Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18424
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ของครูภาษาอังกฤษในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of teachers of English concerning learning and teaching English as a foreign language in Bangkok Metropolis
Authors: นพมาศ รัตนปรีดากุล
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sumitra.A@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา เกี่ยวกับความสำคัญของวิชาภาษาอังกฤษโดยทั่วไป สภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน และศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ตลอดจนหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วยครูภาษาอังกฤษโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ ระดับมัธยมศึกษา ครูภาษาอังกฤษโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ ระดับประถมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นในรูปของแบบเลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า ตลอดจนแบบปลายเปิด แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา โดยใช้ค่าที (t-test) และนำเสนอข้อมูลในรูปตารางและความเรียง จากการศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษทั้งสองระดับ ปรากฏผลดังนี้คือ 1.เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนรัฐบาลเริ่มสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับชั้นประถมปลาย ในขณะที่โรงเรียนราษฎร์เริ่มสอนระดับชั้นประถมต้น ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร แต่มีการประชุมกันภายในหมวดวิชาเป็นครั้งคราวเท่านั้น ครูโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาเตรียมการสอนเป็นบทเรียน เวลาสอนพูดภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ และใช้วิธีสอนแบบให้กฎเกณฑ์หลังจากที่นักเรียนเข้าใจแล้ว ครูโรงเรียนราษฎร์ระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษาเตรียมการสอนเป็นรายสัปดาห์และใช้วิธีสอนแบบให้กฎเกณฑ์ทีหลังเช่นกัน แต่ใช้ภาษาอังกฤษเท่า ๆ กับภาษาไทยในขณะที่สอน สำหรับครูโรงเรียนรัฐบาลระดับประถมศึกษาเตรียมบทเรียนเป็นรายสัปดาห์ ใช้วิธีสอนแบบให้นักเรียนได้ฝึกปากเปล่า โดยใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทยในขณะที่สอน ส่วนการฝึกครูภาษาอังกฤษทั้งหมดใช้วิธีฝึกหลาย ๆ แบบ โดยคละเด็กทุกระดับความสามารถไว้ด้วยกัน และเน้นสอนทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตามลำดับ ครูใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนน้อยครั้ง ถ้าใช้อุปกรณ์ครูมักนิยมใช้บัตรคำ แผนภูมิ และรูปภาพ เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์ หรือไม่มีเวลาเตรียมอุปกรณ์ การจัดกิจกรรมก็ทำเป็นครั้งคราวเท่านั้น ส่วนการวัดผล จะทำเมื่อจบแต่ละบทเรียน ในขณะสอน ครูพบว่านักเรียนสนใจเรียนและสนุกกับบทเรียนมาก แต่ก็ไม่ทุกครั้ง เนื่องจากจำนวนนักเรียนในชั้นหนึ่ง ๆ มีมากเกินไป อันเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาของครู และปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่ง คือ ครูไม่มีเวลาพอที่จะจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักเรียนได้ วิธีแก้ปัญหาในการสอนที่ครูส่วนใหญ่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ถามเพื่อนร่วมงาน แต่ครูโรงเรียนรัฐบาลระดับประถมศึกษา มักหาหนังสืออ่าน แก้ปัญหาเอง นอกจากนี้ ครูภาษาอังกฤษได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพของตนเอง โดยการหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ อีกด้วย 2. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ครูภาษาอังกฤษทั้งระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ได้เสนอแนะว่า เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวนคาบที่สอนของครูและจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนต้องไม่มากเกินไป นอกจากนี้ ยังเห็นว่าเด็กควรเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา และควรจะต้องใช้ครูที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ วิชาครู ตลอดจนจิตวิทยา เป็นผู้วางพื้นฐานให้แก่เด็ก ครูต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาให้แก่เด็กก่อน เพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจพร้อมที่จะเรียน ทั้งนี้หลักสูตรต้องเหมาะสม โดยครูต้องศึกษาหลักสูตรและความมุ่งหมายของหลักสูตร และจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ควรสอนเน้นทักษะ ฟัง-พูด ให้มากขึ้น เพื่อให้เด็กนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ และที่สำคัญที่สุด คือ ควรมีศูนย์อุปกรณ์ให้ครูได้ใช้บริการได้โดยสะดวก
Other Abstract: The purposes of this study were to study the opinions of teachers of English at the secondary and primary education levels concerning the general status of English as well as the condition of learning and teaching English as a foreign language at the present time; to compare the opinions of teachers of English at the secondary and primary education levels; and to find out helpful recommendations to make learning and teaching English as a foreign language more effective. The subjects of this research were 367 teachers of English in the public secondary schools, private secondary schools, public primary schools, and private primary schools in Bangkok Metropolis. The questionnaire constructed by the researcher was used as the instrument for data collection. The obtained data were analyzed by means of percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results of the study were as follows: 1. According to the condition of learning and teaching English, the public schools started learning and teaching English at the upper primary education level whereas the private ones started at the lower primary education level. Most teachers encountered same problems regarding the curriculum, this was sometimes solved by holding meeting in their own section. The public secondary school teachers prepared lessons chapter by chapter; and in teaching, Thai was used more often than English with the emphasis on giving the generalization after understanding. Both the private secondary and primary school teachers prepared the lesson plans week by week; and in teaching, Thai and English were used equally with the same technique as the public secondary ones. The public primary school teachers prepared the lesson plans week by week; and in teaching, English was used more often than Thai with the audio-lingual method. Most of these English teachers used many types of drill to help their students to master all the language skills: listening, speaking, reading, and writing. In a class, students with different levels of proficiency in English were grouped together. The teachers rarely used any instructional aids because they lacked of those necessary audio-visual aids and time to prepare them; consequently, they only used word cards, charts, and pictures. Most of the teachers hardly ever held any activities in class. The measurement and evaluation were performed after each lesson. In learning and teaching situation, the teachers found that their students had paid attention and enjoyed learning English but not always. They also found that there were too many students in each class and they had not enough time to hold extracurricular activities for students. When confronting of problems in teaching, the majority of the teachers liked to seek advice from their colleagues, but only the public primary school teachers preferred to solve all problems by themselves as well as to consult books. Moreover, the teachers’ self-improving in subject matters was also done through books and various sources of knowledge. 2. The opinions of the teachers of English at the secondary education level and the primary education level about learning and teaching English in general were not significantly different. 3. All teachers of English suggested that the excessive teaching load and the excessive students in each class should be reduced because these made it difficult for them to perform their functions effectively. They realized the necessity of English learning at the primary education level but only the teachers with sound efficiency in methodology, pedagogy, and psychology should be allowed to teach at this level. They also agreed that the teachers should encourage students to have good attitude toward English, and the teachers’ achievement through the objective goals depended upon well-planned curriculum. Finally they suggested that there should be a center of instructional aids to serve the teachers’ needs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18424
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopamas_Ra_front.pdf414.14 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_ch1.pdf424.2 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_ch2.pdf772.03 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_ch3.pdf298.18 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_ch4.pdf850.59 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_ch5.pdf641.9 kBAdobe PDFView/Open
Nopamas_Ra_back.pdf665.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.