Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18815
Title: การศึกษากระบวนการก่อสร้างและคุณสมบัติของวัสดุโครงสร้างทางเดิมที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยการปรับปรุงคุณภาพด้วยโฟมแอสฟัลต์
Other Titles: A study on construction processes and properties of recycled pavement materials stabilized with foamed asphalt
Authors: จิตติมา อังษานาม
Advisors: เกษม ชูจารุกุล
ธันวิน สวัสดิศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kasem.c@eng.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การนำกลับมาใช้ใหม่
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
แอสฟัลต์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในประเทศไทยได้มีการนำซีเมนต์มาใช้เป็นสารปรับปรุงคุณภาพวัสดุโครงสร้างทาง เดิมที่นำกลับมาใช้ใหม่มาเป็นระยะเวลานานโดยกรมทางหลวง ซึ่งจากรายงานการก่อสร้างในหลายโครงการของกรมทางหลวง มักพบว่ามีรอยแตกร้าวเกิดขึ้นในชั้นแอสฟัลต์คอนกรีตที่อยู่บนชั้นวัสดุที่ ปรับปรุงคุณภาพ โดยรอยแตกที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวของชั้นวัสดุ ที่ปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งสาเหตุของการหดตัวเกิดจากปริมาณของซีเมนต์ที่เพิ่มเข้าไปมีปริมาณสูง เพื่อที่จะทำให้วัสดุมีกำลังตามความต้องการ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการนำโฟมแอสฟัลต์มาใช้เป็นสารปรับปรุงคุณภาพ วัสดุโครงสร้างทางเดิมที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว เดือนพฤษภาคม ปี 2550 กรมทางหลวงประเทศไทย ได้มีโครงการบูรณะถนนที่ชำรุดเสียหาย โดยการนำวัสดุโครงสร้างทางเดิมกลับมาใช้ใหม่ โดยการปรับปรุงคุณภาพด้วยโฟมแอสฟัลต์ ระยะทาง 5.347 กม. ในโครงการนี้ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วน โดยส่วนที่หนึ่งวัสดุที่ทำการปรับปรุงคุณภาพประกอบด้วย วัสดุโครงสร้างทางเดิมและหินฝุ่นในสัดส่วน 70:30 โดยน้ำหนัก การนำหินฝุ่นมาผสมเพิ่ม เพื่อปรับปรุงขนาดคละของวัสดุให้เป็นไปตามคำแนะนำในการออกแบบ ในส่วนที่สองเป็นวัสดุโครงสร้างทางเดิมเพียงอย่างเดียว การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษากระบวนการก่อสร้างและคุณสมบัติ ทางวิศวกรรมของวัสดุโครงสร้างทางเดิมที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยโฟม แอสฟัลต์ ซึ่งประกอบด้วย ความต้านทานต่อแรงดึงทางอ้อมและโมดูลัสคืนตัว โดยการเปรียบเทียบคุณสมบัติกับข้อกำหนดในการก่อสร้าง และเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุโครงสร้างทางเดิมที่ได้รับการปรับปรุง คุณภาพด้วยโฟมแอสฟัลต์ในห้องปฏิบัติการและในสนาม
Other Abstract: Pavement recycling using Portland cement as the stabilizing agent has been implemented in Thailand for a long time by Department of Highways (DOH). There have been reports for the advantages and disadvantages of the technique from several projects all over the country. One of the disadvantages is the reflective cracks in the overlaid asphalt layer continuing from the shrinkage cracks in the recycling material layer. The cause of the shrinkage cracks is the relatively high amount of cement added to the recycling materials to achieve the design strength. As a result, pavement recycling using foamed asphalt as the stabilizing agent to avoid the shrinkage crack problem. In May 2007, DOH constructed a 5.347-km. long experimental project in which foamed asphalt was used as the stabilizing agent in cold in-place recycling (CIR). The project was divided into two sections. In the first section, the reclaimed asphalt pavement (RAP) was mixed with fresh dust-stones at the proportion of 70:30 by weight to achieve the gradation in the design manual. In the second section, the recycled material is composed of the RAP only. The objective of this research is to study the constructions processes of foamed asphalt cold in-place recycling and the properties of foamed recycling materials. Foamed asphalt samples were obtained from the field as loose and compacted materials. Specimens were prepared and tested for engineering properties including indirect tensile strength (ITS) and resilient modulus (MR). The properties of the specimens from the two sections will be compared with the design criteria and compared with each other. Further, the construction performance can be evaluated by comparing the properties of the foamed asphalt specimens prepared in the laboratory with the properties of those obtained from the field
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.494
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.494
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittima_An.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.