Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18654
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการด้านสวัสดิการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย |
Other Titles: | A comparative studies of welfard management for commercial banks in Thailand |
Authors: | มนทพร ภู่ตระกูล |
Email: | fcomsbu@acc.chula.ac.th |
Advisors: | ธวัช อนุกูล ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ธนาคารพาณิชย์ สวัสดิการ |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ผลสำเร็จทั้งมวลของธนาคารมาจากทรัพยากรบุคคลของธนาคารเอง จึงกล่าวได้ว่าทรัพยากรบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารที่สำคัญอย่างยิ่ง จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบดูว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้สร้างสิ่งจูงใจและรักษาขวัญของทรัพยากรบุคคลมากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันก็ศึกษาถึงทัศนะของทรัพยากรบุคคลที่มีต่อสิ่งจูงใจที่ได้รับจากธนาคาร ซึ่งโดยทั่วๆ ไปมักเรียกว่าสวัสดิการพนักงาน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นการสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพนักงานและอีกชุดหนึ่งเป็นการสอบถามทัศนะความคิดเห็นของพนักงาน จากการรวบรวมข้อมูลทั้ง 2 ชุดของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 ธนาคาร กล่าวสรุปได้ดังนี้ สวัสดิการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จากการสำรวจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานที่สำคัญๆ รวม 5 ประการ คือ สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการด้านการศึกษา สวัสดิการด้านความมั่นคงและปลอดภัย และสวัสดิการด้านการสันทนาการ สวัสดิการของพนักงานดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งได้จัดอำนวยให้แก่พนักงานของตนตามกำลังและความสามารถ ดังนั้นในรายละเอียดข้อปลีกย่อยและกฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละประเภทสวัสดิการในแต่ละธนาคารจึงมีความแตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่ฐานะทางการเงินของธนาคารนั้น สวัสดิการของธนาคารพาณิชย์ในทัศนะของบุคลากรของธนาคาร ความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการทั้ง 5 ประเภทดังกล่าว บุคลากรของธนาคารโดยเฉลี่ยรวมแล้ว มีความเห็นว่าบริการสวัสดิการที่ได้รับจัดว่ายังอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ แต่เมื่อแยกพิจารณาความคิดเห็นระหว่างบุคลากรที่มีสถานภาพเป็นพนักงานบริหารและบุคลากรที่มีสถานภาพเป็นพนักงานปฏิบัติการ จะพบว่าพนักงานบริหารธนาคารไทยเห็นว่า สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจและการศึกษา อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ สำหรับพนักงานปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นพนักงานของธนาคารไทยหรือธนาคารต่างชาติ ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า สวัสดิการทุกประเภทอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ ทัศนะความคิดเห็นของพนักงานบริหารในธนาคารขนาดใหญ่ เห็นว่าสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ พนักงานบริหารในธนาคารขนาดกลางและเล็กเห็นว่ามีสวัสดิการด้านการศึกษาประเภทเดียวอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ สำหรับพนักงานปฏิบัติการของทั้งสองกลุ่มธนาคารมีความคิดเห็นเช่นเดียวกันว่า สวัสดิการทุกประเภทอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีพอ ความต้องการสวัสดิการของบุคลากรของธนาคาร ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้พนักงานธนาคารมีความต้องการสวัสดิการด้านเศรษฐกิจในเรื่องต่อไปนี้คือ มีความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัย โดยต้องการให้ธนาคารพาณิชย์จัดบริการให้ในรูปของการเช่าซื้อที่ดินพร้อมบ้าน เฉลี่ยประมาณร้อยละ 91.38 จัดรถรับส่งโดยเสียค่าโดยสารในราคาถูก เฉลี่ยประมาณร้อยละ 96 ปรับปรุงอัตราเงินเดือนตามภาวะเศรษฐกิจเฉลี่ยประมาณร้อยละ 98.29 จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์สำหรับพนักงานในยามจำเป็นเฉลี่ยร้อยละ 94.92 นอกจากนั้นพนักงานยังมีความต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมและให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่พนักงานในทุกๆ ทางที่จะทำได้ ซึ่งสวัสดิการด้านนี้เป็นสวัสดิการด้านการศึกษา อุปสรรคและปัญหาของการจัดบริการสวัสดิการ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ ซึ่งมีผลต่อการขยายและปรับปรุงสวัสดิการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น อุปสรรคต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพนักงาน ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน สภสวะแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ ความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ และข้อจำกัดของกฎหมาย เป็นต้น สรุปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้จัดบริการสวัสดิการด้านต่างๆ ให้แก่พนักงานของธนาคารได้อย่างมากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีหรือหลักของการจัดสวัสดิการ อย่างไรก็ดีธนาคารพาณิชย์ก็ควรที่จะได้มีการปรับปรุงสวัสดิการอย่างสม่ำเสมอและสอบถามถึงความต้องการอันแท้จริงของพนักงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างทัศนคติต่อธนาคารและเป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ธนาคารดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดีได้ |
Other Abstract: | Commercial banks in Thailand are the financial institution that pays a very important role in economic development of the country. All of their successful operations are resulted from their own human resource. Thus, objective of this research is to study and make comparisons concerning the banks’ creation of incentive and morale to their own human resource. The research also includes the study about attitudes of the said human resource to the incentive obtained from the banks which are generally termed as “staff’s welfare”. The researcher has applied two types of questionnaires. One contains the questions to be answered from personnel officers and the other the questions about bank staff’s attitude. The data from both types of questionnaires collected from 11 commercial banks can be concluded as follows. Staff’s welfare of commercial banks in Thailand. From the survey on commercial banks in Thailand, staff’s welfare can be classified into five main items, i.e. Health; Economy; Education; Security; and Recreation. Each commercial bank has provided such benefit for the staff according to its own capacity. Therefore, the situation in each bank will be different from one another according to the details and regulations on each beneficial item which in turn depends upon each individual bank’s financial condition. Bank staff’s attitudes towards such welfare. Banks staff’s opinion about all such welfare items, on the average, is that what have been so far obtained are still at an inadequate level. However, when the data are classified into executive staff group and operation staff group, it is found out that the group of Thai commercial banks’ executive staff remarks that welfare on health, economy and education are still inadequate, while the group of those foreign bank’s executive staff sees that only the benefit on recreation is inadequate. On the other hand, the operation staff group both of Thai and foreign banks, have an unanimous opinion that all the beneficial items so far obtained are still inadequate. Executive staff’s opinion in large scale banks are that benefit on health and education are inadequate, while those in medium and small scale banks comment that only the welfare on education is inadequate. Bank staff’s demand for welfare. In case of staff’s demand for residence, on the average, 91.38 percent of the staffs need to have commercial bank service provision in the form of hire purchase term on both real estate and structure thereon. And on the average, 96 percent of the staffs need to have transportation facility by a provision of low rate bus service. In case of economic benefit, 98.29 percent would like to have their income adjusted according to economic condition. And in case of security benefit, 94.92 percent needs to have a foundation of benefit fund for the staff in case of emergency. Furthermore, most of the staffs still need to have promotion from the banks for the sake of education in every way and as much as possible. Obstacles and problems of welfare service provision. Commercial banks in Thailand have been suffered from the problems both inside and outside of the organization which affect the improvement and extension of the existing benefit. Such obstacles are increasing number of employees, effectiveness of operation, competitive condition among commercial banks and other financial institutions, economic fluctuation and legal constraints, etc. In conclusion, the commercial banks in Thailand have provided a variety of benefit services to their own staffs at a fairly adequate level comparing to the theory and principle of welfare provision. However, the commercial banks should have such welfare evenly improved and always aware about the staff’s actual needs. This is because such performance shall have a contribution to creation of a positive attitude towards the bank and shall be an incentive for improving staff’s working productivity and finally shall help the bank to attain the desired goal. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พาณิชยศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18654 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montaporn_Po_front.pdf | 375.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_ch1.pdf | 451.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_ch2.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_ch3.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_ch4.pdf | 727.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_ch5.pdf | 352.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Montaporn_Po_back.pdf | 535.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.