Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17713
Title: การประเมินความเชื่อถือได้ของการจัดอันดับเทียร์สำหรับการออกแบบระบบไฟฟ้า
Other Titles: Tier classification reliability assessment for electrical system design
Authors: สุทธิพงษ์ รัตนาภากร
Advisors: โสตถิพงศ์ พิชัยสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sotdhipong.P@Chula.ac.th
Subjects: การจ่ายพลังงานไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้ากำลัง -- การออกแบบ
Electric power distribution
Electric power systems -- Design
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอวิธีการประเมินความเชื่อถือได้สำหรับการออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่ำโดยเน้นไปที่ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร โดยพิจารณาภายใต้เงื่อนไขของการจัดอันดับเทียร์ โดยการจัดอันดับเทียร์ คือ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการประเมินระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่โหลดและเป็นมาตรฐานที่บอกให้รู้ว่าระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวนั้นมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ซึ่งมาตรฐานของการจัดอันดับเทียร์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน ได้แก่ การจัดอันดับเทียร์ระดับที่ 1 (Tier 1), การจัดอันดับเทียร์ระดับที่ 2(Tier 2), การจัดอันดับเทียร์ระดับที่ 3 (Tier 3) และการจัดอันดับเทียร์ระดับที่ 4 (Tier 4) โดยที่การจัดอันดับเทียร์แต่ละระดับจะมีรูปแบบของโครงสร้างของระบบที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดอันดับเทียร์แต่ละระดับมีความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกับขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ สามารถเลือกใช้ให้วอดคล้องกับระบบ ดดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เลือกใช้วิธีการประเมินความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการจำลองเหตุการณ์แบบมอนติคาร์โลแบบวิธีสุ่มช่วงเวลาการทำงานเข้ามาวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าดังกล่าว ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าสำหรับสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม หรือระบบไฟฟ้าภายในอาคารที่ต้องการความน่าเชื่อถือของระบบที่ดี โดยระบบที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าของอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความน่าเชื่อถือที่ดี
Other Abstract: To present a reliable evaluation for a low voltage electrical system in a building based on Tier ranking. The Tier ranking is a standard criterion for the power system evaluation showing an efficiency and reliability. The Tier ranking is divided into 4 parts; Tier 1 to Tier 4. Each Tier ranking shows different structures of system patterns with different reliability. Engineers can choose a suitable one for the system. The thesis applied a reliability evaluation using Monte Carlo simulation with state duration sampling method. It can be used for the important buildings such as banks, hospitals, industrial factories or any other building electrical system that need good reliability. The testing systems include the systems of the general important building and the industry building.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17713
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.907
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.907
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suttipong_ra.pdf64.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.