Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1844
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: Factors related to fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy
Authors: เพียงใจ ดาโลปการ, 2502-
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความล้า
เต้านม -- มะเร็ง
เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรจากกรอบแนวคิดของไปเปอร์ กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดประเภทผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 160 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม แบบประเมินความซึมเศร้าและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96, 0.81, 0.89, 0.83, 0.90 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง (X = 5.11, S.D. = 1.82) 2. ความทุกข์ทรมานจากอาการและความซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวก กับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .801 และ .699 ตามลำดับ) 3. คุณภาพการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม การสนับสนุนทางสังคมและอายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.654, -.521, -.411 และ -.188 ตามลำดับ) 4. ระยะของโรคมะเร็ง สูตรเคมีบำบัด ภาวะซีด และภาวะโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้า ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด 5. ความทุกข์ทรมานจากอาการ ความซึมเศร้า คุณภาพการนอนหลับและพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับเคมีบำบัดได้ 74.60% (R2 = .746) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด = .481 (ความทุกข์ทรมานจากอาการ) +.297 (ความซึมเศร้า) -.159 (คุณภาพการนอนหลับ) -.096 (พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม)
Other Abstract: To examine the relationships between factors related to fatigue based on Piper's Integrated Fatigue Model and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy. Subjects consisted of 160 breast cancer patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital and National Cancer Institute, selected by purposive sampling technique. Data were collected by using seven instruments: demographic data form, fatigue scale, symptom distress scale, sleep quality scale, physical activity scale, depression scale, and social support questionnaire. The instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were 0.96, 0.81, 0.89, 0.83, 0.90, and 0.93, respectively. Statistical techniques used in data analysis were Pearson product moment correlation and stepwise multiple regression at the significant level of .05. The major findings were as follows: 1. Fatigue scores of breast cancer patients receiving chemotherapy were at the medium level. (X = 5.11, S.D. = 1.82) 2. There were positively statistical correlation between symptom distress, depression and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy at the level of .05. (r = .801 and .699, respectively) 3. There were negatively statistical correlation between sleep quality, physical activity, social support, age and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy at the level of .05. (r = -.654, -.521, -.411 and -.188, respectively) 4. There were no statistical correlation between stage of disease, chemotherapy regimen, anemia, nutritional status and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy. 5. Symptom distress, depression, sleep quality, and physical activity were the variables that significantly predicted fatigue at the level of .05. The predictive power was 74.60 % of the variance. The equation derived from standardize score was: fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy = .481 symptom distress +.297 depression -.159 sleep quality -.096 physical activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1844
ISBN: 9741726112
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piangjai.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.