Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18282
Title: | การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร |
Other Titles: | A follow-up study of middle-level fine arts certificate graduates in the College of Fine Arts, Department of Silpakorn |
Authors: | จันทิมา โกญจนาท |
Advisors: | สงัด อุทรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การทำงาน -- การประเมินผล วิทยาลัยช่างศิลป |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร เพื่อสำรวจสถานภาพการทำงานและศึกษาระดับความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา สำรวจความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง ของวิทยาลัยช่างศิลป และศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการพร้องทั้งข้อเสนอแนะที่มีต่อหลักสูตรและการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นกลาง วิทยาลัยช่างศิลป ในปีการศึกษา 2513-2522 จำนวน 300 คน และผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างในปัจจุบันของผู้สำเร็จการศึกษาที่ประกอบอาชีพจำนวน 110 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้บริการทางไปรษณีย์รวมทั้งติดต่อด้วนตนเองจากผู้ตอบที่สามารถติดต่อได้ในการส่งและเก็บรวบรวมแบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้สำเร็จการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 70.33 และได้รับแบบสอบถามคืนจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างคิดเป็นร้อยละ 75.45 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผู้สำเร็จการศึกษาได้ประกอบอาชีพร้อยละ 54.03 ศึกษาต่อร้อยละ 27.01 ประกอบอาชีพและศึกษาต่อควบคู่ไปด้วยร้อยละ 16.11 และว่างงานร้อยละ 2.85 ส่วนมากผู้สำเร็จการศึกษาได้ประกอบอาชีพอยู่ในหน่วยงานของเอกชน มีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ มีเพียงร้อยละ 14.86 ที่ประกอบอาชีพครู 2. ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนมากได้นำความรู้ความสามารถไปใช้การประกอบอาชีพในระดับปานกลาง ในการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานอาชีพนั้นผู้สำเร็จการศึกษาได้ประเมินตนเองโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดีและความรู้ในวิชาสามัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับพอใช้ ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างมีความพอใจในผลงานและตัวผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับสูง และได้ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานอาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับสูงทุกเรื่องด้วย 3. ผู้สำเร็จการศึกษาเห็นว่าหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลางโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ และร้อยละ 92.89 เห็นว่าควรมีการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง ซึ่งมีเรื่องที่ควรปรับปรุงคือ จุดมุงหมาย เนื้อหาวิชา การจัดการเรียน การสอน และการวัดผลการศึกษา 4. รายวิชาที่มีในหลักสูตรและมีประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ รายวิชาส่วนใหญ่ในหมวดวิชาศิลปะ ความเข้าใจภาษาอังกฤษ สนทนาภาษาอังกฤษ และวิชาจิตวิทยาส่วนรายวิชาที่มีประโยชน์ในการศึกษาต่อ ได้แก่ รายวิชาส่วนใหญ่ในหมวดวิชาศิลปะ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาจิตวิทยา 5. รายวิชาที่มีในหลักสูตรแต่ไม่มีประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้แก่ รายวิชาส่วนใหญ่ในหมวดวิชาวิสามัญและหมวดวิชาการศึกษา และบางวิชาในหมวดวิชาศิลปะ 6. รายวิชาที่ไม่มีในหลักสูตรแต่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ได้แก่ งานศิลปะประเภท Art works การถ่ายรูป การออกแบบทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการพิมพ์หนังสือการตลาดและการประเมินราคางาน เป็นต้น 7. ผู้สำเร็จการศึกษาที่ประกอบอาชีพร้อยละ 62.84 มีปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องจากการมีงานที่รับผิดชอบมากเกินไป และผู้สำเร็จการศึกษาส่วนมากได้ศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัดระหว่างศึกษาธิการ การศึกษาต่อส่วนใหญ่เป็นการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาที่ได้ศึกษาต่อเป็นส่วนมากได้แก่ ศิลปะแขนงต่างๆ และส่วนใหญ่ร้อยละ 57.06 ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการศึกษาต่อ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to provide a follow-up study of Middle-Level Fine Arts Certificate Graduates from College of Fine Arts. The study included the survey of working status and the investigation of the effectiveness of the working performance of the graduates. The study also included the survey of graduates' opinions about their working problems, their studying problems, their needs and their suggestions about the curriculum improvement. Sampling in this research had been grouped as follow: three hundred of graduates who got the Middle-Level Fine Arts Certificates, College of Fine Arts, during academic year 1970 - 1979; one hundred and ten of the employed graduates' present superiors or employers. Data were obtained by means of questionnaires through mailing or personal contact. In the process of data collection, the questionnaires sent back or responsed by the graduates and their superior or employers were 70.33 percent and 75.45 percent respectively. The data were analysed in terms of percentage, mean (x ̅) and Standard deviation (S.D.). The results were reported as follow: 1. The percentage of the graduates who were employed was 54.03; who went on higher education was 27.01; who were employed while studying was 16.11; and 2.85 percent were unemployed. Most of the graduates engaged in private companies. Those who engaged in teaching career were relatively minor at only 14.86 percent. 2. The graduates were able to apply their knowledge in their working moderately and they themselves evaluated their ability in working at the high level almost every item, except being good leadership and using of general education in working. Superiors or employers were highly satisfied of the graduates' performance, and also evaluated the graduates' ability in working at highly level. 3. The graduates' opinions concerned with Middle-Level Fine Arts Curriculum were at the fair level; and 92.89 percent of them suggested that this curriculum should be improved in objectives, contents, learning experiences, and evaluation. 4. In the Middle-Level Fine Arts Certificate Curriculum, Arts, some courses of English, and Psychology were identified as the useful subjects for working and further studying. 5. The subjects existed in the curriculum but were not useful for working performance or further studying were most of the courses of General Education, courses of Teacher Education, and some courses of Arts. 6. Subjects not existed in the curriculum but necessary for working career were art works, photography, general design, and general knowledge related to publishing, marketing and pricing of work piece, etc. 7. In working career, the 62.84 percent of the employed graduates had some problems due largely to too much job under responsibility. Most of the graduates continued their study in the educational institutions under the auspices of the Ministry of Education. Most of their studies were in the fields of various branches of arts at undergraduate level of which 57.06 percent of them had no problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18282 |
ISBN: | 9745610682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantima_Go_front.pdf | 423.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_ch1.pdf | 382.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_ch2.pdf | 874.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_ch3.pdf | 346.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_ch4.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_ch5.pdf | 424.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantima_Go_back.pdf | 709.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.