Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17936
Title: ความคาดหวังของคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนและครูประถมศึกษา เกี่ยวกับวิธีการจัดการนิเทศการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The expectation of elementary school consortium's committee and teachers relating to the management of educational supervision in the elementary school consortium under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration
Authors: วัลยา เศรษฐเลาห์
Advisors: สงัด อุทรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การนิเทศการศึกษา
ผู้บริหาร -- ทัศนคติ
ครู -- ทัศนคติ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาความคาดหวังของคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนและครูประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับวิธีการจัดการนิเทศการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนและครูประจำการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน 24 เขต โดยแบ่งเป็น คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนจำนวน 204 คน และครูประจำการ 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบตรวจสอบและคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมการนิเทศการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวม ด้วยตนเองส่วนหนึ่ง และส่งทางไปรษณีย์บางส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่แล้วแปลงเป็นค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการในการดำเนินการกิจกรรมทางการนิเทศการศึกษาทุกกิจกรรม 2. จากการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมการนิเทศการศึกษาซึ่งมีขั้นตอนในแต่ละกระบวนการของกิจกรรมนิเทศการศึกษาทั้งสิ้น 15 กิจกรรมปรากฏว่า 2.1 กิจกรรมนิเทศการศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริงแล้วทุกขั้นตอนของกระบวนการคือ การประชุม การปะชุมปฏิบัติการ การทดลองปฏิบัติการ การทดสอบ การบรรยาย การจัดนิทรรศการ การสังเกต การจัดทัศนศึกษา และการพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างความคุ้นเคย รวม 11 กิจกรรมด้วยกัน 2.2 กิจกรรมนิเทศการศึกษาที่ได้ปฏิบัติการจริงแล้ว บางขั้นตอนของกระบวนการแต่ไม่ครบทุกขั้นตอนได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย ขั้นตอนที่ไม่ได้ทำคือขั้นตอนที่ 5 กิจกรรมการอภิปราย ขั้นตอนที่ไม่ได้ทำคือ ขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมการสาธิต ขั้นตอนที่ไม่ได้ทำคือขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนที่ 6 และขั้นตอนที่ 7 และกิจกรรมการเยี่ยมชั้นเรียน ขั้นตอนที่ไม่ได้ทำคือ ขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 รวม 4 กิจกรรมด้วยกัน 2.3 กิจกรรมนิเทศการศึกษาที่ไม่ได้ปฏิบัติจริงเลย ทั้งกระบวนการของกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมสัมภาษณ์ และการเขียนบทความทางวิชาการ รวม 2 กิจกรรมด้วยกัน 3. จากการศึกษาความคาดหวังของคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียนและครูประถมศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการนิเทศภายในกลุ่มโรงเรียนด้วย กิจกรรมที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษากรุงเทพมหานคร 15 กิจกรรมนั้น กลุ่มตัวอย่างประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรปฏิบัติทุกขั้นตอนในกระบวนการของกิจกรรม แต่ละกิจกรรมไม่ควรข้ามขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใด เลย
Other Abstract: Purposes of the research: 1. To study the expectation of the administrative committee of school consortium and teachers in elementary schools relating to the management of educational in elementary schools consortiums under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. 2. To propose the guide - line of supervisory management in elementary school consortiums under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. Methodology: The sample of the study consisted of 204 administrative committee of school comsortiums and 387 teachers in elementary school under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. The total sample in 24 district area was 591; of these, were 204 administrative committees of school consortiums and 387 teachers. The instrument used in the research was the questionnaire concerned with the steps of the processes to be done in the super-visory activities. The questionnaire was constructed by the resear¬cher in the check-list and opened-ended forms. The instrument were collected by the researcher and by mail. The frequency and percen¬tage were used as the means for analyzing of data. Findings: 1. The administrative committee of school consortiums and teachers in elementary schools under the jurisdiction of the Bang¬kok Metropolitan Administration agreed with the steps used in the processes of doing the supervisory activities. 2. The opinions of the administration committee of school consortiums and teachers in elementary schools concerning the processes of the 15 supervisory activities were concluded as follows: 2.1 The supervisory activities which had been done by using all step of the processes were meeting, workshop, laboratory, testing, lecture, exhibition, directed observation, field trip and social activities. 2.2 The supervisory activisory activities which had been done by using some steps of the processes were conference, discussion, demonstration and inter-visitation. 2.3 The supervisory activities had been done without using the assigned steps were interviewing and writing a periodical. 3. The school consortiums committee and teachers had expected the management of supervisory activities to be done by using all step of the processes which had been designed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17936
ISBN: 9745647152
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Walaya_Se_front.pdf317.42 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_ch1.pdf349.31 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_ch2.pdf696.37 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_ch3.pdf270.69 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_ch4.pdf555.08 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_ch5.pdf636.56 kBAdobe PDFView/Open
Walaya_Se_back.pdf998.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.