Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17979
Title: การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย
Other Titles: Spacing in the Thai writing
Authors: กอบกุล ถาวรานนท์
Advisors: วิจินตน์ ภาณุพงศ์
อังกาบ ผลากรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- เครื่องหมายวรรคตอน
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและสำรวจวิธีใช้เว้นวรรคในสมัยปัจจุบัน รวมทั้งประวัติความเป็นมาของการเว้นวรรค ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัชการที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ข้อมูลที่นำมาศึกษาและสำรวจ คือศิลาจารึก หนังสือที่เป็นตัวเขียนและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์วิธีเว้นวรรคของผู้ทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์อีกด้วยผลของการศึกษาและสำรวจสรุปได้ว่า ในสมัยสุโขทัยยังไม่มีการเว้นวรรคตามลำพัง มีแต่การใช้เครื่องหมายฟองมันควบคู่กับการเว้นวรรค ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้ คือ แยกคำ แยกข้อความ และใช้นำหน้าข้อความที่สำคัญ นอกจากนี้ยังใช้คั่นข้อความที่เป็นภาษาไทยกับภาษาบาลี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องหมายดังกล่าวยังคงมีใช้อยู่ และมีวิธีใช้เพิ่มขึ้น คือ ใช้เริ่มเรื่อง ใช้แยกรายการต่างๆ สมัยอยุธยาเริ่มมีการใช้เว้นวรรคตามลำพังเป็นครั้งแรก ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้ คือ เว้นวรรคตามหน่วยไวยากรณ์ต่างๆ และเว้นวรรคตามใจความ วิธีเว้นวรรคตามหน่วยไวยากรณ์ ได้แก่ เว้นวรรคขนาบประโยค ข้างหน้าอนุพากย์ต่างๆ และขนาบกลุ่มคำชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มคำบอกเวลา ข้างหลังหน่วยประธานที่เป็นชื่อคน นอกจากนี้ ยังมีการเว้นวรรคขนาบคำชนิดต่างๆ เช่น คำจำนวนนับ คำลักษณะนาม คำบุพบท ณ และข้างหลังคำเชื่อมอนุพากย์ ว่า เป็นต้น วิธีเว้นวรรคตามใจความ ได้แก่ เว้นวรรคขนาบรายการต่างๆ ในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เครื่องหมายฟองมันที่ใช้ควบคู่กับการเว้นวรรคยังคงมีใช้อยู่ และมีวิธีใช้เหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนเรื่องการเว้นวรรคนั้นยังคงมีอยู่เฉพาะการเว้นวรรคตามหน่วยไวยากรณ์เท่านั้น และมีวิธีใช้เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวิธีเว้นวรรคที่เพิ่มขึ้น คือ เว้นวรรคระหว่างหน่วยประธาน กริยา และ กรรม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ( รัชกาลที่ 6-8 ) มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามแบบยุโรปควบคู่กับการเว้นวรรค ส่วนการเว้นวรรคตามลำพังยังคงมีใช้อยู่ และมีวิธีใช้เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวิธีเว้นวรรคที่ต่างไป คือ เว้นวรรคขนาบกลุ่มคำ บอกเวลาคุณศัพท์ ข้างหน้าคำบุพบท เพื่อ ข้างหลังหน่วยประธานที่เป็นกลุ่มคำ และ ขนาบคำกริยา เช่น ได้แก่ ในสมัยปัจจุบันมีวิธีเว้นวรรคเหมือนสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ( รัชกาลที่ 6 – 8 ) และมีวิธีเว้นวรรคเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ มีวิธีเว้นวรรคมากกว่าหนังสือประเภทอื่นๆ ผลการสัมภาษณ์วิธีเว้นวรรคของผู้ทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์ในปัจจุบัน สอดคล้องกับการเว้นวรรคในสมัยเดียวกันด้วย ผลของการวิจัยได้เสนอเป็น 5 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหา ขอบเขตวิธีดำเนินการ และศัพท์ที่ใช้วิทยานิพนธ์นี้ บทที่ 2 ศึกษาการเว้นวรรคในสมัยต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงสมัยรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 3 ศึกษาและสำรวจดูการเว้นวรรคในสมัยปัจจุบัน บทที่ 4 ศึกษาการให้ความสำคัญของการเว้นวรรคในหลักสูตร ในการวัดผล และ ผลของการเว้นวรรคในการอ่าน
Other Abstract: This thesis aims to study and survey the spacing in the Thai writing at the present time, and to trance the development of the spacing from the Sukhothai period up to the reign of King Rama VIII of the Ratanakosin period. The data were collected from inscriptions, manuscripts and printed materials. Besides, data were collected from the interviews with twenty typists and twenty proof – readers. The study reveals that in the Sukhothai there was no use of spacing alone : spacing must be accompanied by a small circle which is used to separate words or paragraphs and also to precede an important message. Besides, it was used to mark passages in Thai version from those in Pali version. In the Ayuthaya period, this symbol was still in use but in a wider scope. It was also used to indicate the beginning of a new passage, and to separate items in a series. Spacing alone was first introduced in the Ayuthaya period. It was used to separate grammatical units and sense groups. Spacing between grammatical units was found as follows : before and after a sentence, before various clauses, and before and after various groups of words : time expressions, after proper noun functioning as subject. Spacing was also used before and after words such as numerals, classifiers, preposition /na /, and after the clause maker /wa:/ Spacing between sense groups was used before and after items in a series. In Dhonburi period and Ratanakosin period (Rama I-V) , the small circle was still in use together with spacing and it was used in the same manner as in the Sukhothai and Ayuthaya period. Spacing alone was used to make only grammatical units in this period. It was used in the same way as in the Ayuthaya period with an addition of spacing to separate Subject from Verb and from Object. In the Ratanakosin period (Rama VI – VIII) western punctuation was used together with the spacing. Spacing alone was used in the same way as in the Ayuthaya period, but in a wider scope :before and after adjective time expression ; before the preposition/ph /; after subject phrase ; and before and after the verbes /chen/ and / dai kὲ: / At the Present time , spacing is used in the same way as in Dhonburi and Ratanakosin periods ( up to Rama VIII ). There are more types of spacing however. Newspapers reveal various uses of spacing more than other types of printed materials. The interviews with typists and proof – readers of the present time support the above findings. The thesis is presented in five chapters. Chapter one is the introduction which states the problems, the scope, the procedure , and the technical terms used. Chapter two presents the study of spacing from Sukhothai period to Ratanakosin Rama VIII. Chapter three presents the survey and study of spacing of the present time. Chapter four studies the degree of importance given to spacing on curricula and evaluation. Also, it treats the effect of spacing on reading. Chapter five is the conclusion of the study. Some suggestions are given.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17979
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kobkool_Th_front.pdf364.05 kBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_ch1.pdf338.09 kBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_ch4.pdf366.87 kBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_ch5.pdf359.97 kBAdobe PDFView/Open
Kobkool_Th_back.pdf523.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.