Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18033
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย-
dc.contributor.authorชาวิช ฉายปัญญาเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-17T01:32:14Z-
dc.date.available2012-03-17T01:32:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18033-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractแนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยโค-เฮาส์ซิ่ง เป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่สมาชิกมีเจตนารมณ์ในการอยู่อาศัยร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบการอยู่อาศัยตั้งแต่การออกแบบ มีการจัดพื้นที่ใช้สอยบางอย่างให้ใช้ร่วมกัน และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โค-เฮาส์ซิ่ง เกิดขึ้นที่ประเทศเดนมาร์ก และขยายไปในหลายๆ ประเทศ ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้ความสนใจของทางภาครัฐฯ และภาคเอกชน ที่กำลังศึกษาและพัฒนาโครงการ โครงการเท็น แบงคอค ซึ่งเป็นโครงการที่มีการร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง และร่วมกันอยู่ของกลุ่มบุคคลที่เป็นสถาปนิกและเพื่อนกัน จำนวน 8 ครอบครัว สมาชิกแจ้งว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งมีความแตกต่างกันหลายด้าน เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิต ความต้องการของที่อยู่อาศัย ฐานะทางด้านการเงิน เป็นต้น ด้วยความแตกต่างของสมาชิกในโครงการแต่สามารถพัฒนาโครงการจนแล้วเสร็จ และที่สำคัญอีกประการคือ เป็นรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบโค-เฮาส์ซิ่ง โครงการแรกในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และกระบวนการดำเนินงาน โครงการเท็น แบงคอค โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารข้อกำหนดกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับโค-เฮาส์ซิ่ง สำรวจและเก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์แบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. สมาชิกของโครงการ 2. ตัวแทนของหน่วยงานผู้ที่กำลังพัฒนาโครงการโค-เฮาส์ซิ่งอื่นๆ และ 3. นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดในการพัฒนา ได้แก่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกการขอสินเชื่อพัฒนาโครงการไม่ผ่าน ปัญหาข้อจำกัดของกฎหมาย ปัญหารูปแบบในการขออนุญาตก่อสร้าง และปัญหาการจัดการนิติกรรมให้สมาชิกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ของตนได้ เป็นต้น ส่วนปัญหาที่มีความสำคัญที่พบอีกด้าน ในขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานคือ ช่วงของงานก่อสร้างที่สมาชิกเลือกที่จะดำเนินงานด้านการก่อสร้างเอง พบว่าขาดประสบการณ์ในด้านบริหารงานก่อสร้าง ทั้งนี้สรุปผลภาพรวมของการดำเนินงานได้ว่า ผู้พัฒนาโครงการมีความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นนำประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนที่ดีมาใช้ แต่ขาดประสบการณ์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งพบข้อจำกัดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย และสถาบันการเงินไม่เข้าใจรูปแบบการพัฒนาโครงการโค-เฮาส์ซิ่ง อย่างไรก็ตามคุณค่าในการพัฒนาโครงการที่สำคัญที่ควรนำไปใช้ต่อไปคือ การนำขั้นตอนการออกแบบมาใช้เป็นกิจกรรมหลักในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิก การนำความรู้ในการพัฒนาชุมชน และการออกแบบสถาปัตยกรรมมาใช้ในการบริหารสถานที่ก่อสร้าง และที่พักอาศัยของผู้ร่วมงานก่อสร้าง โดยคำนึงถึงการมีวิถีชีวิตที่พึ่งพากัน และส่งเสริมให้บุคลากรที่ร่วมงาน และครอบครัวสามารถพัฒนาวิถีได้อย่างสร้างสรรค์en
dc.description.abstractalternativeCo-housing refers to a type of collaborative housing in which residents are involved in determining their living conditions, starting from the design process to the development of communal areas, in order to create a good neighborhood. This concept originated in Denmark and later spread to several other countries. In Thailand, the Ten Bangkok Project, also influenced by the idea of co-housing, has been co-constructed and shared by a small group of eight families made up of architects and friends. The residents said they reflected the middle class with varying lifestyles, housing needs, and financial status. Despite such dissimilarities, the successful completion of the project interests many public and private organizations. This study aims to examine the concept and operation process of the Ten Bangkok Project. A literature review was conducted on documents related to co-housing laws and regulations. The data were then collected through surveys and interviews with three groups of subjects: 1) the residents, 2) representatives from other organizations developing a similar project, and 3) housing academics/ experts. The research results indicate various problems and limitations such as a change in the number of residents, declined credit, limitations in terms of laws, permission for construction, and the legal process of transferring the rights of ownership to the residents. Another significant problem was the residents often chose to take responsibility for the construction themselves. Overall, it can be concluded that despite lacking a real estate background, the project management team was creative as well as had the determination to use its community development experience. Also, legal organizations and financial institutions did not understand the concept of co-housing development. Nevertheless, the findings reveal two important aspects about co-housing that can be used as guidelines for developing other projects as follows. First, the design process can serve as an activity to create collaboration among residents. Second, the application of knowledge of community development and architectural design in the construction of residences should take the interdependence of lifestyles into consideration as well as help the personnel and families involved in the process to develop their lives creativelyen
dc.format.extent5765699 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.856-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ไทยen
dc.subjectโครงการ เท็น แบงคอคen
dc.titleการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โค-เฮาส์ซิ่ง (Co-housing) ในประเทศไทย กรณีศึกษาโครงการ เท็น แบงคอค (Ten Bangkok)en
dc.title.alternativeThe development of co-housing project in Thailand : a case study of the "Ten Bangkok" projecten
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBanasopit.M@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.856-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chawit_ch.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.