Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18332
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปารีณา ศรีวนิชย์ | - |
dc.contributor.author | เพ็ญประภา ฤทธิปัญญาวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-21T14:10:17Z | - |
dc.date.available | 2012-03-21T14:10:17Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18332 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการทุจริตคอร์รัปชันโดยเฉพาะการปฏิบัติงานในราชการมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น ทั้งรูปแบบการกระทำความผิดมีลักษณะสลับซับซ้อน การสืบสวนสอบสวนกระทำได้ยากแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป และผู้กระทำความผิดมักเลือกที่จะหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมจนคดีขาดอายุความ เป็นเหตุให้รัฐไม่สามารถนำผู้กระทาความผิดมาลงโทษได้ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะศึกษาถึงความเหมาะสมในการกำหนดอายุความคดีอาญาในคดีทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยในปัจจุบันจากการศึกษาพบว่า การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดขึ้น โดยที่กฎหมายเรื่องอายุความเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้การปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายกำหนดอายุความไว้ไม่ยาวนัก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความยากในการแสวงหาพยานหลักฐานและความร้ายแรงของความผิด ทั้งเหตุผลการกำหนดอายุความคดีอาญาดั้งเดิมก็ไม่สอดคล้องกับสภาพอาชญากรรมในปัจจุบัน โดยปัจจุบันแนวคิดเรื่องอายุความในประเทศต่างๆ ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ กำหนดให้ไม่มีอายุความในความผิดอาญาร้ายแรงบางประเภท และมีการนำมาตรการเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้ในกรณีผู้กระทาผิดหลบหนีจากการพิจารณาคดี นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้จัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ประเทศภาคีกำหนดอายุความภายใต้กฎหมายของตนให้มีระยะเวลานานขึ้นหรือให้อายุความสะดุดหยุดลงในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดได้หลบหนีกระบวนการยุติธรรม ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขอายุความคดีอาญาในคดีทุจริตคอร์รัปชัน โดยขยายอายุความให้ยาวขึ้นเป็น 20 ปี ตามอายุความสูงสุดในปัจจุบัน และนำมาตรการอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้โดยให้พนักงานอัยการสามารถยื่นคาขอต่อศาลให้หยุดนับอายุความ และให้ศาลมีอำนาจกำหนดกรอบระยะเวลาหรือกำหนดเงื่อนไขให้เจ้าพนักงานปฏิบัติในระหว่างที่หยุดนับอายุความ พร้อมกับการวางกลยุทธ์ในการบริหารงานคดีให้เหมาะสม กำหนดมาตรการตรวจสอบถ่วงดุล และมาตรการทางอาญาอื่นที่จะมาเสริมสร้างให้การดำเนินคดีอาญามีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการแก้ไขดังกล่าวต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, the proportion of corruption, particularly the abuse of conduct committed by officials or bureaus, has become increasing dramatically. The patterns of this offence are more complicated and more difficult to investigate than other general offences. It can be usually seen that the offenders choose to escape from the judicial proceedings so as to be barred by the statute of limitation. Therefore, the State cannot inflict offenders eventually. Thus, this research paper aims to study and know the proper period of limitation in the corruption cases in Thailand. According to the study, the corruption is one of the problems which have been regarded by many countries. One of the reasons is that the period of limitation in corruption case is too short which will be in contrast with the difficulty to find the evidences and the abuse of the offence. In addition, the reason to set up the old period of limitation is not up to date with the present crime. At the present, the ways of thinking of each country are becoming the same direction that it should not have the limitation in corruption cases or limitation should be interrupted when the offender escapes from the judicial proceeding. Additionally, the United Nations has created the provisions for solving corruption problems that can be seen in the Draft of UN convention against corruption A.C. 2003. The convention aims to provide provisions and enforce the Member States to harmonize such longer limitation and interrupted limitation into their domestic laws, particularly in cases that the offender escapes from the judicial proceeding. Thus, the author may suggest that the period of limitation of corruption cases, which provided in the Penal Code, should be amended. It should be extended to 20 years as maximum. The interruption of limitation should be applied by the statement of public prosecutor that can be done by filing the statement to the Courts of Justice. The courts should also have power to designate both periods and conditions of limitation so as to be enforced by the officers during the interrupted limitation. Moreover, there should be a good management, a check and balance system, or a good criminal measurement so as to enhance the criminal proceedings become more efficient. | - |
dc.format.extent | 61899630 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.258 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อายุความ -- คดีอาญา | en |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- ความรับผิดทางอาญา | - |
dc.subject | พยานหลักฐาน | - |
dc.subject | Prescription (Law) -- Criminal cases | - |
dc.subject | Corruption -- Criminal liability | - |
dc.title | อายุความในคดีอาญา : ศึกษาการกำหนดอายุความสำหรับคดีทุจริตคอร์รัปชัน | en |
dc.title.alternative | The criminal statute of limitation : a study on limitation of corruption cases | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pareena.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.258 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
penprapa_ri.pdf | 60.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.