Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18936
Title: ปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการสอนของการสอนแบบโปรแกรม ในการสอนทักษะโสตทัศนูปกรณ์ กับนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและการเรียนต่ำ
Other Titles: The interaction between the teaching models of programmed instruction in the operating skills on audio-visual equipment for the high and low learning achievement students
Authors: สมชาติ ประเสริฐ
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอน -- อุปกรณ์
แบบเรียนสำเร็จรูป
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการสอนของการสอนแบบโปรแกรมในการสอนทักษะโสตทัศนูปกรณ์ กับนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและการเรียนต่ำ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักศึกษาจากวิทยาลัยครูจันทบุรี จำนวน ๑๐๐ คน เป็นนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และต่ำระดับละ ๕๐ คน แบ่งนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์แต่ละระดับออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๕ คน รวมเป็น ๔ กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนแบบโปรแกรมที่มีการสอน ๒ รูปแบบคือ แบบอุปมานและแบบอนุมาน โดยใช้เนื้อหาเรื่องเดียวกันคือ ทักษะโสตทัศนูปกรณ์ ให้นักศึกษากลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ๑ กลุ่ม และต่ำ ๑ กลุ่ม เรียนจากการสอนแบบอนุมาน อีก ๒ กลุ่ม เรียนจากการสอนแบบอุปมาน แล้วให้ตอบแบบทดสอบหลังการเรียนวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน ๒ ทาง และทดสอบความมีนัยสำคัญที่ .๐๕ ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรูปแบบในการสอนทักษะโสตทัศนูปกรณ์ กับนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับความมีนัยสำคัญที่ .๐๕
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the interaction between the teaching models of programmed instruction in the operating skill on audio-visual equipment for the high and low learning achievement. The subjects were 100 students from Chantaburi Teacher’s College which were categorized into 2 groups : high and low level learning achievement. Each group comprised 50 subjects and was devided into two sub – groups by randomly sampling. The instrument was programmed instruction which was two types of teaching models, namely, the inductive and deductive models. Both were presented the skill on audio-visual equipment. Each sub-group was presented the inductive or deductive teaching model and then did the post-test. The data were analized by using two-way analysis of variance at the .05 level of significance. The finding indicated that, there was no significant difference between inductive and deductive teaching models on programmed instruction in the skills on audio-visual equipment of students with high and low learning achievement at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18936
ISBN: 9745646512
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchat_Pr_front.pdf412.08 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_ch1.pdf522.59 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_ch2.pdf910.49 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_ch3.pdf336.57 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_ch4.pdf293.3 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_ch5.pdf375.96 kBAdobe PDFView/Open
Somchat_Pr_back.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.