Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18001
Title: การพัฒนาแนวทางในการกำกับคุณภาพการให้บริการก๊าซธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรม
Other Titles: Delevepment of natural gas service quality requlation guidelines for industries
Authors: วุฒิภูมิ ศรีวิชา
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@chula.ac.th
Subjects: ก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมก๊าซ -- บริการลูกค้า -- การควบคุมคุณภาพ
Natural gas
Gas industry -- Customer services -- Quality control
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาดัชนีวัดผลการดำเนินงานหลักที่มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ และสามารถสะท้อนถึงคุณภาพการให้บริการก๊าซธรรมชาติ สำหรับภาคอุตสาหกรรมของบริษัทกรณีศึกษา รวมทั้งยังใช้ดัชนีในการกำกับดูแลและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทกรณีศึกษาอีกด้วย การวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาและรวบรวมดัชนีวัดผลการดำเนินงานของบริษัทกรณีศึกษาและของต่างประเทศ และจำแนกดัชนีที่ได้ออกเป็น 4 มุมมอง ตามแนวคิดของสหภาพยุโรป ได้แก่ คุณภาพ ความต่อเนื่อง ความเชื่อถือได้ และความพึงพอใจของลูกค้า พร้อมทั้งเทียบเคียงดัชนีจนได้ดัชนีทั้งหมด 83 ตัว จากนั้นจึงจัดทำแบบสอบถามเพื่อใช้ในการสอบถามความคิดเห็นจากคณะผู้บริหารของบริษัทกรณีศึกษา และใช้ในการคัดเลือกดัชนีในแต่ละมุมมองภายใต้เกณฑ์หลัก 2 เกณฑ์ คือ เกณฑ์ด้านความเหมาะสมกับองค์กร และเกณฑ์ความพร้อมของข้อมูล โดยมีการประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์ ในการจัดลำดับความสำคัญของมุมมองและเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกดัชนี และประมวลผลโดยใช้โปรแกรม Super decisions 2.0.8 จนกระทั่งได้ดัชนีที่ครอบคลุมมุมมองทั้ง 4 มุมมอง จำนวน 28 ตัว จากนั้นจึงนำดัชนีดังกล่าวไปสอบถามความคิดเห็นจากคณะผู้บริหารของบริษัทกรณีศึกษาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำการสุ่มทดลองประเมินคุณภาพการให้บริการก๊าซธรรมชาติที่โรงไฟฟ้า 1 แห่ง และโรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง หลังจากที่ได้ปรับดัชนีและเกณฑ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้ดัชนีวัดผลการดำเนินงานหลักสำหรับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 10 ตัว และสำหรับใบอนุญาตค้าปลีกก๊าซธรรมชาติผ่านระบบจำหน่ายก๊าซธรรมชาติจำนวน 10 ตัว ซึ่งมีความเหมาะสมและได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน
Other Abstract: To develop key performance indicators (KPIs) suitable for practicing and reflecting natural gas service quality for industrial sectors of the studied company. It also includes the existing controlling and evaluating indices of the studied company to be synchronized with the company’s goals. The research starts with studying and collecting all related KPIs of both studied company and comparable global practices, which leads to the next step to categorize them to four aspects based on EU’s concept; i.e., quality, continuity, reliability, and customer satisfaction. As a result of the benchmarking, the 83 indicators are selected and obtained to derive questionnaire used for respresenting the director’s opinions and refining indicators specialized for each aspect fallen within 2 main criteria, which are consistency of the organization and readiness of the data. The analytic network process (ANP) is then employed to prioritize and support robust multicriteria decision-making, which is compiled by Super Decisions 2.0.8 resulting 28 indicators covering four aspects as stated earlier. These indicators are then used for seeking the opinions from the directiors of the companies. In addition, sampling assessments are conducted on one power plant and one manufacture. Having gone through these processes, the indicators are systematically amended. Finally, both wholesale distributor license and retail distributor license have 10 similar KPIs which are applicable and acceptable in views of all related parties.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18001
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wuttipoom_sr.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.