Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17984
Title: ผลของการสอนเทนนิสด้วยวิธีสอนแบบใช้น้ำหนัก และไม่ใช้น้ำหนักในการฝึก
Other Titles: The effects of teaching Tennis by weight and non-weight training method
Authors: นำชัย เลวัลย์
Advisors: วรศักดิ์ เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vorasak.P@Chula.ac.th
Subjects: เทนนิส -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาผลของการสอนเทนนิสด้วยวิธีสอนแบบใช้น้ำหนักและไม่ใช้น้ำหนักในการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย จำนวน 48 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม โดยทุกกลุ่มมีความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไก (Motor Eduacability) และความสามารถในการเล่นเทนนิสเท่าๆกัน ให้ทุกกลุ่มได้เรียนการเล่นเทนนิสเป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน และวันละ 1 ชั่วโมง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกทักษะการเล่นเทนนิสอย่างเดียว กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกทักษะการเล่นเทนนิสควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนัก กลุ่มควบคุมให้ฝึกเองตามลำพัง ทำการทดสอบความสามารถในการเล่นเทนนิสของทุกกลุ่มในวันอาทิตย์ ของสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของนิวแมน-คูลส์ (Newman-Keuls) ผลการวิจัยพบว่า การสอนเทนนิสด้วยวิธีสอนแบบใช้น้ำหนัก และไม่ใช้น้ำหนักในการฝึกให้ผลต่อความสามารถในการเล่นเทนนิสไม่แตกต่างกัน และทุกกลุ่มมีความสามารถในการเล่นเทนนิสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this study was to find out the effects of teaching tennis by weight and non-weight training methods. The subjects were 48 male students and were devided into three groups; namely first experimental group, second experimental group, and controlled groups. All groups were equalized in motor educability and ability in playing tennis scores. All three groups were taught for 8 weeks, one hour a day and three days a week. The first experimental group was taught with non-weight training; the second experimental group with weight training; the controlled group, with no instruction methods. The subjects in all groups were tested on Sunday of the 2nd, 4th,6th and 8th weeks of teaching. The obtained data were analyzed by using the One Way Analysis of Variance and Newman-keuls methods. It was found that three were no playing tennis abilities difference between teaching by weight and non-weight training methods and each group was significantly increased the ability of playing tennis at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17984
ISBN: 9745611514
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namchai_Le_front.pdf329.84 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_ch1.pdf279.08 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_ch2.pdf368.54 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_ch3.pdf248.8 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_ch4.pdf533.37 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_ch5.pdf250.38 kBAdobe PDFView/Open
Namchai_Le_back.pdf955.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.