Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18167
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติ สนับบุญ-
dc.contributor.authorศุภนิตย์ พุฒิโภคิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-19T11:53:29Z-
dc.date.available2012-03-19T11:53:29Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18167-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractที่มา โรคออโตอิมมูนของต่อมไทรอยด์หรือโรคภูมิคุ้มกันต่อต่อมไทรอยด์เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย2 ภาวะที่สำคัญคือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟและไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต สาเหตุของโรคในกลุ่มนี้พบว่าสัมพันธ์กับความเสี่ยงทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางพันธุกรรมที่สำคัญคือ ยีนซีทีแอลเอโฟร์พบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคดังกล่าวในหลายเชื้อชาติ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษาความสัมพันธ์ของยีนซีทีแอลเอโฟร์กับการเกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟและโรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต. วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาความชุกของการกลายพันธุ์ของยีนซีทีแอลเอโฟร์ สองตำแหน่งคือที่ เอ49จี และ ซีที60 โดยสกัดสารพันธุกรรมโดยวิธีมาตรฐานและทำการตรวจหาการกลายพันธุ์ดังกล่าวโดยวิธีโพลีเมอร์เลส เชน รีเอคชั่น เรสตริกชั่น แฟรกเมนต์ ในผู้ป่วยกลุ่มไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟจำนวน 113 คน กลุ่มโรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโตจำนวน 41 คน เปรียบเทียบกับของกลุ่มควบคุมจำนวน 113 คน ผลการวิจัย พบความชุกของอัลลีลชนิด จี ที่ตำแหน่ง เอ49จี ของยีนซีทีแอลเอโฟร์ร้อยละ 63.7 ในกลุ่มผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟเทียบกับร้อยละ 45.1 ในกลุ่มควบคุม (P = 0.005) คิดเป็นค่าความสัมพันธ์ (odds ratio=2.135, 95%CI = 1.253 - 3.639) ส่วนความชุกของอัลลีลชนิด เอ ที่ตำแหน่ง ซีที60 ของยีนซีทีแอลเอโฟร์เท่ากับร้อยละ 33.2 ในกลุ่มผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟเทียบกับร้อยละ 36.7 ในกลุ่มควบคุม(P = 0.43) สำหรับโรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโตความชุกของอัลลีลชนิด จี ที่ตำแหน่ง เอ49จี ของยีนซีทีแอลเอโฟร์เท่ากับร้อยละ 53.7 ในกลุ่มผู้ป่วยเทียบกับร้อยละ 44.8 ในกลุ่มควบคุม (P = 0.178) และความชุกของอัลลีลชนิด เอ ที่ตำแหน่ง ซีที60 ของยีนซีทีแอลเอโฟร์เท่ากับร้อยละ 62.2 ในกลุ่มผู้ป่วยเทียบกับร้อยละ 37 ในกลุ่มควบคุม(P = 0.01. สรุปผล การกลายพันธุ์ของยีนซีทีแอลเอโฟร์เฉพาะที่ตำแหน่ง เอ49จี เท่านั้นที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิดเกรฟในผู้ป่วยชาวไทย ในขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ของการกลายพันธุ์ของยีนดังกล่าวกับการเกิดโรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโตen
dc.description.abstractalternativeBackground Autoimmune thyroid disease (AITD), Graves’ disease (GD) and Hashimoto’s thyroiditis (HT), is a complex interplay of genetic and environmental factors. Recently, the cytotoxic T-lymphocyte antigen-4 (CTLA-4) gene has been reported to be increased susceptibility to AITD. Therefore, we have analyzed two CTLA-4 polymorphisms including +49G>A and CT60 in Thai patients affected with AITD. Methods We studied 113 GD, 41 HT patients and 113 healthy controls, matched for gender. The CTLA-4 +49G>A and CT60 polymorphisms were genotyped by using polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism method. Results An increase in frequency of the G allele at position 49 in exon 1 was seen in GD patients compared with control subjects (63.7% vs. 45.1%, respectively, P = 0.005; odds ratio = 2.135 (95%CI = 1.253 - 3.639); however, this finding was not observed in HT patients. No significant association was found for the CT60 polymorphism with AITD. Conclusions These results suggest that the CTLA-4 A49G polymorphism is involved the susceptibility for GD in the Thai.en
dc.format.extent3704733 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.497-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระบบภูมิคุ้มกัน-
dc.subjectต่อมธัยรอยด์ -- โรค-
dc.subjectImmune system-
dc.subjectThyroid gland -- Diseases-
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์ของยีนซีทีแอลเอโฟร์ (ที่ตำแหน่งเอ49จี) กับการเกิดโรคออโตอิมมูนของต่อมไทรอยด์en
dc.title.alternativeThe association of mutation of cytotoxic T lymphocyte-associated antigen-4 (AT A49G) and autoimmune thyroid diseaseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThiti.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.497-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supanit_pu.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.