf367.63 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Ch_back.pdf266.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.