Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18285
Title: | พระพรหมในวรรณคดีบาลี และสันสกฤต |
Other Titles: | Brahma in Pall and Sanskrit Literature |
Authors: | จันทร์ศิริ แท่นมณี |
Advisors: | ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | พระพรหม |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพรหมในวรรณคดีบาลี และสันสฤต ตลอดถึงเรื่องราวของพรหมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทย ศิลปกรรมไทย และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เรื่องราวของพรหมมีปรากฏทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันคนไทยก็ยังมีความเชื่อ และสนใจเรื่องพรหมอยู่ วิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 บท คือบทที่ 1 เป็นบทนำได้กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ขอบเขตค้นคว้า และการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงความคิดเรื่องพรหมในวรรณคดีสันสฤต โดยเริ่มต้นจากพรหมในคัมภีร์ฤคเวท โดยจะกล่าวเฉพาะบทสวดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของจักวาล ซึ่งเป็นต้นเค้าความคิดเรื่องพรหมในเวลาต่อมาและอุปนิษัท รวมทั้งกล่าวถึงความคิดเรื่องพรหมในสมัยมหากาพย์และปุราณะ บทที่ 3 กล่าวถึงความคิดเรื่องพรหมในวรรณคดีบาลี ซึ่งแบ่งออกพรหมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รูปพรหม และอรูปพรหม ทั้งกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความเป็นพรหมในสถานะนั้นๆ พรหมในวรรณคดีบาลีจึงเป็นชื่อเรียกรวมของเทพ 2 กลุ่ม ซึ่งแตกต่างกันจากความคิดเรื่องพรหมในวรรณคดีสันสฤต ซึ่งมีพรหมแค่องค์เดียว บทที่ 4 กล่าวถึงพรหมในวรรณคดี ศิลปกรรมและขนบธรรมเนียมไทย ส่วนใหญ่เราได้รับจากพระพุทธศาสนา แต่ก็มีบางสิ่งที่เราได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ บทที่ 5 เป็นบทสรุป และเสนอแนะ |
Other Abstract: | It is the purpose of this thesis to conduct a research in the history and development of Brahma as represented in the Pali and Sanskrit literatures, as well as in the Thai literature, the Thai works of art, beliefs and customs. The Brahma concept is found in both Brahmanism and Buddhism and was adopted by the Thai people rather early in their history. It still prevails among the Thai people of to - day. This Thesis is divided into 5 chapters. The first chapter is introductory, stating the problem and the scope of the research. The second chapter deals with the idea of Brahma in the Sanskrit literature from the time of Rigveda onward. The particular Rigvedic hymns which are quoted in this research are mainly those on. cosmogony which gave rise to the idea of Brahma of later times. The chapter also dwells at length on the Brahma concept in the Brahmans and the Upanishads. A description of Brahma in the Epics and Puranas is also given. The third chapter is devoted to Brahma in the puli literature, in which 2 categories of Brahmas are described, namely Ru ̅pabrahma and Aru ̅pabrahma. The requirements to attain each category of Brahmahood are treated in details in this chapter. It is to be borne' in mind that Brahma in Buddhism is the generic name of two classes of beings, consequently there are a number of theresbeings, in contrast with the concept in the Sanskrit literature where Brahma is always singulars and unique. The fourth chapter deals with Brahma in the Thai literature works of arts and customs. The idea is in general derived from the Buddhist with some minor Brahmanic influences. The fifth chapter is a conclusion and suggestion for further res. earch. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาตะวันออก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18285 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantrasiri_Ta_front.pdf | 367.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_ch1.pdf | 263.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_ch2.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_ch3.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_ch4.pdf | 686.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_ch5.pdf | 236.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantrasiri_Ta_back.pdf | 312.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.