Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17758
Title: การวิเคราะห์ปัญหาความเป็นเหตุผลของการเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะ
Other Titles: An analysis of the free rider problem
Authors: บรรพต อึ๊งศรีวงษ์
Advisors: มารค ตามไท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สาธารณสมบัติ
ความเห็นแก่ตัว
เหตุผล
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาที่งานวิจัยนี้ ศึกษา คือ การเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะเป็นการกระทำที่มีความเป็นเหตุผลหรือไม่ ในชุมชนใหญ่ๆ มักจะมีแนวโน้มที่คนในชุมชนจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มีผู้กล่าวว่าพฤติกรรมเช่นนั้นมีความเป็นเหตุผล เพราะแต่ละคนจะคิดว่าความร่วมมือของตนคนเดียวจะไม่สามารถก่อให้เกิดผลที่มีความสำคัญต่อส่วนรวมได้และเมื่อสาธารณสมบัตินั้นเกิดขึ้นแล้ว เขาก็สามารถได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ไม่ว่าเขาจะให้ความร่วมมือหรือไม่ก็ตาม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์เหตุผลที่อ้างมานี้และพิจารณาว่าเป็นเหตุผลที่ดีหรือไม่ หลังจากบทนำสั้นๆ แล้ว ข้าพเจ้าจะนำเสนอมโนทัศน์ที่จำเป็นในการเข้าใจปัญหาการเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะ ต่อจากนี้จะเป็นการยกตัวอย่างข้อถกเถียงที่สนับสนุนการเอาเปรียบสาธารณะในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจะชี้ให้เห็นว่า เหตุผลที่ใช้สนับสนุนพฤติกรรมเช่นนี้ มีอยู่ 2 ข้อ คือ เรื่องความเห็นแก่ตัว และเรื่องผลที่รับรู้ไม่ได้ของการกระทำ อย่างไรก็ตาม แมนเคอร์ โอลสัน จูเนียร์ ได้ยืนยันว่าการเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะนั้น มีความเป็นเหตุผลไม่ว่า ผู้กระทำจะมีความเห็นแก่ตัวหรือไม่ก็ตาม และริชาร์ด ทัคก์ก็กล่าวไปในทำนองเดียวกัน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดตามสมควร ข้าพเจ้าจะพยายามแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีของโอลสันมีสมมติฐานอยู่บนความเห็นแก่ตัว และคนที่ไม่เห็นแก่ตัวจะไม่คิดว่าการเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะเป็นการกระทำที่มีความเป็นเหตุผล ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าจะแสดงให้เห็นว่า ข้อถกเถียงที่สนับสนุนการเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะจะนำไปสู่ข้อสรุปที่คนที่เห็นแก่ตัวจะไม่พอใจได้อย่างไร และจะชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเดียวกันจะเกิดขึ้นกับความเป็นเหตุผลแบบเห็นแก่พวกของตัวด้วย ปัญหาเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับความเป็นเหตุผลแบบสัมพัทธ์กับตัวผู้กระทำ หรือกลุ่มของผู้กระทำเสมอในตอนท้าย ข้าพเจ้าเสนอว่า ลักษณะของความเป็นเหตุผลแบบประเมินค่าอันหนึ่งคือเป็นสากลและด้วยการมองความเป็นเหตุผลแบบนี้ จะนำไปสู่ข้อสรุปจากการวิเคราะห์มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องว่า การเอาเปรียบสาธารณะในบางลักษณะไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นการกระทำที่มีความเป็นเหตุผล เพราะจะเป็นการขัดแย้งกับตัวเอง
Other Abstract: The problem studied in this thesis is whether free-riding is a rational action. Where the public is large, people tend to avoid to contribute for their common interest. Some say that that is rational action, for an individual’s contribution will not make any significant effect upon the whole thing and he will be able to reap the benefit from whatever is produced whether or not he helped to get it produced or not. The objectives of this thesis are to analyse these reasons and see whether they are good reasons or not. After a short introduction I will present some necessary concepts to get an idea of the free rider problem. Next will be some examples of arguments always used to support free rider action. It will be indicated that there are two reasons supporting such an action : self-interest and imperceptible effect of an action. However, Mancur Olson, Jr. has asserted that free rider action is rational whether or not the agent is self-in-terested. Richard Tuck says something to the same effect. So, I will get into the details of the issue at some length. It will be shown that Olson’s theory is based on the assumption of the self-interestedness of the agent. And, an unselfish person will not think of free riding as a rational behavior. Then, I will show how an argument for free riding can be considered unsatisfactory for the self-interested person. And the same kind of problem will happen for anyone who gives priority to any special group of people as well. This kind of problem will always happen to any self-or group-relativised rationality. At last, I will propose that normative aspect of rationality requires universal application. This will have the implication, considered along with related concepts, that free riding behavior cannot be evaluated as “rational” because this will lead to a self-contradiction.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17758
ISBN: 9745666947
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bunpote_Un_front.pdf404.94 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_ch1.pdf288.63 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_ch2.pdf545.92 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_ch3.pdf792.7 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_ch4.pdf351.41 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_ch5.pdf687.85 kBAdobe PDFView/Open
Bunpote_Un_back.pdf237.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.