Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18577
Title: การศึกษาการดำเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
Other Titles: A study on the operation of cold storage organization
Authors: ดนุชา แย้มน้อย
Advisors: สุนทร อาชวรักษ์
สุทธิมา ชำนาญเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
fcomsjn@acc.chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมห้องเย็น -- การบริหาร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการดำเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นทางด้านการผลิตการตลาด การบัญชีและการเงิน การบุคคล และการบริหารงานสาขา ทั้ง 11 แห่ง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงการเดำนินงานด้านต่างๆ และการบริหารงาน วิธีการศึกษาจะทำการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลทั้งทางด้านข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ กล่าวคือ ข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสัมภาษณ์พนักงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นระดับหัวหน้ากอง ผู้จัดการสาขา หัวหน้าแผนก การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นในระดับตั้งแต่หัวหน้ากองและผู้จัดการสาขาลงไป ตลอดจนการเข้าร่วมสังเกตการณ์ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิศึกษาจากหนังสือ เอกสาร บทความ รายงานและสถิติต่างๆ ขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการดำเนินงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นด้านต่างๆ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข สรุปได้ดังนี้ ด้านการควบคุมการดำเนินงานของสาขา การควบคุมการใช้จ่ายเงินองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นได้ออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับอำนาจในการจัดซื้อ การใช้จ่ายเงินของผู้จัดการสาขา รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น ทำให้การจัดซื้อ การใช้จ่ายเงิน และการจำหน่ายเป็นไปอย่างระมัดระวัง ซึ่งสามารถป้องกันการรั่วไหลและลดอัตราการเกิดหนี้สูญลงได้ ทั้งนี้ องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นจะต้องควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยใกล้ชิด และโดยที่องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นยังไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมภายใน การตรวจสอบจะกระทำเป็นครั้งคราวโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการ ควรจะได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้น การควบคุมคุณภาพของสินค้า ซึ่งปรากฏว่า สินค้าของอุตสาหกรรมห้องเย็น ยังมีโอกาสที่จะเสื่อมคุณภาพเร็วมาก จึงควรกำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการผลิตและเก็บรักษาสินค้าให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเคร่งครัดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมด้วยรายงาน ควรมีการปรับปรุงระบบการรายงานข้อมูลให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์และถูกต้องสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนควบคุมและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ด้วยการประสานงานภายในองค์การฯและสาขาต่างๆยังมีปัญหาในเรื่องต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินงานขององค์การฯไม่คล่องตัว ดังนี้ - การไม่ให้ความร่วมมือระหว่างสาขาฝ่ายผลิตและสาขาฝ่ายจำหน่ายในการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ - สาขาต่างๆ จัดส่งรายงานมายังกองคลังล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดเสมอ และบางครั้งการจัดทำรายงานผิดผลาด ทำให้การจัดทำข้อมูลเสนอฝ่ายบริหารเพื่อการตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ - เนื่องจากมีการแยกสาขากรุงเทพออกจากสำนักงานใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีกองคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เก็บรักษาสินค้าให้สาขากรุงเทพ จึงเกิดความสับสนในการบังคับบัญชาทำให้มีปัญหาในด้านการประสานงานขึ้นด้วย - การประสานงานระหว่างสำนักงานกลางและสาขาในเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดแผนงานยังไม่ได้ผลดีนัก เนื่องจากผู้จัดการสาขาขาดประสบการณ์ในการทำงาน ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนการซื้อขายสัตว์น้ำได้ ควรปรับปรุงการกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆให้ชัดเจน เพื่อให้ทราบว่า หน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้ทราบว่า หน่วยงานต่างๆ ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างไร นอกจากนี้ควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานในการจัดทำรายงาน ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการฝึกอบรมผู้จัดการสาขาให้มีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การดำเนินงานขององค์การคล่องตัวขึ้น ด้านการผลิต ขนาดความจุของห้องเย็นเล็กเกินไป และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตชำรุดเสียหาย รวมทั้งมีข้อขัดข้องทางเทคนิคบางประการ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ ควรให้มีการปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องจักรดังกล่าวให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และพิจารณาขยายความจุของห้องเย็นให้สามารถรองรับกับปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นได้และพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง โดยการควบคุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่การจัดซื้อ กระบวนการผลิตและการเก็บรักษา ด้านการตลาด เนื่องจากองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเอกชนทั้งในด้านราคา คุณภาพ และการส่งเสริมการจำหน่าย นอกจากจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงด้านต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้าแล้ว ควรมีการปรับปรุงการดำเนินงานด้านการตลาดเพื่อช่วยเสริมสร้างยอดจำหน่ายที่ถูกต้อง หาช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายประเภทของผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรม และปศุสัตว์ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นด้วย ด้านการบัญชี ข้อมูลทางการบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการจัดสินใจของผู้บริหาร เป็นข้อมูลที่ล้าสมัยและไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากการปิดบัญชีล่าช้า และระบบการบันทึกบัญชียังไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการคำนวณต้นทุนสินค้า ซึ่งทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารผิดพลาด จึงควรมีการปรับปรุงระบบบัญชีและปรับปรุงการบริหรงานด้านการบัญชีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้านการจัดองค์การ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่งานและความรับผิดชอบ ควรเร่งรัดการปรับปรุงการแบ่งส่วนงานขององค์การอุสาหกรรมห้องเย็น รวมทั้งปรับปรุงการกำหนดหน้าที่งานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ด้านการบุคคล ควรมีการจูงใจพนักงานให้มีความเต็มใจและปรารถนาที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ จัดให้มีการพัฒนาบุคคลในองค์การให้มีความรู้ความก้าวหน้าในเทคนิควิทยาการใหม่ โดยการฝึกอบรมหรือส่งไปดูงานทั้งในและต่างประเทศ
Other Abstract: The operation of the Cold Storage Organization, a state enterprise under Ministry of Agriculture and Cooperatives, was studied in aspects of its production, marketing, accounting and finance, personnel and the administrator of its eleven field offices. The recommendation are provided to improve its operation and management. The study was implemented with primary and secondary data. The primary data was collected by interviewing heads of division, field office manager and heads of sections. The secondary data was collected from publications, articles, documents, reports and statistics published by the Cold Storage Organization. Questionnaires were used to gather primary data inquiring interviewees’ opinion of the operation. From the study, problems associated with the operations of the Cold Storage Organization are summarized as follows together with suggested solutions. Administering of field offices : In respect to the expenditures, the enterprise had issued regulations and rules prescribed field office managers expending and procurement authorization as well as established appropriate standard procedures on credit granting with grater degree of caution. These made procurement, expending, and sales proceed with great concern. It helped preventing fraudulent and lowering bad debts rate. However, the Cold Storage Organization must pay close supervision on the administering and surveillance of conformity to such prescriptions. The Cold Storage Organization management has yet to establish a permanent internal auditor. At present, the current internal auditing has been conducted on an ad hoc basis by staff specially assigned by the director. In term of quality control, it was found that the products of the Cold Storage Organization had a tendency to spoilage. Therefore instructions should be given to employees to adhere to specified procedures with great consideration of effectiveness. As for controlling with report, a quick, timely correct and complete information system should be developed. This would be of great assistance to managerial planning, control and decision making. Coordination ; It was found that coordinating problem prevailed in the organization and various field offices hindering flexibility. - The lack of coordination between production and sales section within a field office on the compilation of sales statistics. - The incorrect and tardiness of field offices summitting of report to treasury division resulted in untimely and undesired decisions. - Although Bangkok field office was saperated from the main office, there is still warehouse section for Bangkok field office. This created problems in term of commandment and coordination. - The coordination between head office and field offices on planning was still unsatisfactory, as field managers lacked the experience and incapable of providing assistance in drawing sales plan. Revision should be made to clarify the delegating of authority and responsibility, suggesting interdependence of each division. The organization should, provide education to its employee enabling preparation of reports and statistics, and its training field managers to attain flexibility. Production : It was found that the capacity of the cold storage was too small. The majority of the machinery was malfunction, and various technical difficulties were detected. These resulted in low productivity. Therefore, repairing and maintenance of machinery should be done also consider expending the storage capacity and facility to accommodate potential demand. It should also embark on a cost reduction scheme to attain minimal cost by controlling the expenditure of procurement, production process and were housing. Marketing : As the Cold Storage Organization does not have fare competition with private firms of the same field with respect to price, quality, or sales promotion. There, the enterprise should seek remedy to its production cost and quality and, furthermore, the marketing activities should be improved to raise the sale. These can be attained by rigid market survey for appropriate marketing plan. The enterprise should broaden its product line to cover agricultural products and livestock, and accelerate the export to foreign countries. Accounting : Accounting information, beneficial to managerial planning and decision, was out of date and incomplete as a result of the delay in closing of the book and improper recording especially the inventory valuation. This may probably cause unsatisfactory managerial decision. Therefore, an immediate revision and overhaul of accounting system and management accounting should be initiated to attain its effectiveness. Organizing : The study also revealed problems in delegating of authority and responsibility in the organization. This requires urgent reorganization. Furthermore, written job description must be prescribed for each position. Employees Relation : Employees motivation scheme should be implemented to secure high morale, job satisfaction and employees’ loyalty. Employees development program such as training program, local and foreign study tour should be initiated, such that employees would be alert and fully equipped with modern technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18577
ISBN: 9745625787
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danucha_Ya_front.pdf383.85 kBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_ch1.pdf271.3 kBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_ch2.pdf860.1 kBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_ch3.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_ch4.pdf825.81 kBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_ch5.pdf352.58 kBAdobe PDFView/Open
Danucha_Ya_back.pdf539 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.