Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18284
Title: | งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลาง |
Other Titles: | The educational administrative tasks of Changwad Administration Organization Elementary Schools in Central Region |
Authors: | จันทรานี สงวนนาม |
Advisors: | สุมิตร คุณานุกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบริหารการศึกษา การศึกษาชั้นประถม |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลาง (2) เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลางโดยเฉพาะในด้านสัมพันธ์กับชุมชนงานวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักเรียน และงานธุรการโรงเรียนได้แก่ การเงิน บริการ และอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน (3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลาง และปัญหาการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภทในโรงเรียนดังกล่าวแล้ว วิธีทำการวิจัย ประชากรที่ใช้ทำการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) รวมทั้งสิ้น 24 จังหวัด และได้ถือเอาจังหวัดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกมาร้อยละ 20 ของจังหวัดที่มีอยู่ในภาคกลางทั้งหมด วิธีเลือกจังหวัดใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง (simple random sampling) เมื่อได้จังหวัดกลุ่มตัวอย่างแล้วได้ใช้วิธีสุ่มตัววิธีเดียวกันนี้เลือกโรงเรียนมาใช้ในการวิจัยร้อยละ 1 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลาง ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มประชาชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละในการเปรียบเทียบ ผลการวิจัย 1. โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคกลางส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างของระบบบริหารงาน และมีการจัดองค์กรต่างๆ ภายในโรงเรียนที่คล้ายคลึงกันโดยมีครูใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดภายในโรงเรียน มีการแต่งตั้งผู้ช่วยครูใหญ่ทำหน้าที่ฝ่ายธุรการในโรงเรียนขนาดใหญ่มากจะมีการแต่งตั้งผู้ช่วยครูใหญ่ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบุคลกร และฝ่ายบริการด้วย นอกจากนั้นเป็นครูหัวหน้าสาย ครูหัวหน้าหมวดวิชา และครูที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านอื่นๆ ที่ตามแต่ละโรงเรียนจะจัดให้มีขึ้น ครูที่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละฝ่ายจะอยู่ภายใต้การประสานงานขอหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าหมวด และจะขึ้นตรงต่อครูใหญ่ปรากฏว่าการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ในโรงเรียนมีน้อย ครูหัวหน้าหมวดวิชาที่ได้รับการแต่งตัวส่วนใหญ่ยังปฏิบัติงานไม่สมกับตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตัวเท่าที่ควร 2. ตามความเห็นของประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มที่มีต่อการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 5 ด้าน ได้แก่งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน และงานบริหารธุรการ การเงินตลอดจนบริการต่างๆ จะพบว่าประชากรทั้งสามกลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มนักวิชาการมีความเห็นต่อการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ด้านไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนกลุ่มประชาชนจะมีความเห็นในบางข้อ แตกต่างไปจากกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มนักวิชาการ อย่างไรก็ดี พอจะสรุปได้ว่าโรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติงานทุกๆ ด้านค่อนข้างมากและปฏิบัติบ่อยยกเว้นงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเท่านั้น ที่ปรากฏว่าโรงเรียนประถมศึกษายังปฏิบัติค่อนข้างน้อย 3. ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียน และปัญหางานบริการศึกษาทั้ง 5 ด้าน ของโรงเรียนดังกล่าวแล้วนั้น ปรากฏว่าโรงเรียนประถมศึกษาประสบปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหาร และปัญหางานบริหารทั้ง 5 ด้าน ที่คล้ายคลึงกัน |
Other Abstract: | purpose of this research 1. To study the organization of the administrative structure in the provincial elementary schools in the central Region. 2. To study the educational administrative tasks in such elementary schools, especially relating to public relations and academic, personnel, student services and school business affairs including budjets. 3. To study the organizational problems of the administrative structure and the problems in the educational administrative tasks in the aforementioned schools. Research Method The method for choosing the schools for this research project was as follows: A. Twenty percent of the Central Regions' 24 Provinces (excluding Bangkok) were randomly selected, resulting in 5 provinces. B. One percent of the elementary schools in each of these 5 provinces was randomly selected, resulting in a total of 16 schools. C. Printed questionnairs were given to most administrators (12.15 % of the outside and inside administrators, but only 0.87 % of the political administrators), 58.86 % of the supervisors and teachers, 28.12 % of the parent-committees at each of these 16 schools: In some cases follow-up discussions were held to clarify points. Findings: 1. The majority of the provincial elementary schools have a similar administrative structure. The principal’s responsibility is the highest; the assistant principal to business affairs is appointed by the principal. In very large schools there might also be an assistant principal for academic, personnel and student services affairs. Other personnels are heads of depart¬ments and teachers responsible for various tasks in the schools. The majority of the teachers are responsible directly to the principal; 52.51 % of the appointed heads of departments still not assuming the demands of their positions. There is only a small amount of co-operation in the school. 2. The administrative and supervisor/teacher populations had rather similar opinions concerning educational administrative tasks, but the 3rd group (the parent-committees and laymen) had some differences on some items from the first two groups. However, the conclusion is that the majority of elementary schools have frequently done quite a lot of work in all areas except school-community relations, which they have paid scant interest to. 3. The organizational of the administrative structure of such elementary schools was not systematic and well functioning. Where there are problems in educational administrative structure and tasks, the problems are similar in nature. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18284 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantranee_Sa_front.pdf | 382.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_ch1.pdf | 380.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_ch2.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_ch3.pdf | 383.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_ch4.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_ch5.pdf | 436.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantranee_Sa_back.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.