Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18945
Title: ผลของการร่วมมือและการแข่งขันที่มีต่อนักเรียน ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ
Other Titles: The effects of cooperation and competition on students in inquiry science instruction
Authors: สิริอรวัลคุ์ พูนพาณิชย์
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chanpen.C@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การสอน
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่มีการร่วมมือ กับกลุ่มที่มีการแข่งขัน รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มร่วมมือ และกลุ่มแข่งขันที่มีต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ ตัวอย่างประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 กลุ่ม ๆ ละ 35 คน นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีคะแนนสอบวิทยาศาสตร์ประจำภาคต้นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทดลองสอนวิทยาสาสตร์แบบสืบสอบ ชนิดที่ครูและนักเรียนช่วยกันถาม เรื่องการใช้พลังงานแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดการร่วมมืออีกกลุ่มหนึ่งมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดการแข่งขัน โดยใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ๆ ละ 4 คาบ หลังจากที่การเรียนการสอนสิ้นสุดลง นักเรียนทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบเรื่องการใช้พลังงาน และตอบแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ นำคะแนนจากแบบทดสอบผลสำฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนจากแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบมัชฌิมเลขคณิต และทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยค่าที (t-test) วิเคราะห์คะแนนจากแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งสองกลุ่มโดยหามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับความคิดเห็นแต่ละข้อ และมัชฌิมเลขคณิตรวมกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมในแต่ละกลุ่ม ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบของนักเรียนในกลุ่มร่วมมือและกลุ่มแข่งขันไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบของนักเรียนที่เรียนเก่งในกลุ่มร่วมมือและกลุ่มแข่งขันไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบของนักเรียนที่เรียนอ่อนในกลุ่มร่วมมือกับกลุ่มแข่งขันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนอ่อนในกลุ่มร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่านักเรียนที่เรียนอ่อนในกลุ่มแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .025 (ทดสอบหางเดียว) 4. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบของนักเรียนในกลุ่มร่วมมือและกลุ่มแข่งขันไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purpose of this experimental research were to compare the students’ achievement in inquiry science instruction between cooperative and competitive groups and to study the students’ opinion concerning inquiry science instruction of these two groups. Two groups of Mathayom Suksa two students in Surawittayakarn School in Surin Province, 35 each, were chosen as sample for this study based on the criteria that there was no significant difference at the .05 level between their first semester science achievement in the academic years 1980. One groups was taught by using combined inquiry with cooperative activities, another groups was taught by using combined inquiry with competitive activities. All groups were taught for six weeks, four periods per week in “The Usage of Energy”. The achievement in inquiry science instruction test and the questionnaire which surveyed students’ opinion concerning inquiry science instruction were administered to the samples at the end of the instruction. The obtained data were analyzed by means of the arithmetic mean, standard deviation and t-test. The analytical data showed that : 1. There was no significant difference in the students’ achievement using inquiry science instruction between cooperative and competitive groups at the .05 level 2. There was no significant difference in achievement of the upper average students using inquiry science instruction between cooperative and competitive groups at the .05 level. 3. There was significant difference in achievement of the lower average students using inquiry science instruction between cooperative and competitive groups at the .05 level. The lower average students’ achievement in the cooperative group was better than the lower average students’ achievement in the competitive group at the .025 level. (One tailed test) 4. There was no significant difference in the students’ opinion concerning inquiry science instruction between cooperative and competitive groups at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18945
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siri-orawan_Ph_front.pdf463.84 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_ch1.pdf376.48 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_ch2.pdf754.88 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_ch3.pdf482.85 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_ch4.pdf401.49 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_ch5.pdf501.96 kBAdobe PDFView/Open
Siri-orawan_Ph_back.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.