Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18817
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบต่างของระบบเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษและภาษาไทย และการวิเคราะห์ข้อผิดในการออกเสียงศัพท์แพทย์หลายพยางค์ในภาษาอังกฤษ |
Other Titles: | A contrastive study of the accentual systems in English and Thai and an error analysis of the pronunciation of English polysyllabic medical terms |
Authors: | นิตยา วัยโรจนวงศ์ |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sudaporn.L@chula.ac.th |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบต่างระบบเสียงหนักเบาในภาษาอังกฤษและภาษาไทย และวิเคราะห์ข้อผิดในการลงเสียงหนักหรือไม่ลงเลียงหนักในคำศัพท์แพทย์หลายพยางค์ในภาษาอังกฤษว่าเกิดจาการแทรกแซงของระบบเสียงหนักเบาในภาษาไทยหรือไม่ ผลจากการเปรียบต่างพบว่า ระบบเสียงหนักเบาของพยางค์เดียวในภาษาไทยคล้ายกันระบบเสียงหนักเบาของคำพยางค์เดียวในภาษาอังกฤษ ส่วนระบบเสียงหนักเบาของคำพยางค์ในภาษาไทยนั้นแตกต่างจากระบบเสียงหนักเบาของคำหลายพยางค์ในภาษาอังกฤษนอกจากนั้นยังพบว่าลักษณะร่วมทางสัทศาสตร์ของพยางค์เสียงหนักในภาษาทั้งสองแตกต่างกันอีกด้วย ผลของการวิเคราะห์ข้อผิดของกลุ่มทดสอบ 20 คนในการออกเสียงคำศัพท์แพทย์หลายพยางค์ในภาษาอังกฤษจำนวน 19 คำปรากฏในชุดทดสอบชุดที่ต่างกัน พบว่า 88.7 % ของคำทดสอบเป็นข้อผิดที่เกิด จากการแทรกแซงของภาษาแม่ 7.3 % เป็นข้อผิดแบบอื่น (Intralingual and Developmental Errors) จากจำนวนคำทั้งหมด 760 คำพบการลงเสียงหนักที่ถูกต้องเพียง 4 % เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดสอบทั้งสองกลุ่ม พบว่า แพทย์ประจำบ้านซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับคำทดสอบที่เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ ทำข้อผิดอันเกิดจาการแทรกแซงของภาษาแม่จำนวนสูงกว่านักศึกษาแพทย์ ซึ่งไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ทางการแพทย์มาก่อน จากคำจำนวน 380 คำ แพทย์ประจำบ้านทำข้อผิดแบบดังกล่าวจำนวน 355 คำ และมีเพียง 7 คำเท่านั้นที่ลงเสียงหนักได้ถูกต้องในขณะที่นักศึกษาแพทย์ทำข้อผิดแบบดังกล่าวจำนวน 319 คำ และลงเสียงหนักได้ถูกต้องจำนวน 24 คำ |
Other Abstract: | This thesis attempts to make a contrastive study of the accentual systems of English and Thai and to produce an error analysis of the stress patterns in English polysyllabic medical terms. The purpose is to find out if the errors are the result of interference from the accentual system of the Thai language. The contrastive analysis reveals that in monosyllabic words the accentual systems of the two languages are similar but in polysyllabic words the systems are different. The study also shows that the phonetic correlates of stressed syllables in the two languages are different. The error analysis of 20 subjects reveals that in the pronunciation of 19 English polysyllabic medical terms appearing in two different contexts, 88.7% of the words were pronounced in a way which indicated mother tongue interference. An additional 7.3% could be attributed to intralingual and developmental errors. Only 4% of the 760 words were stressed correctly.Among the two groups of subjects resident doctors who were familiar with those medical terms made more interference errors than medical students who were not familiar with the same medical terms. Out of 380 words, resident doctors made 355 interference errors and stressed only 7 words correctly while medical students made 319 interference errors and stressed 24 words correctly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18817 |
ISBN: | 9745633062 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nittaya_Va_front.pdf | 349.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_ch1.pdf | 466.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_ch2.pdf | 805.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_ch3.pdf | 644.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_ch4.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_ch5.pdf | 382.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nittaya_Va_back.pdf | 391.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.