Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18067
Title: การปรับตัวด้านการอยู่อาศัยของข้าราชการและพนักงานของรัฐที่ย้ายมายัง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
Other Titles: Housing adaptation of civil servants and government employees who moved to work in the Government Complex Commemorating His Majesty the King's 80th Birthday Anniversary
Authors: ธนิกพันธุ์ รัตนโสภาจิรสิน
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Banasopit.M@Chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานราชการแบบเบ็ดเสร็จหรือที่เรียกว่า One stop service มีการรวมหน่วยงานราชการต่างๆ มาไว้ที่นี่ เมื่อมีการย้ายสถานที่ทำงานของหน่วยงานต่างๆ มายังศูนย์ราชการฯ แล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อบุคลากรภายในหน่วยงานที่จะต้องย้ายสถานที่ทำงานตามไปด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบที่บุคลากรได้รับ และการปรับตัวด้านการอยู่อาศัยรวมถึงความต้องการด้านที่อยู่อาศัย โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่างจากบุคลากรของหน่วยงานที่ย้ายมาครบ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ สำนักงานศาลปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานกิจการยุติธรรม โดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. บุคลากรที่ย้ายมาศูนย์ราชการฯ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มระดับปฏิบัติการ มีประมาณ 89% ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-35 ปี และมีสถานภาพโสด มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน (2) กลุ่มระดับบริหาร มีประมาณ 11% ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และแต่งงานมีครอบครัวแล้ว มีรายได้ระหว่าง 35,000–54,00 บาทต่อเดือน 2. ปัญหาและผลกระทบที่บุคลากรได้รับอันเนื่องมาจากการย้ายที่ทำงาน 5 อันดับแรก คือ (1) มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (55.75%) (2) ใช้ระยะเวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น (50.75%) (3) มีระยะทางการเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานไกลขึ้น (45.25%) (4) ได้รับความสะดวกในการเดินทางน้อยลง (33.25%) และ (5) มีเวลาว่างจากการทำงานน้อยลง (25.25%) 3. วิธีการปรับตัวจากผลกระทบที่ได้รับ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1) ย้ายที่อยู่อาศัยตามที่ทำงานและคาดว่าจะย้ายที่อยู่อาศัย และ 2) ไม่ย้ายที่อยู่อาศัย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 43:57 ซึ่งการปรับตัวโดยย้ายที่อยู่อาศัยไปใกล้ที่ทำงานแล้ว และคาดว่าจะย้ายที่อยู่อาศัยของกลุ่มระดับปฏิบัติการ : กลุ่มระดับบริหาร คิดเป็นร้อยละ 44:31 จะเห็นว่าระดับปฏิบัติการมีการย้ายที่อยู่อาศัยมากกว่ากลุ่มระดับบริหาร โดยกลุ่มระดับปฏิบัติการที่ย้ายมาแล้วส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด และย้ายมาลักษณะเช่าที่อยู่อาศัย ส่วนระดับบริหารนั้นย้ายมาทั้งครอบครัวในลักษณะซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ส่วนกลุ่มที่ไม่ย้ายที่อยู่อาศัย มีการปรับตัวโดยการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน และพฤติกรรมการเดินทาง และมีบางส่วนที่จะขอย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่น (4.50%) รวมถึงลาออกจากงาน (3.20%) 4. ด้านความต้องการด้านที่อยู่อาศัย กลุ่มระดับบริหารต้องการให้องค์กรทำข้อตกลงกับโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียง เพื่อให้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาต่ำกว่าปกติ โดยสามารถผ่อนได้เดือนละ 5,000–20,000 บาท ส่วนระดับปฏิบัติการต้องการให้องค์กรสร้างที่อยู่อาศัยให้พนักงานเช่าหรือซื้อในราคาถูก และมีเงินช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยเป็นรายเดือน โดยกลุ่มนี้สามารถจ่ายค่าที่อยู่อาศัยได้เดือนละ 2,500–5,000 บาท จากการปรับตัวด้านที่อยู่อาศัยของบุคลากรทั้ง 2 กลุ่ม จะเห็นว่ามีถึง 43% ที่ต้องย้ายที่อยู่อาศัยตามที่ทำงาน และประมาณ 8% ที่จะย้ายที่ทำงานหรือลาออก ดังนั้นการช่วยเหลือระยะสั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดหาที่อยู่อาศัยในลักษณะเช่าให้กับบุคลากรที่มีรายได้ค่อนข้างน้อย และเจรจากับโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยโดยรอบในเรื่องของข้อตกลงพิเศษ ให้กับกลุ่มที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และในอนาคตหากจะมีโครงการลักษณะนี้เกิดขึ้น หน่วยงานควรมีการศึกษารวมถึงการเตรียมการและวางแผนด้านที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากร ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับความต้องการและช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้กับบุคลากร
Other Abstract: The Government Complex Commemorating His Majesty the King’s 80th Birthday anniversary is a one stop government service centre which amalgamates several different government organizations. This amalgamation could have an impact on those who work in those government departments in that they must move to work in the new offices (Complex). The objectives of this study were to investigate the problems of and the impacts on those civil servants and government employees as well as their responses to housing conditions at the new location. A survey of 400 subjects consisting of civil servants and government employees working for the government at the Complex, namely for the Office of the Administrative Court, Community Development Department, the Office of the Consumer Protection Board, and the Office of Justice Affairs for one year, was conducted. Results of the study show that: 1. The civil servants and government employees working at the Complex belonged to two groups 89% of which were the working staff and 11% belong to the administrative staff. The working staffs were typically single, aged 31–35 and had a monthly income of not over 15,000 baht. The administrative staff were typically married, had an average age of 45 and a monthly income of 35,000–45,000 baht. 2. The top five problems experienced by staff from moving to the Complex included an increase in expenses (55.75%), a longer time for commuting (50.75%), a longer distance (45.25%), less convenience working at the new location (33.25%) and less free time after work (25.25%). 3. There were essentially two responses to the new work location: some staff moved or expected to move to live close to the Complex while others chose not to move at a ratio of 43:57. The ratio of the working staff to administrative staff that chose to or expected to move near the office was 44:31. This means that more of the working staff than the administrative staff moved to live near the new office. The majority of the working staff who had moved to live close to the office was single and lived in rented accommodation whereas most of the administrative group moved to a newly purchased home for the whole family. Those government officials and employees who chose not to move had to change their commuting habits; some of them requested to work in another office (4.50%) and some resigned from their positions (3.20%). 4. Regarding housing needs, the administrative staff suggested that their organization have an agreement with a housing project so that they could purchase a property at a more reasonable price with a monthly mortgage cost of 5,000–20,000 baht. The working staff suggested that their organization should launch a housing project so that they could buy or rent with a regular monthly subsidy for housing expenses. They expected to pay 2,500–5,000 baht per month rent. As has been shown, fully 43% of staff had moved to live near the Complex while 8% chose to work in another office or resign. Therefore, for short-term support, the responsible organizations should provide accommodation to enable those with lower incomes to rent and they should come to an agreement with nearby housing estates to provide special offers for those who prefer to purchase a home. In the future, if such projects are launched, the organizations involved should conduct a study to establish a housing plan for their personnel in order to meet the demand of staff for adequate housing and to reduce any problems as a consequence.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18067
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanikphan_ra.pdf13.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.