Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18808
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
Other Titles: Relationships between health belief and self-practice of myocardial infarct patients
Authors: นิตยา อังกาบูรณะ
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจ
ผู้ป่วย -- จิตวิทยา
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มารับการตรวจตามนัดที่คลีนิคหัวใจ จำนวน 150 คน การคัดเลือกตัวอย่างประชากรโดยวิธีแบ่งเป็นพวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ และส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ได้นำไปหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามแต่ละส่วนเมื่อใช้กับตัวอย่างประชากรจริง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ได้ค่าความเที่ยง 0.79 และ 0.81 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย คะแนนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างคู่ หลักการทดสอบความแปรปรวนโดยวิธีของตูกี และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยมีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพทั้ง 4 ด้าน และโดยส่วนรวมของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงยอมรับสมมุติฐานที่ว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมีความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง 2.ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เพศชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพรายด้านและโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นจึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศหญิงมีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าเพศชาย 3.ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีอายุแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพรายด้านและโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีอายุระหว่าง 41-60 ปี และ 61 ปีขึ้นไปมีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี 4.ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพรายด้านโดยส่วนรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างคู่ พบว่า กลุ่มที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษากับประถมศึกษา และอุดมศึกษากับประถมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนกลุ่มที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษากับอุดมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษามีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา 5.คะแนนความเชื่อด้านสุขภาพรายด้านและโดยส่วนรวมกับคะแนนการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ ดังนั้นจึงยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ความเชื่อด้านสุขภาพกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีความสัมพันธ์กันในทางบวก
Other Abstract: The main purposes of this thesis was to study the relationships between health belief and self – practice of myocardial infarct patients. The research population were 710 myocardial infarct patients attending outpatient department for their follow-up visits, from seven hospitals in Bangkok Metropolis. The samples consisted of 150 patients selected by a stratified random sampling method. The questionnaire was developed by the researcher which divided into two parts; the health belief and self-practice related to myocardial infarction. The instrument was tested for content validity by ten experts, and for its reliability by the Cronbach’s alpha coefficient which were 0.79 and 0.81. The statistical methods used in the data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, analysis of variance, multiple comparison procedure by Tukey method and Pearson’s product moment correlation coefficient. The analysis of data indicated the following finding 1.The means of the scores on each aspect and the mean of total score of health belief of myocardial infarct patients were at the high level. Thus, the research hypothesis 1 was accepted. 2.There was no significant difference between the means of the total score and of the scores on each aspect of health belief of the male and that of the female myocardial infarct patients. Therefore, the research hypothesis 2 was rejected. 3. There was no significant difference the means of the total score and of the scores on each aspect of health belief of myocardial infarct patients who were in difference age groups. Thus, the research hypothesis 3 was rejected. 4. There was a significant difference at the .01 and .05 level among the means of the total score and of the scores on each aspect of health belief of the myocardial infarct patients who were in different educational level. In comparing the mean of each pair, it was found that two pairs were significant difference at .01 level. First pair were the means of health belief of patients who had the secondary and elementary education level, and second pair were the such mean of those who had the elementary and higher education level. Therefore, the research hypothesis 4 was accepted. 5.The Pearson’s product moment correlation coefficient between the total score and the scores on each aspect of health belief and self-practice scores of myocardial infarct patients indicated the positive relationships and it was significant at the .001 level and .05 level. Thus, the research hypothesis 5 was accepted.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18808
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_Un_front.pdf382.98 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_ch1.pdf541.12 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_ch3.pdf423.01 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_ch4.pdf427.61 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_ch5.pdf518.56 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Un_back.pdf727.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.