Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18092
Title: | ปัญหาการบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุข : ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการประสานงานระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขกับโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค |
Other Titles: | Administrative problems of the Ministry of Public Health : a case study of coordination between the office of the under-secretary of State and the Provincial Hospitals |
Authors: | วันสุรีย์ พรหมภัทร |
Advisors: | พนม ทินกร ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | กระทรวงสาธารณสุข |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แรงดลใจสำคัญที่ทำให้ผู้เขียนเกิดความมุมานะสร้างสรรค์วิทยานิพนธ์ ฉบับนี้ก็คือการตระหนักถึงความสำคัญของการประสานงานในการบริหาร และเห็นว่าปัญหาการประสานงานเป็นปัญหาที่สำคัญมากภายในระบบราชการไทย แต่มีผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก ผู้เขียนได้เจาะจงเฉพาะปัญหาการประสานงานระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุขกับโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคมาเป็นกรณีศึกษา โดยเชื่อว่ากระทรวงสาธารณสุขน่าจะเป็นตัวแทนของระบบราชการไทยได้และการศึกษาปัญหาดังกล่าวน่าจะให้ความสำคัญ แก่หน่วยงานของรัฐในส่วนภูมิภาคให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและของรัฐบาลด้วย ฉะนั้นการศึกษาจึง เกี่ยวกับสาระสำคัญของหลักการประสานงานในระบบราชการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการประสานงาน (ความหมาย, หลักการ, จุดมุ่งหมาย, รูปแบบ, วิธีดำเนินการเพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดี และประโยชน์) และความสัมพันธ์ระหว่างการประสานกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต่อจากนั้นจึงศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข, กองการเจ้าหน้าที่และโรงพยาบาลจังหวัด โดยพิจารณาจากโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ และในส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน แล้วจึงใช้ประสบการณ์ จากการเป็นข้าราชการในสังกัดกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขและความคิดเห็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ตลอดจนนักวิชาการที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับการบริหารของกระทรวงสาธารณสุข มาสรุปปัญหาการประสานงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลระหว่างกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขกับโรงพยาบาลจังหวัด อย่างไรก็ตาม เพื่อสนับสนุนข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวง ผู้เขียนจึงออกแบบสอบถามเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ และศึกษาวิเคราะห์ว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปมีความคิดและพฤติกรรมต่อปัญหานี้แตกต่างกันเพียงใด เมื่อคำนึงถึงอายุราชการ, อายุการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ บริหารงานทั่วไป, การศึกษา, ฐานะของโรงพยาบาลจังหวัดที่เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปประจำอยู่และระดับความสำพันธ์แบบไม่เป็นทางการที่เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปมีต่อกองการเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้โดยใช้วิธีการหาค่าสหสัมพันธ์ (correlation) สรุปผลวิจัยได้ว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวนี้ มีอิทธิพลในการกำหนดความคิดและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปที่มีต่อปัญหาการประสานงานระหว่างกองการเจ้าหน้าที่กับ โรงพยาบาลจังหวัดมากน้อย เรียงตามลำดับคือ ฐานะของโรงพยาบาลจังหวัด (r_ss= 0.82) ระดับความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการกับกองการเจ้าหน้าที่ (r_s= 0.80) อายุราชการ (r_s= 0.67) ระดับการศึกษา (r_s= 0.45) และอายุการดำลงตำแหน่ง (r_s= 0.31) นอกจากนี้ยังเห็นว่ามีปัญหาการประสานงานระหว่างกองการเจ้าหน้าที่กับโรงพยาบาลจังหวัดทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการวางแผน, การติดต่อสื่อสาร, การประสานงานความคิดเห็น, การควบคุมและการเสริมสร้างกำลังใจและการบำรุงขวัญ อย่างไรก็ตามแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่นอกเหนือขีดความสามารถและอำนาจหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ รวมทั้งนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย การแก้ไขปัญหาจึงควรดำเนินการในระดับกระทรวง และประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด |
Other Abstract: | The realization on the importance of the coordination in administration affairs and knowing that it is the most important problem in the Thai bureaucracy system which interes¬ting very few people to study is the significant inspiration for the editor to research and produce this thesis. Believing that the Ministry of Public Health can be an instance of the Thai bureaucracy system, this thesis specifies to study it by raising the coordination problems between the office of the Under-Secretary of State and the provincial hospitals as a case study, and also emphasizes on the governmental local agencies to support the policy of the Ministry of Public Health and the government as well. In this circumstance, this thesis concerns the significant substances of coordinating principle in the bureaucracy system (together with its meaning, principle, purpose, model, methods for any benefits and bensfitial coordination) as well as the relationship between coordination and the regulation of the governmental administration. Then, it continues studying the relationship between the office of the Under-Secretary of State, the Personnel Divison and the provincial hospitals by considering the structure and authority of each agency relevant. Next, the editor's experience from being as a government official in the Personnel Division will be applied together with the viewpoints interviewed from the experts in this field and the technicians. interested in the administration of the Ministry of Public. Health to find out coordination problems in regards to personnel administration between the Personnel Division of the office of the Under-Secretary of State and the provincial hospitals. However; in order to find more details to support this thesis, the editor has given a lot of inquiry forms to the officers throughout provincial hospitals in the country, con¬cluding them and anslizing the officers' opinions and behaviors towards the problems variably by using correlation method. It can be concluded that the 5 independent variables: years of employment, duration of work in their position, their educations, the status of the provincial hospitals where they station and the informal relationship level of the officers towards the Personnel Division have influence over the officers' opinions and behaviors under the coordination problems between the Personnel Division and the provincial hospitals which varied respectively: the status of the provincial hospitals (r_s= 0.82), the level of informal relationship with the Personnel Division (r_s= 0.80), years of employment (r_s= 0.67), level of education (r_s= 0.45) and duration in the position(r_s= 0.31). In addition, it shows the problems occurring between the Personnel Division and the provincial hospitals in every respect; not only planning, communication, opinions, controlling, morale, but also motivation. Anyhow, the solution of this problem is beyond the capacities and authorities of the Personnel Division as it concerns directly the orders and rules in bureaucracy, including the policy of the Ministry of Public Health itself. The solution should be emphasized on the Ministry level and coordination with all government agencies concerned. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18092 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wansuree_Pr_front.pdf | 468.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch1.pdf | 542.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch2.pdf | 764.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch3.pdf | 674.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch4.pdf | 741.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch5.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_ch6.pdf | 480.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wansuree_Pr_back.pdf | 761.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.