Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18703
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยันติ ไกรกาญจน์ | - |
dc.contributor.advisor | จุฬา สุขมานพ | - |
dc.contributor.author | ชวนรรถ อยู่สุวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-25T14:05:25Z | - |
dc.date.available | 2012-03-25T14:05:25Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18703 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของสัญญาชาร์เตอร์เรือแบบมีกำหนดเวลาตามแบบมาตรฐานของนิวยอร์ค โปรดิวซ์ เอ็กซเชนจ์ ค.ศ. 1993 (NYPE 93) และหลักกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้สัญญาเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายไทยในประเด็นสำคัญที่ผลทางกฎหมายอาจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสัญญาตามแบบมาตรฐานนี้ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าภายใต้กฎหมายไทย สัญญาชาร์เตอร์เรือแบบมีกำหนดเวลาเป็นสัญญานอกบรรพ 3 ซึ่งจะต้องบังคับด้วยหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยเรื่องหนี้และสัญญา แต่เนื่องจากสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องการขนส่งสินค้าทางทะเลที่ได้มีพัฒนาการทางกฎหมายตามระบบคอมมอนลอว์ จึงมีปัญหาว่าผลทางกฎหมายของการบังคับใช้สัญญาจะไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในประการต่าง ๆ ดังนี้ 1) การพิจารณาลักษณะความไม่เหมาะสมในการเดินทะเลในการใช้สิทธิยกเลิกสัญญาของชาร์เตอร์เรอร์ตามข้อสัญญา Cancelling Clause ในขณะส่งมอบเรือ และการเลิกสัญญาตามหลักกฎหมายทั่วไปหากความชำรุดบกพร่องปรากฏภายหลังส่งมอบเรือภายใต้กฎหมายไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเพียงพอ 2) ไม่มีแนวคิดหรือหลักกฎหมายว่าเจ้าของเรือควรจะต้องยอมรับมอบเรือคืน หากชาร์เตอร์เรอร์ขอส่งมอบเรือคืนก่อนครบกำหนดเวลา ถ้าเจ้าของเรือไม่มีประโยชน์โดยชอบที่จะให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป 3) การที่ชาร์เตอร์เรอร์ส่งมอบเรือคืนหลังครบกำหนดเวลา (overlap) แม้เป็นภายในระยะเวลาพอสมควรและสัญญามิได้กำหนดเวลาส่งมอบเรือคืนสูงสุดโดยชัดแจ้ง จะมีผลเป็นการผิดสัญญาและทำให้ชาร์เตอร์เรอร์ต้องใช้ค่าเสียหายตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาตามสัญญา มิใช่เมื่อพ้นระยะเวลาพอสมควร 4) หากค่าจ้างมิได้ชำระตามกำหนดเวลา มีปัญหาการเรียกเรือคืนซึ่งแตกต่างจากการเลิกสัญญา ความไม่ชัดเจนเรื่องการชำระดอกเบี้ย รวมถึงปัญหาการใช้สิทธิยึดหน่วง (liens) ของเจ้าของเรือเหนือค่าระวางช่วงและค่าจ้างช่วงที่จะต้องใช้วิธีการโอนสิทธิเรียกร้อง 5) เมื่อเจ้าของเรือมีหน้าที่ในการใช้ความเพียรพยายาม (due diligence) ตามข้อสัญญาใด ๆ ควรต้องอาศัยการเทียบเคียงระดับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับฝากทรัพย์ตามปพพ. มาตรา 659 วรรค 3 ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ คือ การปรับแนวคิดในการบังคับใช้หรือตีความข้อสัญญาให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่คู่สัญญา โดยอาจอาศัยปพพ. มาตรา 368 แต่เนื่องจากปัญหาสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาบางประการต้องอาศัยกฎหมายที่ชัดเจน ประกอบกับเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาปรับใช้กฎหมายเช่าทรัพย์จึงควรร่างกฎหมายเพื่อใช้บังคับกับสัญญาชาร์เตอร์เรือแบบมีกำหนดเวลาโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่คู่สัญญาซึ่งจะส่งเสริมธุรกิจพาณิชยนาวีในประเทศไทย | en |
dc.description.abstractalternative | This Thesis has the purpose to study characteristics of the New York Produce Exchange Time Charter Form 1993 (NYPE 93) and the foreign laws concerning its enforcement and compare with Thai laws particularly the cases where it may not be enforceable in accordance with the intention of the parties. The research finds out that there is no Thai law on Time Charter and the general laws on Obligation and Contract may apply to the dispute. However, since the contract aims at transportation of goods by sea and is based on Common Law, there are problems regarding its legal effect as follows: 1) Criteria for determination of the charterer' s right in cancelling the contract at the time of vessel' s delivery as per Cancelling Clause and after delivery as per general law due to unseaworthiness; 2) There is no law or concept of law supporting the shipowners to accept the early redelivery of vessel if they have no legitimate interest in holding the charterer to continue their contract; 3) Failure of the charterer to redeliver the vessel after contract period (overlap) even though it is within reasonable time or in absence of expressed margin for redelivery, the charterer is in breach of contract and liable for damages after the contract period ended; 4) If hire is not paid on time, there are problems concerning withdrawing the vessel which differs from rescission of contract. It is also uncertain whether the shipowners can claim for interest and exercise lien upon sub-freight and sub-hire which shall be enforced under the provisions of an assignment of the right; and 5) Shipowners' obligation of "due diligence" should be interpreted by analogy with Section 659 paragraph 3 of the Thai Civil and Commercial Code ("CCC"). Suggestions for the aboves are to interpret the contract in line with foreign laws. Section 368 of CCC may be a useful alternative. However, the enactment of specific law on Time Charter will clarify all the matters and prevent the court from applying Hire of Property Law as in the past. The specific law will also support maritime industry in Thailand. | en |
dc.format.extent | 16729929 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.569 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายทะเล | en |
dc.subject | การขนส่งทางน้ำ | en |
dc.subject | สัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ) | en |
dc.title | ผลทางกฎหมายของสัญญาชาร์เตอร์เรือแบบมีกำหนดเวลาตามแบบมาตรฐานของนิวยอร์ค โปรดิวซ์ เอ็กซเนจ์ ค.ศ. 1993 | en |
dc.title.alternative | Legal effect of the new york produce exchange time charter from 1993 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chayanti.G@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.569 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chawanat_yu.pdf | 16.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.