Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19054
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ | - |
dc.contributor.author | กุลธิดา เลิศเชาวยุทธ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-15T14:41:07Z | - |
dc.date.available | 2012-04-15T14:41:07Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19054 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ทำการตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ พร้อมทั้งฝุ่นละอองและจำนวนเชื้อรารวมและ Aspergillus sp. ในอากาศของห้องภายในโรงพยาบาลซึ่งใช้วิธีระบายอากาศแตกต่างกัน ได้แก่ ห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยก ห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบรวม และห้องที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ นอกจากนั้นยังพิจารณาลักษณะกิจกรรมซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมบริหารงานทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ห้องพักแพทย์ และห้องพักพยาบาล โดยทำการเก็บตัวอย่างเชื้อรารวมและ Aspergillus sp. ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในอากาศแบบชั้นเดียว (Single Stage Bio-Impactor) ที่บรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อ Malt Extract Agar ในขณะเดียวกันทำการวัดความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรมและจำนวนคนภายในห้อง การศึกษา พบว่า ห้องที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติมีอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศมากที่สุด และมีค่าความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนมากกว่าห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p = 0.019 และ p = 0.021) รวมทั้งมีจำนวนเชื้อรารวมและ Aspergillus sp. ในอากาศมากกว่าห้องที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกและแบบรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p = 0.000 และ p = 0.000) และเมื่อพิจารณาตามระบบระบายอากาศและลักษณะกิจกรรม พบว่า ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนและ 2.5 ไมครอนพบสูงสุดที่แผนกผู้ป่วยในของห้องที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ ส่วนจำนวนเชื้อรารวมและ Aspergillus sp. ในอากาศพบสูงสุดที่แผนกผู้ป่วยในที่มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติเช่นกัน จากการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเชื้อรารวมและ Aspergillus sp. ในอากาศกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม ความหนาแน่นของคน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน | en |
dc.description.abstractalternative | This study carried out measurement of temperature, relative humidity, wind velocity and ventilation rate together with concentrations of particulate matter and airborne fungi and Aspergillus sp. in Klang hospital with split type air conditioning, central air conditioning and natural ventilation system. Airborne fungi and Aspergillus sp. were sampled by Single Stage Bio-Impactors. Nutrient used for cultivating airborne fungi and Aspergillus sp. were Malt Extract Agar (MEA). At the time of sampling, PM10, PM2.5, activities and density of people in the room were recorded. The results showed that natural ventilated rooms had the highest temperature, relative humidity, wind velocity and air change rate. The PM10 and PM2.5 concentrations in natural ventilated rooms were higher than mechanical ventilated rooms (split type air conditioning and central air conditioning system) (p = 0.019 and p = 0.021) as well as airborne fungi and Aspergillus sp. were higher in natural ventilated rooms (p = 0.000 and p = 0.000). In regards to ventilation system and activities, it was found that PM10 and PM 2.5 were highest in in-patient wards with natural ventilation. Airborne fungi and Aspergillus sp. were also highest in in-patient wards with natural ventilation. The study found no relationship between airborne fungi and Aspergillus sp. with temperature, relative humidity, wind velocity, density of people, PM 2.5 and PM10. | en |
dc.format.extent | 3871175 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1781 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การระบายอากาศ | en |
dc.title | ความแปรปรวนของจำนวนเชื้อราในอากาศกับการระบายอากาศและสภาวะอากาศภายในห้องของโรงพยาบาลกลาง | en |
dc.title.alternative | Variability of fungi with ventilation and indoor air conditions in Klang Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wongpun.L@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1781 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kulthida_le.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.