Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18165
Title: ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of problem-based learning on web with different types of scaffolding upon science subject learning achievement of ninth grade students
Authors: ศศิวรรณ ชำนิยนต์
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Praweenya.S@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Problem-based learning
Science -- Study and teaching (Secondary)
Academic achievement
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บ ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกันในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนจากการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บ ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกันในรายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดพุทธบูชา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 38 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มละ 19 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพแบบปรับเปลี่ยน กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพแบบคงที่ โดยจัดให้ทุกกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เว็บที่ใช้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีรูปแบบการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกัน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพในในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีความคิดเห็นต่อการใช้ห้องสนทนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของการช่วยเสริมศักยภาพแบบปรับเปลี่ยนซึ่งจัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน นักเรียนมีความคิดเห็นเรียงตามลำดับ ดังนี้ (1) ตอบสนองความต้องการของนักเรียนได้ มากที่สุด (2) ช่วยให้การเรียนเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น (3) ช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนประโยชน์ของการช่วยเสริมศักยภาพแบบคงที่ซึ่งได้จัดเตรียมไว้ให้บนเว็บ นักเรียนมีความคิดเห็นเรียงตามลำดับ ดังนี้ (1) แหล่งเรียนรู้ออนไลน์เพิ่มเติมและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระช่วยให้การเรียนเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น (2) รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เพิ่มเติมตอบสนองความต้องการของนักเรียนได้ และ (3) แหล่งเรียนรู้ออนไลน์เพิ่มเติมและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
Other Abstract: To 1) compare the science subject learning scores between the students studied in problem-based learning on web with different types of scaffolding 2) study the opinions of students about using problem-based learning and scaffolding on web. The samples were 38 ninth grade students of Putabucha school, Bangkok. The samples were assigned into two experimental groups; 19 students in each group. The first group studied problem-based learning on web with soft scaffolding and the second group studied problem-based earning on web with hard scaffolding. The research instruments were problem-based learning on web, learning achievement test, and student opinion questionnaires. Data were analyzed using the descriptive statistics and the t-test. The major findings were as follows: 1. There was found no statistically significant difference between students who studied using soft scaffolding and hard scaffolding in problem-based learning on web towards science learning achievement at the .05 level. 2. There was found no statistically significant difference between opinions of students who studied with different types of scaffolding in problem-based learning on web at the .05 level, however, only chat room found statistically significant difference at the .05 level. And the opinions of students about the advantages of soft scaffolding provided online learner-instructor interaction were ordered as follows: (1) responding to the students' learning needs, (2) making process of problem-based learning on web easier, and (3) helping students to solve problems easier. While the opinions about the advantages of hard scaffolding were (1) the learning resource and related content pictures made process of problem-based learning on web easier, (2) the related content pictures and learning resource responded to the students' learning needs, and (3) the learning resource and related content pictures helped students to solve problems easier.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18165
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.693
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.693
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasiwan_ch.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.