Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18973
Title: การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
Other Titles: A study on misconceptions about numbers of seventh grade students in schools under Ratchaburi Educational Service Area Office 1
Authors: ไข่มุก เลื่องสุนทร
Advisors: อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aumporn.M@chula.ac.th
Subjects: ความคิดรวบยอด
จำนวนเลข
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยม)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาราชบุรี เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดมโนทัศน์ แบบอัตนัย เรื่องจำนวน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง และมีค่าความเที่ยง 0.76 และแบบ สัมภาษณ์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องจำนวน แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean: X̅ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำแบบวัดมโนทัศน์ แบบอัตนัย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง “จำนวน” เรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบิดเบือนทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยาม และสมบัติ: ด้านนี้นักเรียนขาดความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยาม และสมบัติมากที่สุด รองลงมาคือจำทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยามและสมบัติไม่ถูกต้อง 2) ด้านขาดการตรวจสอบในระหว่างการแก้ปัญหา: ด้านนี้นักเรียนมีขั้นตอนการคิดคำนวณถูกต้อง แต่คำตอบผิดมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นตอนผิดแต่คำตอบถูก 3) ด้านข้อผิดพลาดในเทคนิคการทำ: ด้านนี้นักเรียนขาดความระมัดระวังในการคิดคำนวณ 4) ด้านการใช้ข้อมูลผิด: ด้านนี้นักเรียนทำผิดคำสั่งโดยหาคำตอบในสิ่งที่ไม่ต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ละเลยการใช้ข้อมูลที่จำเป็นในขั้นตอนการแก้ปัญหา 5) ด้านการตีความด้านภาษา: ด้านนี้นักเรียนตีความจากประโยคภาษามาเป็นประโยคคณิตศาสตร์ ไม่ถูกต้อง
Other Abstract: The purpose of this research was to study misconceptions about “Numbers” of seventh grade students in schools under Ratchaburi Educational Service Area Office 1. The population of this research were seventh grade students in schools under Ratchaburi Education service area office 1. The samples were 402 students in academic year 2009. The research instrument was written mathematics test on “Numbers” constructed by the researcher with the reliability of 0.76. The interview on “Numbers” misconceptions was also conducted. The data were analyzed by means of arithmetic means, standard deviation, and percentage. The results of this research revealed that misconceptions categories were ranked from highest to lowest as below. 1) Distortion of theorem, law, formula, definition, and property: most of students misunderstood about basic theorem, law, formula, definition, and property. Consecutively, students memorized basic theorem, law, formula, definition, and property wrongly. 2) No verification of solutions: most of students worked correctly on mathematical procedures, but they could not find the right answers. Consecutively, students used wrong mathematical procedures, but they could find the right answers. 3) Technical Error: the misconception was the careless calculations. 4) Data Misusing: most of students did not work for relevant or wanted answers. Consecutively, students neglected some necessary data for solving problems. 5) Misinterpretation of question: the students could not translate verbal sentences into mathematical sentences
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18973
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.752
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.752
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khaimook_lu.pdf14.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.