Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18204
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: The relationship between scientific creativity and achievement in science of mathayom suksa three students of Chulalongkorn University Demonstration School
Authors: ลัดดา อุสาหะ
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความคิดสร้างสรรค์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ เชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกับกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำ และ (3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง ตัวอย่างประชากรประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมจำนวน 100 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของ ทัศนีย์ พฤกษชลธาร และแบบสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน วิเคราะห์ความแปรปรวนสองชั้น โดยแยกวิเคราะห์คะแนนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์เป็นสามด้าน คือด้านความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิดและความคิดริเริ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ในด้านความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิดมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในด้านความคิดริเริ่มมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ของกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและต่ำ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความคิดสร้างสรรค์ เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงในด้านความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านความคิดริเริ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this study was (1) to investigate the relationship between scientific creativity and academic achievement, (2) to compare the level of scientific creativity between high achievement group and low achievement group, and (3) to compare such ability between male and female students, The Subjects comprised of 100 students of Mathayom Suksa Three students of Chulalongkorn University Demonstration School. The Test of Scientific Creativity Thinking was employed. The person’s product moment correlation and the Two-way analysis of variance were applied for data analysis. Three aspects of the students creative thinking ability were analyzed, namely fluency flexibility, and originality. The major findings of this study may be summarized as Follows: 1. there was statistically significant correlation between scientific creativity and academic and flexibility at .01 levels. In reference to originality it achievement in fluency was significant at .05 level. 2. There was no statistically signficant difference, between the level of creativity of high achievement and low achievement groups at .o5 level. 3. There was no statistically significant difference, between the level of creativity of male and female students in fluency and flexibility at .05 level. In reference to originality it was significant at .01 Levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18204
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_Ut_front.pdf317.58 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_ch1.pdf289.04 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_ch2.pdf571.14 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_ch3.pdf317.85 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_ch4.pdf275.98 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_ch5.pdf369.79 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_Ut_back.pdf674.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.