Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18503
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี
Other Titles: A content analysis of citizenship characteristics in the Elementary Curriculum B.E. 2521 at the prathom suksa 5-6 level
Authors: วาสนา ยศปัญญา
Advisors: สงัด อุทรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หน้าที่พลเมือง -- หลักสูตร
การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กล่าวถึงลักษณะความเป็นพลเมืองดีไว้อย่างไร และปรากฏอยู่ในเนื้อหามากน้อยเพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษา เอกสาร ตำรา งานวิจัย สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งของไทยและของต่างประเทศ เพื่อพิจารณารวบรวม ลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นำผลที่ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษากับคณะอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ ได้ลักษณะความเป็นพลเมืองดี จำนวน 36 ลักษณะ แล้วจึงนำไปสร้างเครื่องมือวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของชั้นประถมปีที่ 5-6 คู่มือครูและแผนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร โดยทำการวิเคราะห์ลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่มีในเนื้อหาหลักสูตร ประเภทของเนื้อหาสาระ และพฤติกรรมของลักษณะความเป็นพลเมืองดี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. ลักษณะความเป็นพลเมืองดี ปรากฏในทุกแหล่งข้อมูลรวมทั้งสิ้น 1,550 ครั้ง โดยปรากฏในแหล่งข้อมูลดังนี้ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 306 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.74 คู่มือครูและแผนการสอนทุกกลุ่มประสบการณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 582 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 37.54 คู่มือครูและแผนการสอนทุกกลุ่มประสบการณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 662 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 42.70 และปรากฏในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ดังนี้กลุ่มทักษะจำนวน 398 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 25.67 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตจำนวน 338 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 21.80 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยจำนวน 440 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 28.38 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ จำนวน 159 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 10.25 กลุ่มประสบการณ์พิเศษ จำนวน 215 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 13.87 2. ลำดับของลักษณะความเป็นพลเมืองดี จากแหล่งข้อมูลทุกรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 10 ลำดับแรก ดังนี้ ความมีเหตุผล มีความรับผิดชอบ มีสติ สัมปชัญญะ มีความขยันหมั่นเพียร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วางแผนในการทำงานรักษาระเบียบวินัย มีความภูมิใจในความเป็นไทย ประหยัดและเป็นสุภาพชน 3. ลักษณะที่ไม่ปรากฏเลยในบางเอกสารหลักสูตรได้แก่ กระตือรือร้นและมุ่งอนาคตไม่ปรากฏในคู่มือครูและแผนการสอนชั้น ป.5 ตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ปรากฏในหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของชั้น ป. 5-6 4. ประเภทของเนื้อหาสาระ ที่บ่งบอกลักษณะความเป็นพลเมืองดี ปรากฏในประเภทที่ 6 ความสามารถและทักษะทางกายมากที่สุด จำนวน 407 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 26.25% ซึ่งเรียงตามลำดับดังนี้ 1. ความสามารถและทักษะทางกาย (407 ครั้ง หรือร้อยละ 26.25) 2. หลักการ (286 ครั้ง หรือร้อยละ 18.45) 3. การแก้ปัญหา (271 ครั้ง หรือร้อยละ 17.48) 4. ข้อเท็จจริงและความรู้ธรรมดา (189 ครั้ง หรือร้อยละ 12.19) 5. เจตคติและค่านิยม (177 ครั้ง หรือร้อยละ 11.41) 6. ความคิดรวบยอด (138 ครั้ง หรือร้อยละ 8.90) 7. การคิดสร้างสรรค์ (82 ครั้ง หรือ ร้อยละ 5.29) 5. พฤติกรรมของลักษณะความเป็นพลเมืองดี ปรากฏในพฤติกรรมที่พึ่งมีต่อตนเอง (ก) มากที่สุด จำนวน 655 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 42.25 รองลงมาคือพฤติกรรมที่พึงมีต่อสิ่งแวดล้อม (ค) จำนวน 454 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 29.29 และปรากฏในพฤติกรรมที่พึงมีต่อผู้อื่นน้อยที่สุด จำนวน 441 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 28.45
Other Abstract: Research Objective The main objective of this study is to analyze the content of the elementary curriculum B.E. 2521 at the Prathom 5 - 6 level to find out how it embraces desirable citizenship characteristics. Research Method The researcher studied texts, theses, researches and some of other publications concerning desirable citizenship characteristics, The elements of desirable citizenship characteristics were considered by 31 welknown social experts. Finally 36 citi¬zenship characteristics were indentified and used as this research variables. As well, the citizenship characteristics were classified into three kinds of behaviors as towards oneself, other people and the environments. The seven classifications of content analyzed from curriculum materials are : factual information and verbal knowledge, concepts, principles, problem solving, creati¬vity, skills, and attitude and values. The curriculum, teachers' handbooks and teaching plans at the Prathom 5 - 6 level were used as the sourcess of information to be analyzed. The statistics employed were frequency, mode and percentage. Research finding 1. The desirable citizenship characteristics appeared in all data resources for 1,550 times as 360 times or 19.47% in elementary curriculum B.E. 2521 document, 582 times or 37.54% in Prothom 5 teachers' handbooks and teaching plans, and 662 times or 42.70% in Prathom 6 teachers': handbooks and teaching plans. The citizenship characteristics that appeared in each • curriculum group of experience fellows : 398 times or 25.6% in Tool Subjects, 338 times or 21.80% in Life Experiences, 440 times or 28.33% in Character Educational, 159 times or 10.25% in Work Oriented, and 215 times or 13.8% in Special Experience area. 2. The first ten desirable citizenship characteristics appeared priority of orderly in the data resources namely reasoning competency, responsibility, constant self-consciousness, diligece, creative thinking, work planning, disciplinary and orderly practice, proud of being Thai, ecomomic consciousness, and politeness orderly, practice. 3. There were desirable citizenship characteristics that did not appeared in some data resources namely enthusiastic and futuristic in theachers' handbooks and teaching planns, political awareness and participation in the elementary curriculum documents at Prathom 5 - 6 level. 4. The curriculum content that incoorperated most the desirable citizenship characteristics was skills are for 407 times or 26.25%. All seven content categories appeared orderly as follows; (1) skill (for 407 times or 26.25%). (2) principles (for 286 times or 18.45%). (3) problem solving (for 271 times or 17.48%). (4) factual information and verbal knowledge (for 189 times or 12.19%). (5) attitude and values (for 177 times or 11.41%). (6) concepts (for 138 times or 8.90%). (7) creativity (for 82 times or 5.29%). 5. The desirable citizenship characteristics appeared most are behaviors towards oneself for 655 times or 42.25%. The next are behaviors towards the environments for 454 times or 29.29%, and the least behaviors towards other people for 411 times or 28.45%.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18503
ISBN: 9745631868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasana_Yo_front.pdf432.66 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_ch1.pdf651.75 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_ch3.pdf352.21 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_ch5.pdf663.36 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_Yo_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.