Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18121
Title: ปัญหาการบริหารจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน
Other Titles: Problems of property tax administration
Authors: ธิดา เพียรอุสาหะ
Advisors: ไพจิตร โรจนวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษีทรัพย์สิน
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาษีทรัพย์สินเป็นภาษีที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีได้คาดคะแนไว้ว่า ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขภาษีประเภทนี้กันอย่างรีบด่วน และจริงจังแล้ว องค์การที่จัดเก็บภาษีประเภทนี้จะเข้าลักษณะถดถอยเข้าคลอง ความจริงปัจจุบันนี้ได้มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศไทยอยู่แล้ ว ซึ่งเรียกว่า ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บเอง วิธีการจัดเก็บเท่าที่ผ่านมาประสบปัญหาเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดการตีราคาทรัพย์สินที่ไม่เป็นธรรมขึ้น ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในปัจจุบัน มีข้อบกพร่องหลายประการ กล่าวคือ ๑. ระเบียบเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินยังไม่เป็นมาตรฐานโดยทั่วไป บางแห่งการตีราคาทรัพย์สินอยู่ภายใต้บังคับของผู้มีอำนาจที่จะกำห นดวิธีการปฏิบัติสำหรับท้องถิ่นนั้น ก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ๒.การจัดเก็บภาษียังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทุกๆปีจะมีภาษีคงค้างเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบและการควบคุมการหลีกเลี่ยงยังไม่มีการปฏิบัติอย่างมีป ระสิทธิภาพ จำนวนของผู้เสียภาษียังเท่าเดิมทุกๆปี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วจะต้องเพิ่มขึ้นทุกๆปี เนื่องจากการเพิ่มของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีอยู่เรื่อยๆ ๓.ในบางท้องถิ่น งบประมาณรายจ่ายมากกว่ารายได้จากภาษีอากรประเภทนี้ ๔.อัตราภาษีและฐานของภาษีทั้งสอง ยังไม่เป็นธรรมสำหรับผู้เสียภาษี ผู้มีรายได้น้อยเสียภาษีมากกว่าผู้มีรายได้มาก จากข้อบกพร่องดังกล่าว ควรจะต้องมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน การศึกษาเรื่องนี้จะนำเอาหลักการบริหารการจัดเก็บของต่างประเทศ มาเป็นแนวทาง และพยายามปรับปรุงระบบงานเหล่านั้นให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อ มของประเทศไทย หลังจากได้ปรับปรุงภาษีแล้วจะมีผลให้ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม มีอัตราส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากขณะนี้รายดได้จากภาษีทางอ้อมมากกว่าภาษีทางตรง การปรับปรุงเช่นนี้จะเป็นผลดีสำหรับประเทสที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ การปรับปรุงภาษีใหม่ยังเป็นการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้นกว่าเดิม โดยภาษีใหม่นี้จะจัดเก็บจากบ้านพักอาศัยด้วย และจะมีผลทำให้ที่ดินมีราคาถูกลง เกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของประเทศส่วนใหญ่จะได้เป็นเจ้าขอ งที่ดินมากขึ้น ทำให้มีการตื่นตัวทางเกษตรกรรม ที่ดินจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตมากขึ้นดังนั้นการปรั บปรุงภาษีใหม่จะเป็นก้าวใหม่แห่งนโยบายภาษีของรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภาษีทรัพย์สินเป็นภาษีที่ควรจะต้องมีการศึกษาค้นคว้า และวิจัย เนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ เป็นต้นว่า การกำหนดอัตราภาษีอย่างไรจึงจะเป็นธรรมสำหรับสังคม การใช้อัตราก้าวหน้าหรืออัตราเดี่ยวจะให้ผลดีกว่า และอัตรานั้นๆ จะใช้ได้เหมาะสมทั่วราชอาณาจักรหรือไม่ ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ การตีราคาทรัพย์สิน ซึ่งราคาของทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป และเป็นการยากที่จะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของเจ้าของทรัพย์สินม ารวมไว้ในปัญชีเดียวกัน ดังนั้นการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินจึงเป็นภาษีที่ยุ่งยากในการบริหาร ซึ่งปัญหาต่างๆ จะได้หยิบยกขึ้นเป็นข้อวิจารณ์ในวิทยานิพนธ์นี้ต่อไป
Other Abstract: Property tax has been receiving much criticism. Some exports predicted that, unless greatly and, indeed, promptly improved, this fiscal policy will be destined for early oblivion. Actually at present, the property tax is in force in Thailand, namely the Local Development tax and House and Land tax. These two taxes are collected by the local government. Since there are many problems concerning the administration of the two taxes as well as the question on the justice of the appraisal methods, these should be some reform regarding these two taxes. The present property taxes also have many shortcomings, namely :- 1) The appraising procedure is not up to standard. In some places, the appraisal is still under the control of a politician which could cause unjust practices to the community. 2)Tax collection procedure is inefficient. There are a large amount of uncollected tax every year. Tax audit and tax avoidance control are not carried out efficiently. The numbers of the taxpayers are the same every year, while actually these should increase to a certain extent due to an ever increasing property owners. 3)Spending budgets of some local governments are larger than the tax receipts. 4)Both tax rates and tax base of the existing property tax seem to cause injustice to taxpayers. The lower income group pays more tax than the higher income group. Due to the above shortcomings, the present tax calls for a reformation. The present study will probe into the tax administration of foreign countries and try to adapt those systems to the Thai administration. After the tax reform the gap between indirect and direct taxes in Thailand will be lessened, since at present the revenue from indirect tax is a lot higher than that form direct tax. It will also broaden up the present tax base because homestead is going to be included in the new tax base. This will have the effect of minimizing the land value which will be better off for those engaged in agriculture, since they will more change of possessing their own lands. Also land will be put to use in a more productive way. Thus, the tax reform will help bring a new horizon to the tax policy of the government. However the property tax still need more research, study and analysis due to its problems regarding its taxing procedure. Among these are how to set up a fair tax rate so tax equity can be realized, whether a progressive tax rate or a flat tax rate is superior ; or whether such tax rate shall apply throughout the whole kingdom. Property appraisal is another problem, since the value of property is relative. Further, it is very hard to be sure that all properties belonging to one person are completely listed. Property tax administration is thus renowned as one of the hardest tax to administer. Such problems will be discussed in detail in this thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18121
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thida_Pe_front.pdf341.07 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch1.pdf553.01 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch2.pdf447.87 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch3.pdf857.22 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch4.pdf805.27 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch5.pdf984.84 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_ch6.pdf416.08 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Pe_back.pdf440.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.