Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1791
Title: การศึกษาแนวทางการปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการที่ดิน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Authors: อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์
วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์
สถิตย์พงศ์ สุดชูเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
Subjects: การใช้ที่ดิน--ไทย
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดิน พ.ศ. ...
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กฎหมายว่าด้วยจัดการทรัพยากรดินและที่ดินของภาครัฐ มิได้ให้อำนาจในการบริหารจัดการที่ดินโดยรวมแก่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ แต่กระจัดกระจายไปตามกระทรวง ทบวง กรม และคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาฉบับต่าง ๆ หรือตามมติคณะรัฐมนตรีทำให้การจัดการดูและและใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ไม่เป็นเอกภาพและขาดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ผลของการศึกษาและการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พบว่า ควรจัดทำร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ พ.ศ. ... ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีคณะกรรมการที่เป็น Super Committee เพื่อชี้นำทิศทางของการบริหารจัดการที่ดินของประเทศที่มีเอกภาพ สามารถกำหนดนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของชาติ ทำให้แนวทางการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประสานสอดคล้องและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน สาระสำคัญของร่างกฎหมาย กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ให้มีกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและคณะกรรมการนโยบายที่ดินส่วนจังหวัดเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินที่เกี่ยวข้อง ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งระบบด้วยการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการพัฒนา การอนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินและที่ดินอย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม และให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินของชาติ และจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินส่วนจังหวัดเพื่อเสนอแนะแนวทาง มาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินเฉพาะในเขตพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของคณะกรรมการนโยบายที่ดินส่วนจังหวัด
Other Abstract: The legal framework on the management of land resource does not empower any single authority. Responsibilities are however, dispersed among the ministries, bureaus, department as well as committes established by various pieces of legislation or by Cabinet decisions. Under such cricumsatnces, the management of land resources has therefore lacked the unity of principles and directions, a shortcoming which has been among the main reasons underlying the ineffeciency of land resources utilization. The results of the study and the feed back from the workshops organized both in the centre and in the regions point out to the need to draft a National Land Policy Committee Act B.E.... Under this Act, a National Land Polci Committee would be established to function as the "Supreme Committee" to provide a unified direction on land management. The National Land Policy Commitee should also be empowered with the authority to lay down the policy directives at the national level for land administration which will be used as guidelines for the concerned agencies thereby guaranteeing unity as well as a consustency and complementary framework of operation. The National Land Policy Committee should be chaired either by the Primer Minister (PM) or by the Deputy Prime Minister that has been assigned by the PM. Presiding in both the National Land Policy Committee and the Provincial Land Policy Committee would be resource persons who would assist in the decision making over key issues of land use related matters. In seeting the policy directives over land and land resources, the National Land Policy Committee would not only need to ensure consistency with the national development framework, but would also need to balance utilization and conservation objectives as well as harmonize the soical, economic and environmental concerns. It has been proposed that apart from the establishment of the National Land Policy Committee, a National Land Policy Committee Office should be created as its operational body, in addition to the appointmentof Provincial Land Policy Committees. The mandates of the latter would be to make recommendations on the directions and measures in land and land/soil resources management within the areas under their immediate jurisdiction.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1791
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ittiphon(TRF).pdf9.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.