Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18554
Title: | ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างนิสิตฝึกสอนกับนักเรียน ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Verbal interaction of student teachers and students in mathematics instruction at the lower secondary education level |
Authors: | วันชัย เตชะมหานนท์ |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Prompan.U@chula.ac.th |
Subjects: | พฤติกรรมทางวาจา คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน การสื่อสารในการศึกษา |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างนิสิตฝึกสอนกับนักเรียนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนต่างๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางวาจาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระหว่างระดับชั้นเรียน ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตฝึกสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งฝึกสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 17 คน และนักเรียนจำนวน 17 ห้องเรียน ผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างนิสิตฝึกสอนกับนักเรียนโดยใช้แบบวิเคราะห์ที่ได้ดัดแปลงมาจากแบบวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาของ เนด เอ แฟลนเดอร์ส วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของอัตราส่วนต่างๆ ด้วยวิธีทดสอบของ แมน-วิทนี ( The Mann-Whitney Test ) ข้อค้นพบ 1. ในการศึกษาและวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างนิสิตฝึกสอนและนักเรียนในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการหาค่าร้อยละ ค้นพบดังนี้ 1.1 นิสิตฝึกสอนใช้เวลาพูดทั้งหมดร้อยละ 44.51 โดยใช้เวลามากที่สุดในการบรรยายร้อยละ 25.49 และใช้พูดน้อยที่สุดในการยอมรับความรู้สึกของนักเรียน ร้อยละ 0.06 1.2 นักเรียนใช้เวลาพูดทั้งหมด ร้อยละ 18.15 โดยใช้เวลามากที่สุดในการตอบคำถามเป็นหมู่ ร้อยละ 13.06 และใช้เวลาน้อยที่สุดในการพูดริเริ่ม ร้อยละ 2.31 1.3 เวลาของความเงียบ และความวุ่นวายสับสนคิดเป็นร้อยละ 34.74 และ 2.60 ตามลำดับ 2. ในการเปรียบเทียบอัตราส่วนต่างๆ ของปฏิสัมพันธ์ทางวาจาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระหว่างระดับชั้นเรียน สรุปได้ดังนี้ 2.1 อัตราส่วนระหว่างการที่นักเรียนพูดเป็นรายบุคคลกับการที่นักเรียนพูดเป็นหมู่ในระดับชั้นที่ต่างกันนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.2 อัตราส่วนต่างๆ ต่อไปนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับชั้นที่ต่างกัน ก. อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาพูดของนิสิตฝึกสอนกับการใช้เวลาพูดของนักเรียน ข. อัตราส่วนระหว่างการกระตุ้นพฤติกรรมนักเรียนกับการควบคุมพฤติกรรมนักเรียน ค. อัตราส่วนระหว่างเวลาที่นักเรียนพูดริเริ่มกับเวลาที่นักเรียนพูดทั้งหมด ง. อัตราส่วนระหว่างการใช้เวลาบรรยายกับการใช้เวลาพูดทั้งหมดของนิสิตฝึกสอน จ. อัตราส่วนระหว่างการใช้อิทธิพลทางอ้อมกับการใช้อิทธิพลทางตรงของนิสิตฝึกสอน |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1. To study and analyze student teachers and students' verbal interaction in mathematics instruction at the lower secondary education level. 2. To compare the ratios of verbal interaction in mathematics instruction between class levels. The samples were seventeen lower secondary mathematics student teachers, Faculty of Education, Chulalongkorn University and students from seventeen classes. The researcher used the verbal interaction observation form which applied from Flanders' Interaction Analysis .Technique in collecting data. The data were analyzed by means of percentage and tested the difference of the ratios of the interaction by The Mann - Whitney. Test. The results were; 1. The study and analyzing of student teachers and students verbal interaction in mathematics instruction at the lower secondary education level were calculated by percentage and found that: 1.1 The student teachers spent 44.51% of the time in speaking by using 25.49% of the time in lecturing and by using least of the time accepting students' feeling 0.06%. 1.2 The students spent the time in speaking was 18.15% by using most of the time answering in group 13.06% and by using least of the time initiation 2.31%. 1.3The time of the silence and confusion were 34.74% and 2.60% respectively. 2. Comparing the ratios of verbal interaction in mathematics instruction between class levels were: 2.1 The ratios of student individual speaking and group speaking between class levels were different significantly at the 0.01 level. 2.2 The ratios between class levels which were not different significantly at the 0.01 level were as follows: a. The ratio of time the student teachers and students spent in speaking. b. The ratio of time motivating and controlling students' behavior. c. The ratio of time the students spent in initiation and speaking. d. The ratio of time the student teachers spent in -lecturing and speaking. e. The ratio of time the student teachers spent in indirect and direct influence. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18554 |
ISBN: | 9745664014 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wunchai_Ta_front.pdf | 352.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_ch1.pdf | 339.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_ch2.pdf | 454.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_ch3.pdf | 294.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_ch4.pdf | 442.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_ch5.pdf | 356.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wunchai_Ta_back.pdf | 447.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.