Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล-
dc.contributor.authorกฤตชญา รัตนประทีป-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T14:10:15Z-
dc.date.available2012-03-24T14:10:15Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745644293-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18635-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะบทความ ขอบเขตเนื้อหาและปริมาณบทความในแต่ละสาขาวิชา สำรวจผู้เขียนบทความ ประเภทของการอ้างอิงที่ปรากฏ และวิเคราะห์เนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดพิมพ์เพียงใด ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสัมภาษณ์บรรณาธิการ และผู้มีส่วนในการจัดทำวารสารอักษรศาสตร์ใช้หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์เนื้อหาบทความที่เป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด ๒๐๔ บทความจากวารสารอักษรศาสตร์ตังแต่เล่มที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๕ ถึงปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ บันทึกรอยคะแนนในตารางวิเคราะห์เนื้อหา รวมคะแนนทั้งหมด และนำมาหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑.จำนวนเนื้อหาในสาขาวิชาต่างๆ พบว่ามีเนื้อหาในสาขาวิชาภาษาไทยมากที่สุดคือ ๔๘ บทความ จากบทความทั้งสิ้น ๒๐๔ บทความ คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๕๓ อันดับที่สองได้แก่สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ๓๙ บทความ คิดเป็นร้อยละ ๑๙๑๒ อันดับที่สามได้แก่สาขาวิชาภาษาตะวันตก ๓๑บทความ คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๐ สาขาวิชาที่มีจำนวนบทความน้อยที่สุดคือ สาขาวิชาศิลปะการละคร มี ๓ บทความ คิดเป็นร้อยละ ๑.๔๗ ๒. จำนวนผู้เขียนบทความที่จำแนกตามสังกัดของผู้เขียนบทความ พบว่าผู้เขียนสังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวนมากที่สุด ๙๓ คน จากจำนวนผู้เขียนที่ปรากฏสังกัดทั้งหมด ๑๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๕๐ และเมื่อจำแนกตามภาควิชา พบว่าผู้เขียนจากภาควิชาตะวันตกมีจำนวนมากเป็นอันดับที่หนึ่ง คือ ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๕๑ อันดับที่สองได้แก่ ผู้เขียนจากภาควิชาภาษาอังกฤษ ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๒๘ อันดับที่สามได้แก่ ผู้เขียนจากภาควิชาภาษาไทย ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๐๕ ภาควิชาที่มีจำนวนผู้เขียนน้อยที่สุด ได้แก่ ภาควิชาศิลปะการละคร คือ ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๘ ๓. ในด้านของการอ้างอิง พบว่าบทความที่มีการอ้างอิงมีจำนวน ๑๓๓ บทความ จากจำนวนบทความทั้งหมด ๒๐๔ บทความ คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๒๐ มีปริมาณการอ้างอิงทั้งสิ้น ๑,๓๖๖ รายการ โดยบทความในสาขาวิชาประวัติศาสตร์มีปริมาณการอ้างอิงมากเป็นอันดับที่หนึ่ง ๔๒๙ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๔๑ อันดับที่สองได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย ๒๖๕ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๔๐ อันดับที่สามได้แก่ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ๑๗๓ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖๖ ประเภทของการอ้างอิงที่มีปริมาณการใช้สูงสุด คือ หนังสือ มีจำนวน ๘๘๒ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๕๗ รองลงมาคือ วารสารและหนังสือพิมพ์ ๒๑๙ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๐๓ อันดับที่สามได้แก่ เอกสาร ๑๗๐ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๕ ข้อเสนอแนะ ๑.คณะบรรณาธิการวารสารอักษรศาสตร์ ควรจะหาวิธีชักชวนให้อาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ เขียนบทความในสาขาวิชาที่มีจำนวนบทความน้อยลงมาพิมพ์ในวารสาร ๒.คณะบรรณาธิการควรจัดทำวารสาร ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งตลอดทั้งเล่มหมุนเวียนกันไปทุกภาควิชา เช่น ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาศาสตร์ เป็นต้น ๓.คณะบรรณาธิการ ควรจัดจะทำดรรชนีรวมในแต่ละปีอย่างสม่ำเสมอทั้งดรรชนีผู้เขียน ดรรชนีชื่อเรื่อง และดรรชนีเรื่อง โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความชำนาญในงานด้านนี้ เช่น ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือสถาบันวิทยบริการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research on “ A Content Analysis of the Bulletin of the Faculty of Arts Chulalongkorn University” is to examine the numbers and scope of the articles contents; to examine the writers and the types of reference sources ; and to analyze the contents it they accord with the objectives of the journal. In conducting the research, the researcher reviewed all relevant literature as well as interviewed the editors and the persons involved in publishing the studied journal. With the advent of the Faculty of Arts Undergraduate Curriculum 1984, the content analysis tables were constructed. The population of 204 articles from the journal volume 1 January 1962 to volume 16 numbers 2 July 1984 were closely examined, analyzed and tallied in the tables. The numbers of articles or writers or types of reference sources in each table were added up and their percentage was computed. The research results can be concluded as follows : 1.It was found that 48 articles or 23.53 percent of the total 204 were articles on Thai Language. 39 articles or 19.12 percent were articles on History and 31 articles or 15.20 percent were on western Languages. The subject on Drama had the least articles only 3 articles or 1.47 percent. 2.The majority of the writers were lecturers of the Faculty of Arts which numbered 93 persons or 79.50 percent of the total indicated work place. 20 persons or 21.51 percent were from the Department of Western Languages, 17 persons or 18.28 percent were from the Department of English and 14 persons or 15.05 percent were from the Department of Thai. The Department with the least writer was the Department of Drama, there was 1 person or 1.08 percent. 3.The numbers of articles which indicated reference sources were 133 articles with 1,366 items. History had the highest reference numbers with 429 items or 31.41 percent. 265 items or 19.40 percent were on Thai and 173 items or 12.66 percent were on Linguistics. The types of reference sources with the most usage were on books numbered 219 items or 16.03 percent and 170 items or 12.45 percent were from documents. Recommendation 1.The editors of the journal should encourage the faculty lecturers and experts from various fields of study to write their articles especially on the articles in the subject fields scarcely published in the journal. 2.The editors should arrange the journal in special edition cover through one subject field such as “ Thai Language Edition”, Linguistics Edition” etc. 3. The editors should provide the indexes on the yearly basis ; author index, title index and subject index by cooperating with the exports in this field such as the Department of Library Science or Academic Resources Institute.-
dc.format.extent349773 bytes-
dc.format.extent395644 bytes-
dc.format.extent401058 bytes-
dc.format.extent871975 bytes-
dc.format.extent501784 bytes-
dc.format.extent566980 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวารสารไทยen
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาวารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeA content analysis of the bulletin of the Faculty of Arts Chulalongkorn Universien
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChontichaa.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gritchaya_Ra_front.pdf341.58 kBAdobe PDFView/Open
Gritchaya_Ra_ch1.pdf386.37 kBAdobe PDFView/Open
Gritchaya_Ra_ch2.pdf391.66 kBAdobe PDFView/Open
Gritchaya_Ra_ch3.pdf851.54 kBAdobe PDFView/Open
Gritchaya_Ra_ch4.pdf490.02 kBAdobe PDFView/Open
Gritchaya_Ra_back.pdf553.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.