Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1826
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล จากระบบจำแนกกิจกรรมการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี
Other Titles: Direct cost analysis in nursing service based on nursing intervention classification : a case study of Ramathibodi Hospital
Authors: กมลวรรณ จลาพงษ์, 2500-
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Veena.J@Chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนและประสิทธิผล
บริการการพยาบาล
การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล จากระบบจำแนกกิจกรรมการพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล พยาบาลจากระบบจำแนกกิจกรรมการพยาบาล ของงานการพยาบาลศัลยศาสตร์และออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างประเภทผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลทางการพยาบาล และประเภทของหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ กิจกรรมการพยาบาลทั้งหมด ที่บุคลากรพยาบาลได้ลงบันทึกในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลรามาธิบดี ในระยะเวลา 3 เดือน คือตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2545 มีจำนวนทั้งสิ้น 466,710 ระเบียนข้อมูลกิจกรรมจาก 104 กิจกรรมการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลกิจกรรมการพยาบาลประจำวัน แบบบันทึกข้อมูลอัตราเงินเดือนของบุคลากรพยาบาล แบบสำรวจราคารและอุปกรณ์ รวมทั้งประเภทของบุคลากรพยาบาล แบบบันทึกข้อมูลจำนวนบุคลากรพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในแต่ละเวร และแบบบันทึกการวิเคราะห์ต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ใฝนการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กิจกรรมการพยาบาลที่มีต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาลสูงสุด คือ รหัสกิจกรรมที่ 6320 การช่วยฟื้นชีวิต มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ทำกิจกรรม 20 นาที ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเดือน 57.48 บาท และค่าเฉลี่ยของค่าอุปกรณ์ 48.20 บาท คิดเป็นต้นทุนโดยตรงเท่ากับ 105.68 บาท และสำรวจพบว่าต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล จะสูงขึ้นหรือต่ำลงขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 4 ประการคือ อัตราเงินเดือนของบุคลากรพยาบาล จำนวนบุคลากรพยาบาลที่ทำกิจกรรมการพยาบาลในแต่ละรายการ ระยะเวลาในการทำกิจกรรมการพยาบาล และค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมพยาบาล 2. ค่าเฉลี่ยของต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล 54 รายการ กิจกรรมการพยาบาล ที่กระทำให้กับผู้ป่วย ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 4 และประเภทที่ 5 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของต้นทุนโดยตรงของการบริการพยาบาล 63 รายการกิจกรรมการพยาบาล ที่จัดกระทำในหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study used cost-identification analysis research design to study the direct cost of nursing service based on the Nursing Intervention Classification System at the Surgical-Orthopedic Nursing Department, and to compare the differences of the direct cost of nursing service between five groups of patients classification and between two types of patient wards. the sample was 104 nursing interventions collected from 466,710 recorded in the computer databases of nursing information system, Ramathibodi Hospital. They were recorded for a period of three months starting from November 1, 2001 to January 31, 2002. Research instruments included 1) daily nursing intervention record from, 2) nursing staffs' salary record form, 3) survey sheet of equipment and staff nurses categories, 4) record from on the number of staff nurse on ward duty, and 5) record form for nursing direct cost analysis. The instruments were tested for content validity. Statistical tests for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, and one way analysis of variance. Major findings were as follows: 1. Nursing intervention that had lthe highest nursing service direct cost was the nursing intervention code number 6320 : Resuscitation. The intervention used mean time of 20 minutes, mean salary of 57.48 bahts, and mean equipment cost of 48.20 bahts, which were analysed as a direct cost of nursing service 105.68 bahts. Four factors responsible for the direct cost of nursing service. They were staff nurse salary, number of staff nurse involves in carry out the intervention, time spend on the intervention and cost of equipment used in the intervention. 2. Means of nursing service direct cost for 63 nursing intervention were statistically differences between patient class I, II, III, IV, and V at the level of .05. Means of nursing service direct cost for 54 nursing intervention were statistically differences between the service provided at the general ward and the private ward, at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1826
ISBN: 9741709897
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamolvan.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.