Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1874
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการบริการสุขภาพเชิงรุก การมีส่วนร่วมในบริการกับความพึงพอใจในบริการพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | Relationships between proactive health services, participation in services, and satisfaction in nursing services as perceived by clients of primary care unit, Nakhon Sawan Province |
Authors: | สมใจ รัตนศรีทอง, 2508- |
Advisors: | เพ็ญพักตร์ อุทิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Penpaktr.U@Chula.ac.th |
Subjects: | ความพอใจของผู้ใช้บริการ บริการการพยาบาล |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริการสุขภาพเชิงรุก การมีส่วนร่วมในบริการ กับความพึงพอใจในบริการพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ ศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำครอบครัวหรือตัวแทนบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ ที่อาศัยอยู่ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 399 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการบริการสุขภาพเชิงรุก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในบริการ และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยง .94 .92 และ .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยของการบริการสุขภาพเชิงรุก การมีส่วนร่วมในบริการ และความพึงพอใจในบริการ พยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ ศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X = 4.17, S.D. = .77; X =4.17, S.D.=.82; และ X = 4.37, S.D.= .72 ตามลำดับ) 2. การบริการสุขภาพเชิงรุก และการมีส่วนร่วมในบริการมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับความ พึงพอใจในบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .86; p < .01 และ r = .78; p < .01 ตามสำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบริการสุขภาพเชิงรุก และการมีส่วนร่วมในบริการมีความสำคัญต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการศูนย์สุขภาพชุมชน และผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลระดับผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้บริหารการพยาบาลของศูนย์สุขภาพชุมชนในการปรับปรุงการทำงานเพื่อสามารถให้บริการที่มีความเหมาะสมต่อผู้รับบริการต่อ |
Other Abstract: | The descriptive research was designed to study relationships between proactive health services, participation in services, and satisfaction in nursing services as perceived by client of primary care unit, Nakhon Sawan province. The sample were 399 clients who were leaders or members of families located in the area under the responsibility of primary care units, Nakhon Sawan province. They were selected using Stratified random sampling technique. Research instruments were proactive health services questionnaires, participation in services questionnaires, and satisfaction in nursing services questionnaires which were tested for their validity and reliability. The Cronbach's Alpha coefficients reliability of these instruments were .94, .92, and .91 respectively. The data was analyzed by frequencies, percentage, mean, standard deviation and Pearson's product moment correlation coefficients. Major findings were as followings : 1. Mean of overall proactive health services participation in service and satisfactionin nursing services as perceived by clients of primary care unit, Nakhon Sawan province were at the high level (X = 4.17, S.D.= .77; X = 4.17, S.D.= .82; and X = 4.37, S.D. = .72, respectively). 2. There were positive significant relationships between proactive health services, participation in services, and satisfaction in nursing services as perceived by client of primary care unit Nakhon Sawan province (r = .86, and .78, respectively) at p-level of .01. Research findings indicated that proactive health services and participation in services are factors important to satisfaction in nursing services as perceived by client of primary care unit. The findings can be served as a guidance for practicing nurses as well as nursing director of the primary care units to improve their works inorder to provide appropriate nursing services for their clients in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1874 |
ISBN: | 9741737521 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somjai.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.