Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิช-
dc.contributor.authorปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคใต้)-
dc.coverage.spatialระนอง-
dc.date.accessioned2006-08-17T07:28:05Z-
dc.date.available2006-08-17T07:28:05Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741747292-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1902-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการ จำแนกตามสาขาการผ่าตัดและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด จำแนกตามระยะการผ่าตัด งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ได้แก่ ต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุและค่าลงทุน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545-30 กันยายน 2546 ร่วมกับการเก็บข้อมูลปัจจุบัน โดยการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลผ่าตัด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ข้อมูลต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และสถิติงานบริการผู้ป่วย 4 สาขาการผ่าตัด ได้แก่ สาขาการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรมทั่วไปและจักษุวิทยา ของปีงบประมาณ 2546 2) พยาบาลห้องผ่าตัดที่ขึ้นปฏิบัติงานในระหว่างการเก็บข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 17 คน 3) ผู้ป่วยที่ได้รับการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดของ 4 สาขาการผ่าตัด โดยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลปฏิบัติแก่ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 44 ราย ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการ ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง และชุดที่ 3 แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด เครื่องมือทั้ง 3 ชุดได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหา และเครื่องมือชุดที่ 3 ในส่วนแบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .8 ผลการวิจัยพบว่า 1. ต้นทุนต่อหน่วยบริการ งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง มีมูลค่าต้นทุนรวมทั้งหมด เท่ากับ 11,767,807.55 บาท โดยมีอัตราส่วนต้นทุนรวมทางตรง : ต้นทุนสนับสนุน คิดเป็นร้อยละ 92.84 : 7.16 โดยต้นทุนรวมทางตรงมีอัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน คิดเป็นร้อยละ 31.31 : 34.30 : 27.23 2. ต้นทุนต่อหน่วยบริการ จำแนกตามสาขาการผ่าตัดจักษุวิทยา ศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมทั่วไป และสูติ-นรีเวชกรรม เท่ากับ 6,309.26, 3,466.35, 2,499.75 และ 2,047.07 บาทต่อราย ตามลำดับ 3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดรวมทุกกิจกรรม จำแนกตามสาขาการผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรมกระดูก และจักษุวิทยา เท่ากับ 763.48, 669.35, 648.52 และ 535.77 บาทต่อราย ตามลำดับ 4. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัดที่มีต้นทุนสูงสุดคือ กิจกรรมการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วย สาขาสูติ-นรีเวชกรรม เท่ากับ 45.34 บาทต่อราย 5. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะผ่าตัดที่มีต้นทุนสูงสุดคือ กิจกรรมการเตรียมผู้ป่วยและช่วยเหลือทีมผ่าตัด สาขาศัลยกรรมทั่วไป เท่ากับ 196.17 บาทต่อราย 6. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะหลังผ่าตัดที่มีต้นทุนสูงสุดคือ กิจกรรมการเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย สาขาสูติ-นรีเวชกรรม เท่ากับ 43.35 บาทต่อรายen
dc.description.abstractalternativeTo analyze the unit cost in 4 fields of operations and perioperative nursing activities cost in 3 phase of operations, operative department, Ranong Hospital. Primary and secondary data were use in this study. Primary data was collected by observation 17 operative nurses, gaving nursing care to 44 operative patients during January to February, 2004. The secondary data was collected from financial and material department of Ranong Hospital during October 1, 2002 to September 30, 2003. There were 3 sets of instruments used including 1) the record relating to the analysis of unit cost 2) Perioperative nursing activities dictionary of operative department at Ranong Hospital 3) the record relating to the analysis of perioperative nursing activities cost. All instruments were tested for content validity and reliability. The reliability of observation was .8. The major findings were as follows 1. The total cost of all operations was 11,767,807.55 Baht, the ratio of direct cost and supporting cost was 92.84 : 7.16percent. The ratio of direct cost divided labour cost, material cost and capital cost was 31.31 : 34.30 : 27.23 percent. 2. Unit cost of operative department, ophthalmological surgery, orthopaedic surgery, general surgery, and obstetric-gynaecological surgery was 6,309.26, 3,466.35, 2,499.75, and 2,047.07 Baht per case respectively. 3. Perioperative nursing activities cost of operative department, general surgery, obstetric-gynaecological surgery, orthopaedic surgery, and ophthalmological surgery was 763.78, 669.35, 648.52 and 535.77 Baht per case respectively. 4. Preoperative visit activity in obstetric-gynaecological surgery had the highest preoperative nursing activities cost which was 45.34 Baht per case. 5. Circulating nursing activity in general surgery had the highest intraoperative nursing activities cost which was 196.17 Baht per case. 6. Postoperative visit activity in obstetric-gynaecological surgery had the highest postoperative nursing activities cost which was 43.35 Baht per case.en
dc.format.extent1180805 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาลระนองen
dc.subjectการพยาบาลศัลยศาสตร์en
dc.subjectการบัญชีต้นทุนกิจกรรมen
dc.subjectต้นทุนการผลิตen
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการ และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระนองen
dc.title.alternativeThe analysis of unit cost and perioperative nursing activities cost, Operative Department, Ranong Hospitalen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinanong.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.