Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17855
Title: การวิเคราะห์กระบวนการการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคม : กรณีศึกษาโรงเรียนพระดาบส
Other Titles: An analysis on the knowledge transferring process for voluntary social contribution in Pradabos school
Authors: ภัทรพร มงคลวัจน์
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงเรียนพระดาบส
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคมของผู้บริหาร ครูและดาบสอาสาให้แก่ศิษย์พระดาบส ในด้านเนื้อหาความรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการประเมินผล และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการรับความรู้ของศิษย์พระดาบสเรื่องการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคมของผู้บริหาร ครูและดาบสอาสาในด้านเนื้อหาความรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านกิจกรรมเสริม ตัวแปรที่ศึกษาคือ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของดาบสอาสา และ กระบวนการรับความรู้ของศิษย์พระดาบส กลุ่มตัวอย่างเป็นดาบสอาสา ศิษย์พระดาบส และศิษย์เก่าพระดาบส รวมทั้งหมดจำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามศิษย์พระดาบสและแบบสอบถามศิษย์เก่าพระดาบสต่อกระบวนการรับความรู้กระบวนการการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคมของผู้บริหาร ครูและดาบสอาสา แบบสัมภาษณ์ศิษย์พระดาบสและแบบสัมภาษณ์ศิษย์เก่าพระดาบสต่อกระบวนการรับความรู้กระบวนการการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคมของผู้บริหาร ครูและดาบสอาสา และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูและดาบสอาสาต่อกระบวนการการถ่ายทอดความรู้เพื่อการอาสาสมัครรับใช้สังคม สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการการถ่ายทอดความรู้ของผู้บริหาร ครูและดาบสอาสา ในด้านเนื้อหาความรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการประเมินผล ด้านเนื้อหาความรู้สรุปได้ว่า สอนวิชาชีพ โดยเน้นเนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการของตลาดแรงงานพร้อมทั้งปลูกฝังการอาสาสมัครรับใช้สังคม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ความรู้ทางวิชาชีพและปลูกฝังการอาสาสมัครรับใช้สังคมทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านการประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลายเช่น การสอบข้อเขียน การสอบปากเปล่า การสอบปฏิบัติ และการสังเกตพฤติกรรมประเมินตามสภาพจริง 2. กระบวนการการรับความรู้ของศิษย์พระดาบส ในด้านเนื้อหาความรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริม พบว่า กระบวนการรับความรู้ของศิษย์พระดาบส โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาความรู้ระดับมากที่สุดคือศิษย์คิดว่าสามารถตอบแทนสังคมได้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ดาบสอาสามีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่สอน บรรยากาศเป็นกันเอง กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เน้นการฝึกปฏิบัติและนำไปใช้ได้ และมีแบบอย่างที่ดีจากดาบาอาสา ด้านกิจกรรมเสริม พบว่า การร่วมกิจกรรมเสริมและและสังเกตอากัปกิริยาผู้ร่วมกิจกรรม ทำให้ศิษย์ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอาสาสมัครรับใช้สังคม และสร้างความเคยชินให้ศิษย์พร้อมจะอาสาสมัครรับใช้สังคมด้วยตนเอง
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) study the process of knowledge transferring for voluntary social contribution of administrators, teachers and Dabos Volunteers and 2) study the process of the knowledge perception for voluntary social contribution of administrators, teachers and Dabos Volunteers. Samples of this study composed of 20 administrators, teachers and Dabos Volunteers and 154 learners. The study instrument was interview and questionnaire. Data were analyzed to meet the objectives and presented in descriptive form. The findings were as follows: 1) the process of knowledge transferring for voluntary social contribution administrators, teachers and Dabos Volunteers include: (1) curriculum focused on vocational aspects related to the current situation, the labor market needs and the voluntary social contribution awareness, (2) learning activities were varied focusing on the voluntary social contribution awareness, and (3) evaluation strategies were varied including the written form test, the oral test, the practice test, the behavior observation1) the knowledge transferring process. 2) study the process of the knowledge perception for voluntary social contribution of administrators, teachers and Dabos Volunteers comprised of (1) curriculum emphasized on the learners voluntary social contribution abilities, (2) learning activities were varied emphasizing on the practice, the implication, and the best practices, and (3) extra activities mainly focused on the awareness of the important and benefits of the voluntary social contribution
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17855
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1323
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1323
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattarapon_mo.pdf21.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.