Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17680
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
Other Titles: Selected factors related to sexual behaviors in patients with myocardial infarction
Authors: วินิตย์ หลงละเลิง
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย
กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย -- พฤติกรรมทางเพศ
Myocardial infarction
Myocardial infarction -- Patients -- Sexual behavior
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อัตมโนทัศน์ในการมีเพศสัมพันธ์ ประกอบด้วย ความพึงพอใจ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 21-59 ปี จำนวน 132 คน ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยง ได้เท่ากับ .92, .95, .92, .93., .88, .92, และ.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 68.18 (X= 53.34, SD = 6.18) มีคะแนนความพึงพอใจ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและการรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 9.70 (SD=3.38), 12.83 (SD=4.66), 12.29 (SD=4.96), 12.45 (SD=5.05) และ 26.26 (SD=7.01) ตามลำดับ คะแนนอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด สำหรับคะแนนการสนับสนุนทางสังคมเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 93.62 (SD=12.30) มีคะแนนอยู่ในระดับสูงและคะแนนพฤติกรรมทางเพศเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 7.01 (SD=7.48) มีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ 2. ความพึงพอใจ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์ การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมทางเพศ ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .517, .605 และ .433 ตามลำดับ 3. การรับรู้อุปสรรค ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.322, -.388 และ -.512 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this correlational research were to investigate the relationships between sexual self-concept subscales of sexual satisfaction, perceived sexual self- efficacy, sexual anxiety, and sexual depression, perceived sexual barriers, social support, and sexual behaviors in patients with myocardial infarction. The subject were 132 myocardial infarction adult patients in the Police hospital and Thammasat hospital selected by a multistage sampling. The instruments used for data collection were the Demographic data Form, Sexual Satisfaction Questionnaire, Sexual Self-efficacy Questionnaire, Sexual Anxiety Questionnaire, Sexual Depression Questionnaire, Perceived Sexual Barriers Questionnaire, Social Support Questionnaire, and Sexual Behaviors Questionnaire. These instruments were tested for content validity by five panel of experts, and the reliability were .92, .95, .92, .93, .88, .92, and .95, respectively. The data were analyzed using Pearson’s Product Moment Correlation. The results of this study revealed that: 1. The study found that males adults age 51-59 years old (68.18%), mean age was 53.34 years (SD=6.18). Mean scores of sexual satisfaction, perceived sexual self-efficacy, sexual anxiety, sexual depression, and perceived sexual barriers mean score were 9.70 (SD = 3.38), 12.83 (SD = 4.66), 12.29 (SD = 4.96), 12.45 (SD = 5.05), and 26.26 (SD = 7.01), respectively, all mean scores were at moderate levels. Mean score of social support were 93.62 (SD=12.30), that high level and sexual behaviors were 7.01 (SD = 7.48), that low level. 2. There were positive statistically significant relationships between sexual satisfaction, perceived sexual self-efficacy, social support, and sexual behaviors of myocardial infarction patients at the level of .05 (r = .517, .605, and .433, respectively). 3. There were negative statistically significant relationships between perceived sexual barriers, sexual anxiety, sexual depression, and sexual behaviors of myocardial infarction patients at the level of .05 (r = - .322, -.388, and -.512, respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17680
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winit_Lo.pdf82.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.