Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18625
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ที่มีระดับความคาดหวังและการได้รับข้อมูลป้อนกลับที่แตกต่างกัน |
Other Titles: | A comparison of fundamental mathematics achievement of students at higher certificate of education level with different levels of expectation and different methods of feedback |
Authors: | ดวงจิต ปูรณานนท์ |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Puangkaew.P@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน การคาดหวัง (จิตวิทยา) |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนชั้น ป.กศ.สูง ปีที่ 1 ที่มีระดับความคาดหวังผลการสอบแตกต่างกันและการได้รับข้อมูลป้อนกลับที่แตกต่างกันว่ามีผลอย่างไร เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบคัดเลือกวิชาคณิตศาสตร์แบบสอบถามความคาดหวัง แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานและแบบรายงานข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาชั้น ป.กศ.สูง ปีที่ 1 ของวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ จังหวัดปทุมธานี 4 หมู่เรียน จำนวน 120 คน เป็นนักศึกษาชาย 35 คน นักศึกษาหญิง 85 คน การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและความแปรปรวนสองทาง และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของ ทูกี ผลการวิจัยปรากฏว่า 1.นักศึกษาที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ ลักษณะบอกเกรดและอธิบายถึงการได้มาซึ่งตอบถูกและผิด และลักษณะบอกเกรดแลอธิบายถึงการได้มาซึ่งคำตอบถูกและผิด และลักษณะบอกเกรดและมีข้อความแสดงความเห็นในทางบวก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ 2.นักศึกษาที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับลักษณะบอกเกรดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ไม่แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ 3.นักศึกษาที่มีระดับความคาดหวังผลการสอบสูง พบว่านักศึกษาที่ได้รับข้อมูล ป้อนกลับลักษณะบอกเกรดและอธิบายถึงการได้มาซึ่งคำตอบถูกและผิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ นักศึกษาที่มีระดับความคาดหวังผลการสอบต่ำ พบว่านักศึกษาที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับทั้ง 4 ลักษณะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานไม่แตกต่างกัน 4.นักศึกษาที่มีระดับความคาดหวังผลการสอบสูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกับนักศึกษาที่มีระดับความคาดหวังผลการสอบต่ำ 5.ไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับความคาดหวังและลักษณะการได้รับข้อมูลป้อนกลับที่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purpose of this study were to compare fundamental mathematics achievement among Higher Certificate of Education students receiving different types of feedback, and with different levels of expectation. The (data) were collected through the use of an entrance examination mathematics test, a questionnaire on students’ grade expectation, an achievement test on fundamental mathematics, and a feedback form. These instruments were developed by researcher. The subjects consisted of 120 first year students, 35 of which were males and 85 females. The experiment took place in Petchburi-Vithayalongkorn Teacher College. The subjects were devided into four groups, each of which received a type of feedback. Four kinds of feedback were studies : no-feedback, grade – only, grade and test explanation, and grade and positive comments. The statistical analysis made use of the ANOVA and the Tukey’s multiple comparison test. The results were as follows: 1.Students in grade-only grade as well ad those grade and positive comments group performed better in mathematics than those in “no-feedback” group. 2.There were no significant difference in mathematics achievement between grade-only and no feedback groups of students. 3.Within the group of higher expectation students those with grade and test explanation type of feedback did be better in mathematics than those with no feedback. But no significant differences were found with lower expectation students, regardless of types of feedback used. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18625 |
ISBN: | 9745640123 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangchit_Pu_front.pdf | 397.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_ch1.pdf | 414.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_ch2.pdf | 842.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_ch3.pdf | 501.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_ch4.pdf | 466.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_ch5.pdf | 397.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Duangchit_Pu_back.pdf | 638.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.