Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18102
Title: ความขัดแย้งในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนม
Other Titles: Role conflicts of the elementary school principals in Nakhon Phanom province
Authors: ธีระวุฒิ เจริญราษฎร์
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ครู
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความขัดแย้งในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนม สมมติฐานของการวิจัย ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา มีความขัดแย้งในบทบาท เนื่องมาจากความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่ ของผู้บริหารการศึกษา ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษา จำนวน ๓๕ คน ครูใหญ่จำนวน ๑๘๓ คน และครูจำนวน ๓๐๐ คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก หรือขั้น (Stratified random sampling) รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น ๕๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่าที่สร้างขึ้นเองตามความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนครพนม ๓ ด้าน คือ บทบาทนักวิชาการ นักบริหาร และนักพัฒนาชุมชน แบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน ๕๑๘ ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน ๔๘๖ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๘๒ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบโดยใช้ค่าที เอฟ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ’ สรุปผลการวิจัย ๑.ผู้บริหารการศึกษา ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม มีความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ในบทบาทนักวิชาการ นักบริหารและนักพัฒนาชุมชนอยู่ในระดับสูง ๒.ผู้บริหารการศึกษา ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนม ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม มีความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ในบทบาทนักวิชาการ นักบริหารและนักพัฒนาชุมชน แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ปรากฏว่าครูมีความคาดหวังในในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ในบทบาทนักวิชาการ นักบริหารและนักพัฒนาชุมชน แตกต่างไปจากครูใหญ่และผู้บริหารการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนระหว่างครูใหญ่และผู้บริหารการศึกษา มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน แสดงว่า ครูใหญ่โรงเรียนโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม มีความขัดแย้งในบทบาทนักวิชาการ นักบริหาร และนักพัฒนาชุมชน เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนมในบทบาทต่างๆ ปรากฏผลดังนี้ ๒.๑ บทบาทนักวิชาการ ปรากฏว่า ผู้บริหารการศึกษา ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม มีความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนมในบทบาทนักวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ปรากฏว่า ครูมีคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนมในบทบาทนักวิชาการ แตกต่างจากครูใหญ่ และผู้บริหารศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนระหว่างครูใหญ่ และผู้บริหารการศึกษา มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน แสดงว่า ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนม มีความขัดแย้งในบทบาทนักวิชาการ ๒.๒ บทบาทนักบริหาร ปรากฏว่า ผู้บริหารการศึกษา ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม มีความคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนมในบทบาทนักพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ปรากฏว่า ครูมีคาดหวังในบทบาทของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนมในบทบาทนักพัฒนาชุมชนแตกต่างจากครูใหญ่และผู้บริหารศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนระหว่างครูใหญ่กับผู้บริหารการศึกษา มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน แสดงว่า ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครพนม มีความขัดแย้งในบทบาทนักพัฒนาชุมชน
Other Abstract: Purpose of the Study The purpose of this study was to study role conflicts of the elementary school principals in Nakhon Phanom Province. Methods and Procedures The sampling used in this research was composed of three groups of persons : 35 administrators, 183 principals, and 300 teachers, totaling 518 by means of stratified random sampling technique. The instrument used was a rating scale questionnaire constructed in the areas of educational leader, administrator, and community developer, to measure the role expectations of the elementary school principals. A total of 518 questionnaires were sent out and 486 or 93.83 percent were completed and returned. The statistical treatment included percentage, arithmetic mean standard deviation, F-test and the comparisons of means with Scheffe’s Method. Finding and conclusions 1. Administrators, principals, and teachers of elementary schools in Nakhon Phanom Province had a high level of role expectations of the principals as educational leaders, administrators and community developers. 2. Expectations hold by the mentioned groups for the principals’ roles as educational leaders, administrators and community developers were significantly different at the .01 level. The comparisons of the means of scores for the above mentioned roles between the pair of teachers and principals, and the pair of teachers and administrators indicated a significant difference at the .05 level, but indicated no significant difference between principals’ and administrators’ expectations. It was concluded that the elementary school principals had role conflicts as educational leaders, administrators and community developers. In comparing administrators’, principals’ and teachers’ expectations for the roles of the principals’ this study also indicated that : 2.1 Expectations held by the mentioned groups for the principals’ roles as educational leaders were significantly different at the .01 level. For this role, the comparison for the mean of scores between the pair of teachers and principals, and the pair of teachers and administrators indicated a significant difference at the .05 level, but indicated no significant difference between principals’ and administrators’ expectations. It was concluded that the elementary school principals had role conflicts as educational leaders. 2.2 Expectations held by the mentioned groups for the principals’ roles as administrators were significantly different at the .01 level. For this role, the comparison for the mean of scores between the pair of principals and administrators indicated a significant difference at the .05 level, but indicated neither significant difference between teachers’ and principals’ expectations nor teachers’ and administrators’ expectations. It was concluded that the elementary school principals had role conflicts as administrators. 2.3 Expectations held by the mentioned groups for the principals’ roles as community developers were significantly different at the .01 level. For this role, the comparison of the mean of scores between the pair of teachers and principals and the pair of teachers and administrators indicated a significant difference at the .05 level, but indicated no significant difference between principals’ and administrators’ expectations. It was concluded that the elementary school principals had role conflicts as community developers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18102
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerawoot_Ja_front.pdf694.47 kBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_ch1.pdf534.72 kBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_ch2.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_ch3.pdf363.21 kBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_ch4.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_ch5.pdf686.53 kBAdobe PDFView/Open
Teerawoot_Ja_back.pdf867.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.