Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18634
Title: ความตกลงระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศเพื่อการเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนเปรียบเทียบ
Other Titles: A comparative study of agreement between Thailand and foreign countries for the avoidance of double taxation
Authors: กฤตศิลป์ กนกนาก
Advisors: กาญจนา นิมมานเหมินท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษีอากร -- ไทย
ภาษีซ้อน
ภาษีอากร
อนุสัญญาภาษีซ้อน
สนธิสัญญา
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยที่ประเทศต่างๆ ได้กำหนดภาระในการเสียภาษีต่างกัน กล่าวคือ ประเทศยุโรปส่วนใหญ่ จัดเก็บภาษีตามหลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) สหรัฐอเมริกาจัดเก็บภาษีตามหลักสัญชาติ (Nationality Rule) และประเทศอื่นๆ จัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) จึงทำให้เกิดการจัดเก็บภาษีของสองหรือสามประเทศซ้ำซ้อนกันขึ้น โดยเงินได้จำนวนหนึ่งต้องเสียภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ในประเทศหนึ่ง และยังต้องเสียภาษีตามหลักถิ่นที่อยู่ หรือตามสัญชาติในอีกประเทศหนึ่งด้วย ดังนั้น ในบางประเทศจึงมีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการเก็บภาษีซ้อนขึ้น โดยการกำหนดสิทธิในการจัดเก็บภาษีของตนในลักษณะที่มิให้มีส่วนที่ซ้ำซ้อนกันกับประเทศอื่นอีก โดยใช้วิธีการที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ “ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน” (Agreement for the Avoidance of Double Taxation) อย่างไรก็ดีการทำความตกลงในเรื่องนี้ นอกจากจะสามารถขจัดปัญหาต่างๆ ในการจัดเก็บภาษีซ้อนดังที่กล่าวแล้ว สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเกือบทุกประเทศยังใช้ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนี้ เป็นเครื่องมือในการชักจูงต่างประเทศในการนำเข้าซึ่งทุนและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศของตนให้ไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในที่สุดด้วย ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศหนึ่งก็ได้ทำความตกลงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้กับประเทศต่างๆ แล้วรวม ๔ ประเทศด้วยกัน ดังนั้นจึงควรจะทำการศึกษารายละเอียดรวมทั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้าเกี่ยวกับความตกลงในเรื่องนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการทางกฎหมายสำหรับความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่เหมาะสมที่สุดที่จะไม่ทำให้ประเทศต้องเสียประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรมากเกินความจำเป็นเพื่อที่จะได้ใช้เป็นแนวทางในการทำความตกลงในเรื่องนี้กับประเทศต่างๆ ต่อไปในภายหน้า และผลจากมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวนี้จะยังผลให้เป็นมูลเหตุจูงใจในการชักจูงการลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย ในการดำเนินการค้นคว้านี้ ได้ศึกษาถึงเนื้อหาสาระและความแตกต่างของความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับต่างประเทศทั้ง ๙ ประเทศ อันได้แก่ ประเทศสวีเดน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนอร์เวย์ ประเทศเดนมาร์ค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงหลักเกณฑ์และข้อแตกต่างของความตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น รวมทั้ง Model Double Taxation Convention on Income and on Capital ขององค์การเพื่อการประสานงานและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ “OECD”) และ Manual for the Negotiation of Bilateral Tax Treaties Between Developed and Countries ของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (department of International Economic and Social Affairs,United Nations หรือ “UN” ) ซึ่งในการวิจัยนั้นใช้วิธีค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแบบการค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) ส่วนการศึกษานั้นใช้วิธีพรรณนาและวิเคราะห์ (Descriptive and Analytical Method) จากการที่ได้วิเคราะห์ข้อบทต่างๆ ในความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำกับประเทศต่างๆ มาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า โดยทั่วไปแล้วความตกลงทุกฉบับมีแนวทางคล้ายคลึงกับร่างความตกลงฉนับ “OECD” ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ร่างขึ้นมาโดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และให้ความสำคัญในการจัดการจัดเก็บภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่เป็นหลัก ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามร่างความตกลงฉบับ “UN” ซึ่งร่างขึ้นในเวลาต่อมาโดยผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา โดยได้ตระหนักถึงปัญหาของประเทศที่กำลังพัฒนาในฐานะประเทศแหล่งเงินได้ ทำให้ข้อบทต่างๆ ในร่างความตกลงฉบับ “UN” มีลักษณะที่เน้นสิทธิในการจัดเก็บภาษีของประเทศแหล่งเงินได้ด้วยเช่นกันใช้ประโยชน์จากข้อบทต่างๆ ตามแบบอย่างที่ร่างขึ้นโดย “UN” ในหลายๆประการนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสถานประกอบการถาวร โดยพยายามให้ความหมายของคำว่า “สถานประกอบการถาวร” มีลักษณะที่กว้างขวางขึ้นเพื่อพิทักษ์สิทธิในการจัดเก็บภาษีกำไรจากธุรกิจของวิสาหกิจต่างประเทศไว้ให้มากที่ดสุด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบในด้านอื่นๆ เช่นผลในด้านการส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศนั้นก็ควรที่จะต้องได้รับการพิจารณาประกอบไปด้วย สำหรับผลที่ประเทศได้รับการทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศต่างๆ นั้น ผลโดยทั่วไปก็คือในด้านการส่งเสริมการลงทุนในด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์กันดีระหว่างประเทศ และในด้านการป้องกันการเลี่ยงภาษี ส่วนผลจากมาตรการเกี่ยวกับ Tax Sparing นั้นก็มิได้หมายความว่า หากในความตกลงกับประเทศบางประเทศไม่มีข้อบทที่ว่าด้วย Tax Sparing แล้วจะทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบเสมอไปแต่อย่างใด เพราะความจริงแล้วมาตรการเกี่ยวกับ Tax Sparing จะมีความจำเป็นก็เฉพาะในกรณีที่การขจัดภาษีซ้อนกระทำโดยวิธีเครดิตเท่านั้น หากการขจัดภาษีซ้อนกระทำโดยวิธียกเว้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมี และการที่จะพิจารณาว่าการมีหรือไม่มีข้อบทที่ว่าด้วย Tax Sparing จะมีผลทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์หรือไม่ จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ประกอบด้วย ส่วนข้อเสนอแนะนั้น จะเห็นว่าในกรณีที่ข้อบทบางข้อบทไม่มีกำหนดไว้ในความตกลง ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ ก็ควรที่จะไม่กำหนดข้อบทเหล่านั้นไว้ในการทำความตกลงกับประเทศต่างๆ ในอนาคต และควรจะมีพิธีสาร (Protocal) ต่อท้ายความตกลงที่ข้อบทบางข้อกำหนดไว้ชัดเจนซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการตีความขึ้น รวมทั้งควรให้มีมาตรการเกี่ยวกับ Tax Sparing ไว้ในความตกลงที่จะทำกับประเทศต่างๆ ในอนาคตทุกฉบับด้วย เพื่อให้การยกเว้นภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนบรรลุผล และเป็นแรงจูงใจให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
Other Abstract: Whereas various countries allocate tax burdens based upon different rules, including residence requirements, nationality of taxpayers, or source of income, some incomes are taxed twice or three times from one country to the other, pursuant to collections of tax hased upon different methods. In order to reduce the burden of double taxation, agreements for the avoidance of double taxation are made between certain countries. The primary purpose of such agreements is to improve the situation by reducing paying of double taxes on the same income. Furthermore, the developing countries also use such agreements to convince foreign investors to invest their capital and technologies in developing such nations into developed countries. At present , Thailand, as a developing country, has now engaged into such agreement with 9 other countries. Therefore, details and also problems which arisen or may be arisen in the future in regard to such agreements, should be studied in order to procure proper legal strategies which can prevent Thailand from the disadvantages of tax collection and to procure guidelines of type of agreements to be engaged with any other countries in the future. The result of such legal strategies will motivate an increased number of investment and technology from abroad into Thailand in future. This thesis focuses the principles and dissimilarities of the agreements for the avoidance of double taxation between Thailand and Sweden, Japan, Norway, Denmark, the Republic of Germany, the republic of France, Singapore, the Netherlands, and the Republic of Korea. It also refers to the Model Double Taxation Convention on Income and on Capital, of the Organization for Economic Co-operation and development, widely know by the name of “OECD”, and also relies upon the Manual for the Negotiation of Bilateral Tax Treaties between Developed and Developing Countries, issued by the Department of International Economic and Social Affairs, of the United Nations. Documentary research and descriptive and analytical methods are utilized herein. The agreements previously made are similar to the OECD draft which focuses on the “residence” rule for tax jurisdiction. However, the United nations draft which is written by experts from developed and developing countries, acknowledges problems of developing countries in their role as sources of income, and thus the United Nations draft focuses on the “source” rule for tax jurisdiction. Thailands, as a developing country, and as a source of income, ought to gain the benefit of the United Nations draft, especially in the matter defining of “permanent establishments,” by enlarging this term for collecting profit tax from foreign enterprises to the greatest extent possible. Nevertheless, al other impacts should be taken into consideration. The outcome of these agreements are investment promotion, amiable foreign relationships, and minimized tax evasion. On the part of Tax Sparing strategy, it does not mean that the absence of such strategy will put Thailand at a disadvantage with other countries. In fact, Tax sparing strategy is necessary specifically for elimination of double taxation by way of a tax credit method. Tax Sparing strategy is not necessary for elimination of double taxation by way of the exemption method. Considering whether or not having a tax Sparing strategy in tax agreements must be done on conjunction with the provisions of the Investment Promotion
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18634
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gritasin_Ka_front.pdf443 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch1.pdf443.06 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch2.pdf515.81 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch3.pdf524.7 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch4.pdf415.03 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch5.pdf347.25 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch6.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_ch7.pdf536.56 kBAdobe PDFView/Open
Gritasin_Ka_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.