Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17649
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ "สัจจะ" ในพุทธปรัชญาฝ่ายเถรวาท
Other Titles: An analytical study of the concept of "Truth" in theravada philosophy
Authors: ลัลนา อัศวรุ่งนิรันดร์
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความจริงและความเท็จ
พุทธปรัชญา
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ เรื่องสัจจะในพุทธปรัชญาฝ่ายเถรวาท เพื่อให้ทราบที่มาและความหมายตลอดจนรายละเอียดของเรื่องสัจจะนี้อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจที่จะคลี่คลายปัญหาอันเกิดจากการเข้าใจผิดที่คิดว่าคำสอนของพุทธปรัชญามีความขัดแย้งในตัวเอง จากการวิจัยพบว่าพุทธปรัชญาฝ่ายเถรวาทมีทรรศนะในเรื่องสัจจะหรือความจริงอยู่ 2 ทรรศนะ คือความจริงในระดับปรมัตถ์ ซึ่งเรียกว่าปรมัตถ์สัจจะ และความจริงในระดับสมมติ ซึ่งเรียกว่า สมมติสัจจะ ปรมัตถ์สัจจะเป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติของสภาวธรรมแท้ๆ ของสิ่งทั้งปวง อันได้แก่รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งแยกย่อยเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน ความจริงระดับนี้มิได้ขึ้นอยู่การรับรู้หรือการกำหนดของมนุษย์ ไม่ว่าจะมีผู้ใดเข้าไปรับรู้ความจริงนี้หรือไม่ก็ตาม ความจริงนี้ก็ยังคงมีอยู่และเป็นจริงตามสภาวะเช่นนั้นตลอดไป ส่วนสมมติสัจจะเป็นความจริงที่มีรากฐานอยู่บนการกำหนดสมมติของมนุษย์ จึงเปลี่ยนแปลงและถูกยกเลิกได้ การกำหนดสมมตินี้ก็คือการสร้างระบบภาษาขึ้นเพื่อใช้เรียกใช้สมมติสิ่งต่างๆ ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ มนุษย์สามารถสื่อสารความหมายซึ่งกันและกันได้ โดยอาศัยหลักการสร้างนามบัญญัติที่แฝงความหมายคืออรรถบัญญัติไว้ ทั้งนามบัญญัติและอรรถบัญญัติจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องและต้องประกอบอยู่ด้วยกัน จึงทำให้เกิดเป็นภาษาที่สามารถนำมาใช้สื่อความหมายได้สมบูรณ์ ทั้งปรมัตถสัจจะ และสมมติสัจจะเป็นความจริงที่ต้องอิงอาศัยกัน กล่าวคือปรมัตถสัจจะเป็นความจริงที่ยืนอยู่เป็นแกนมีสารัตถะของความจริงอยู่ในตัวเอง แต่การอธิบายความจริงนั้นจะกระทำได้โดยผ่านทางภาษาซึ่งเป็นสมมติสัจจะ และในทำนองเดียวกันสมมติสัจจะเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นไม่มีสาระ แห่งความเป็นจริงในตัวเอง แต่กลุ่มสมมติลงบนสิ่งซึ่งเป็นปรมัตถสัจจะความจริงแท้ที่อยู่เบื้องหลังความจริงในระดับสมมติก็คือความจริงในระดับปรมัตถ์ ดังนั้นพุทธปรัชญาจึงมีคำสอนที่สอดคล้องกับความจริง 2 ระดับนี้ เพื่อให้มนุษย์ยึดเป็นหลักปฏิบัติคือ โลกกุตตารธรรม และ โลกียธรรม โลกุตตรธรรมเป็นหลักธรรมคำสอนที่มุ่งหมายสู่ความหลุดพ้น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในปรมัตถสัจจะเป็นอย่างดี และปฏิบัติหลักการที่ทรงแนะนำไว้คือ มรรคมีองค์แปด ส่วนโลกียธรรม เป็นหลักธรรมการสั่งสอนที่แนะนำประโยชน์เพื่อการดำรงชีพในโลกสังคมอย่างมีความสุข เมื่อศึกษาและทำความเข้าใจกับเรื่องสัจจะนี้อย่างลึกซึ้งเพียงพอแล้วจะพบว่า ความจริงทั้ง 2 ระดับนี้มิได้มีความขัดแย้งกันแต่ประการใด แต่กับมีความประสานสอดคล้องและประกอบอยู่ด้วยกัน เสมือนการมองสิ่งเดียวกันแต่มองจากแง่มุมที่ต่างกัน และทำให้เกิดความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพุทธปรัชญาทั้งระบบได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย.
Other Abstract: The purpose of this Thesis is the analytical study of the concept of truth in the philosophy of Theravada Buddhism in order to know the sources, meaning and details of the truth. These will accordingly unravel any problems which arise out of the misunderstanding that the doctrines in Buddist Philosophy are self-contradictory. The result of a study reveals that there are two categories of truth in Theravada Buddhism, one is the truth in the ultimate sense called Paramattha-sacca and another is the truth in conventional level called Sammati-sacca. The ultimate truth or Paramattha-sacca is the truth of things as they really are. They are corporeality and mentality which are devided into Citta, Cetasika, Ru ̅pa. and Nibba ̅na. This category of truth does not base upon perceptions or any determinations of man. Whether there is or is not anybody to know it, this kind of truth still exists as it is for all time. The conventional truth or Sammati-sacca is the truth that bases on the determinations of man and thus it is subject to change. To determine this kind of truth is to build a system of language for both naming every supposed things and using it as an equipment of communication. There are. Two kinds of determination to be created, namely, naming determination and meaning determination and these two are interdependent. This makes language full of utility. Ultimate truth stands on its own essential nature but to explain it we have to use a language which is conventional. Conventional truth is a determination of man; it’s essential nature is a supposed reality which in turn depends upon the ultimate truth. So, in Buddhist philosophy there are doctrines that are coherent with these two levels of truth for practising, namely, Lokuttaradhamma and Lokiyadhamma. lokuttaradhamma is the teaching for liberation. One who seeks liberation must understand the ultimate truth and strictly follow the Noble Eightfold Path. Lokiyadhamma is the teaching for one who wishes to live a happy life in human society in this world. When we critically examine and understand this two levels of truth, we will find that the Buddha's teachings are by no means contradictary, but are coherent and interdependent. It is as seeing one and the same thing from different angles. understanding of these two truths leads accordingly to a correct and better understanding of Buddhism.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17649
ISBN: 9745638838
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lunna_As_front.pdf313.36 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_ch1.pdf238.66 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_ch2.pdf334.09 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_ch3.pdf638.53 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_ch4.pdf988.65 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_ch5.pdf289.67 kBAdobe PDFView/Open
Lunna_As_back.pdf236.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.