Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17920
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน พิพิธกุล-
dc.contributor.authorวัลลภา แนวจำปา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-14T14:30:59Z-
dc.date.available2012-03-14T14:30:59Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.issn9745644706-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17920-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10 5. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้คะแนนความสามารถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ความคิดสร้างสรรค์และความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นตัวพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ที่เลือกเรียนแผนการเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ สาย 1ปีการศึกษา 2527 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 10 จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความสามรถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยส่งแบบสอบไปยังตัวอย่างประชากร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามรถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.5129 2. ความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.2142 3. ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.7683 4. ความสามรถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ความคิดสร้างสรรค์และความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.8012 5. คะแนนความสามรถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ( X_1) คะแนนความคิดสร้างสรรค์ ( X_2) และคะแนนความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ( X_3) ความสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (Y) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10 ได้ มีสมการถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เป็นดังนี้ Y_C = 0.4158 X_1 + 0.0293 X_2+ 0.5405 X_3 - 8.5757. Z_C = 0.2258 Z_1+ 0.0774 Z_2 + 0.6622 Z_3-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were as follows : 1. To study the relationship between abstract reasoning ability and mathematics learning achievement of mathayom suksa six students in educational region ten. 2. To study the relationship between creative thinking and mathematics learning achievement of mathayom suksa six students in educational region ten. 3. To study the relationship between mathematics background and mathematics learning achievement of mathayom suksa six students in educational region ten. 4. To study the relationship between abstract reasoning ability creative thinking, mathematics background and mathematics learning achievement of mathayom suksa six students in educational region ten. 5. To construct the miltiple regression equation in order to predict the mathematics learning achievement by abstract reasoning ability, creative thinking and mathematics background. The samples were 351 mathayom suksa six students of first mathematics program in academic year 1984, from government schools in educational region ten. The research instruments were the abstract reasoning ability test, the creative thinking test, the mathematics background test and mathematics learning achievement test. The tests were sent to the samples. The obtained data were analyzed by means of Pearson's Product Moment Correlation, Multiple Correlation, and Multiple Regression Equation. The results of the research were as follows : 1. There was positive correlation between abstract reasoning ability and mathematics learning achievement at the 0.01 level of significance and the correlation coefficient was 0.5129. 2. There was positive correlation between creative thinking and mathematics learning achievement at the 0.01 level of significance and the correlation coefficient was 0.2142. 3. There was positive correlation between mathematics background and mathematics learning achievement at the 0.01 level of significance and the correlation coefficient was 0.7683. 4. There was positive multiple correlation between abstract reasoning ability, creative thinking, mathematics background and mathematics learning achievement at the 0.01 level of significance and the multiple correlation coefficient was 0.8012. 5. The mathematics learning achievement scores (Y) of mathayom suksa six students in educational region ten were predicted by the abstract reasoning ability scores ( X_1), the creative thinking scores ( X_2) and the mathematics background scores ( X_3). The regression equation of raw scores and standard scores were as follows; Y_C = 0.4158 X_1 + 0.0293 X_2+ 0.5405 X_3 - 8.5757. Z_C = 0.2258 Z_1+ 0.0774 Z_2 + 0.6622 Z_3-
dc.format.extent362366 bytes-
dc.format.extent357042 bytes-
dc.format.extent703615 bytes-
dc.format.extent405312 bytes-
dc.format.extent280053 bytes-
dc.format.extent375158 bytes-
dc.format.extent961376 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ความคิดสร้างสรรค์และความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ในเขตการศึกษา 10en
dc.title.alternativeRelationship between abstract reasoning ability, creative thinking, mathematics background, and mathematics learning achievement of mathayom suksa six students in educational region tenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallapa_Na_front.pdf353.87 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_ch1.pdf348.67 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_ch2.pdf687.12 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_ch3.pdf395.81 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_ch4.pdf273.49 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_ch5.pdf366.37 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Na_back.pdf938.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.