Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18232
Title: ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานฟอกย้อมแบบไร้อากาศ-เติมอากาศ ด้วยสารช่วยลดสี
Other Titles: Efficiency of textile wastewater treatment by anaerobic-aerobic process using decolorant addition
Authors: ปุณณภา ธนปุณยนันท์
Advisors: ศรัณย์ เตชะเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: sarun.t@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการเอสบีอาร์
อุตสาหกรรมฟอกย้อม
Sewage -- Purification -- Color removal
Sewage -- Purification -- Sequencing batch reactor process
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม ด้วยถังปฏิกิริยาแบบแบทซ์ที่มีการเดินระบบแบบไร้อากาศ-เติมอากาศ โดยศึกษาอายุตะกอน 3 ค่า คือ 96 44 และ 29 วัน และศึกษาผลกระทบของการใส่ผงถ่านกัมมันต์ เฟอริกคลอไรด์ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อการทำงานของระบบ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์จากนมขาดมันเนย และสีชนิด Reactive Black 5 ที่มีค่าความเข้มข้นสีเริ่มต้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 7000 เอดีเอ็มไอ ค่าซีโอดีเริ่มต้น 5000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่า อายุตะกอนที่เหมาะสม คือ 29 วัน และอัตราส่วนอาหารต่อจุลชีพ คือ 0.2 วัน-1 โดยมีสีถูกกำจัดในสภาวะไร้อากาศ 0.20-0.34 เอดีเอ็มไอต่อวัน และซีโอดีถูกกำจัดในสภาวะเติมอากาศ 0.35-0.47 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรต่อวัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี 80% และสี 75% และเมื่อเติมผงถ่านกัมมันต์ความเข้มข้น 200-500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีและสีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.92% และ 18.67% ตามลำดับ การเติมเฟอริกคลอไรด์ความเข้มข้น 50-1000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า มีประสิทธิภาพการบำบัดค่าซีโอดีและสีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12.62% และ 15.51% ตามลำดับ ในส่วนของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้น 50-800 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ถังปฏิกิริยาแบบไร้อากาศ-เติมอากาศนี้สามารถกำจัดซีโอดีและสีของน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสารช่วยลดสีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายคือ ผงถ่านกัมมันต์ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร
Other Abstract: To study the efficiency of using batch reactors operating in sequential anaerobic-aerobic conditions to treat textile wastewater. Controlled sludge ages were 29, 44, and 96 days. Effects of adding conventional decolorants such as activated carbon, ferric chloride, and hydrogen peroxide were also studied. Wastewater representing textile wastewater were synthesized using non-fat milk and reactive black 5 color having initial COD of 5,000 mg/L and color of 100 mg/L or 7,000 ADMI unit. Sludge age of 29 days and F/M ratio was 0.2 day-1 was found to have the best efficiency, resulting in COD and color removal of 80% and 75%, respectively. Color was removed during anaerobic condition with a rate of 0.20-0.34 ADMI unit/day, and COD was removed during aerobic condition with a rate of 0.35-0.47 mg-COD/L/d. Addition of 200-500 mg/L activated carbon or 50-1,000 mg/L ferric chloride increased COD removal efficiency by 9.92-12.67% and color removal efficiency by 15.51-18.67%, respectively. Hydrogen peroxide was not resulted in color removal. The results showed that anaerobic-aerobic batch reactors can effectively remove both COD and color in textile wastewater treatment. Addition of 200 mg/L activated carbon achieved best efficiency and was the most cost effective.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18232
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.438
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.438
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punnapa_ta.pdf13.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.